แอล.พี.เอ็น.เล็งเพิ่มทุนในLPS หลังลดสัดส่วนถือหุ้นเหลือ20%

 

 

การปรากฎตัวของ“ชานนท์ เรืองกฤตยา” CEO บมจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ หรือANANภายในงานแถลงข่าวของบมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์หรือLPN เมื่อวานนี้(30ม.ค.)หากมองผิวเผินก็จะแลดูแปลกๆ หากแต่มองลึกลงไปก็เป็นอีกหนึ่งคำตอบที่บ่งชัด “คิด… เพื่อขยายมิติธุรกิจ” ของCEO หนุ่มเลือดใหม่บุตรชายของ “ชนัฎ เรืองกฤติยา”เจ้าของอาณาจักร “วิลล์มิลด์”ย่านบางนา-ตราดที่พกความรู้จากกิจการของครอบครัวมาผสานกับความรู้ที่ร่ำเรียนมาด้วยการแยกตัวออกมาลงทุนและบริหารธุรกิจด้วยตนเองพร้อมกับได้สร้างความฮือฮาให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์ของเมืองไทยมาตลอด 17ปีในชื่ออนันดาฯบริหารโดยคนรุ่นใหม่และกลุ่มเป้าหมายก็เป็นคนรุ่นใหม่

 

“คงมีอะไรดีๆที่จะร่วมกันกับทางแอล.พี.เอ็น.แต่ขอให้ทุกอย่างสรุปก่อนครับ” … “ชานนท์” กล่าวสั้นๆกับทีมงานเว็บไซต์www.prop2morrow.com ถึงประเด็นการเข้ามาถือหุ้นในบริษัทลูกของแอล.พี.เอ็น.ที่ล่าสุด CEO แอล.พี.เอ็น. “ทิฆัมพร เปล่งศรีสุข”ได้นำทีมผู้บริหารเปิดโรงแรมสยาม เคมปินสกี้แถลงข่าววิสัยทัศน์ใหม่ในการดำเนินธุรกิจหลังจากประสบปัญหาภาวะถดถอยติดต่อกันมา 3ปี ที่ปีนี้ถึงคราจะต้องปรับโมเดลธุรกิจก้าวสู่ “บริบทใหม่แห่งความยั่งยืน” หนึ่งในนั้นคือ 3บริษัทในกลุ่มธุรกิจให้บริการ (Service Provider) ล้วนประกาศออกไปรับงานนอกกลุ่มแอล.พี.เอ็น.ตามนโยบายของบริษัทแม่ที่กำหนดให้เป็น “ปีแห่งการปรับหรือ YEAR OF SHIFT” คือ บริษัทลุมพินี พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส แอนด์ แคร์ (LPC),บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ (LPP) และบริษัท ลุมพีนี โปรเจค มาเนจเมนท์ (LPS) ข้อมูลเพิ่มเติม https://prop2morrow.com/home/news/995

 

…และในวันเดียวกันนี้เอง “ชานนท์” ก็เปิดบ้านใหม่(สำนักงาน)บนพื้นที่ 8,225 ตารางเมตร(ตร.ม.)ที่ตึกเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ ให้สื่อมวลชนได้ชมไปพร้อมๆกับแถลงข่าวในประเด็น “อนันดา ปฎิวัติวงการอสังหาฯปรับโครงสร้างสู่ Tech Companyรายแรก!” พร้อมกับเปิดตัว Ananda Urban Tech ยกระดับชีวิตเมืองยุคใหม่ให้ดียิ่งกว่า ผ่านกลยุทธ์3ส่วนคือ ส่วนที่ 1.การสนับสนุนกระบบEcosystem หรือ ระบบนิเวศน์ของนวัตกรรม ส่วนที่2.การจัดตั้งเงินกองทุน (Fund of Fund) และส่วนที่3.การบริหารกิจการร่วมทุน (Corporate Venture)คือ ร่วมลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพและมีเทคโนโลยีที่สามารถนำมาเสริมธุรกิจขององค์กรในอนาคตได้

 

แอล.พี.เอ็น.เล็งเพิ่มทุนในLPS หลังลดสัดส่วนถือหุ้นเหลือ20%

มีความเป็นไปได้สูงที่“ชานนท์”จะนำอนันดาเข้าไปถือหุ้นเพิ่มทุนใน LPS เห็นได้จากเมื่อวันที่ 30ม.ค.2560 แอล.พี.เอ็น.ได้  แจ้งความคืบหน้าของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจของบริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด (“LPS”)ซึ่งเป็ นบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัท แอล.พี.เอ็น. โดยบริษัทได้พิจารณาปรับเปลี่ยนสัดส่วนการถือหุ้นใน LPS ลดลงเหลือในอัตราร้อยละ 20จากเดิมบริษัทถือหุ้นใน LPS ในอัตราร้อยละ 99.93และบริษัทได้พิจารณาปรับรูปแบบของการทำธุรกิจของ LPS จากเดิมดำเนินธุรกิจให้บริการด้านการบริหารโครงการ(Project Management Consultancy) และรับเฉพาะงานบริหารโครงการภายในกลุ่มบริษัท แอล.พี.เอ็น. ไปเป็น บริษัทที่ให้บริการด้านการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์(Real Estate Development Service Provider) ให้กับโครงการทั้งที่พัฒนาโดยบริษัทและบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งเป็ นการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ในปัจจุบันและช่วยให้เกิดคล่องตัวในการดำเนินงาน รวมทั้งเป็นการขยายธุรกิจให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับบริษัทเพิ่มมากขึ้น

 

การปรับเปลี่ยนโครงสร้ างในครั้งนี้ บริษัทมีแผนในการเจรจาทาบทามบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์บางแห่งและบริษัทที่ทำาธุรกิจเกี่ยวข้องกับ LPN รวมถึงอาจพิจารณาในเรื่องการเพิ่มทุนใน LPSซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการทาบทามและเจรจา ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นอีกครั้ง

 

“ตอนนี้ยังไม่ลงตัวว่าจะออกมารูปแบบไหนอีกไม่นานน่าจะชัดเจน” ….โอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการแอล.พี.เอ็น.กล่าว

  • ความคุมต้นทุน(Cost) การก่อสร้าง
  • คุณภาพการหบริหารงานก่อสร้าง
  • และ ชื่อเสียงหรือแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ

 

 

แม้จะยังไม่มีความชัดเจน100%…แต่หากมีการร่วมทุนกันจริง นั้นก็จะส่งผลดีทั้งต่อธุรกิจทั้ง อนันดาและแอล.พี.เอ็น. รวมถึงพันธมิตร40รายที่เป็นผู้รับเหมารายย่อย ที่เรียกว่า LPN Team ซึ่งมีจุดแข็ง3เรื่องหลัก ในเรื่องของ1.การควบคุมต้นทุน(Cost) การก่อสร้าง  ,2.คุณภาพการหบริหารงานก่อสร้าง และ3. ชื่อเสียงหรือแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ ตลอดเวลาร่วม10ปี(LPS ก่อตั้งเมื่อปลายปี2550)

 

โดยในฝั่งอนันดาที่ประกาศแผนขยายฐานตลาดผุดโครงการคอนโดมิเนียมระดับกลาง-ล่างผ่านยูนิโอหรือแบรนด์อื่นๆโดยโครงการส่วนใหญ่จะยังคงเน้นเส้นทางแนวรถไฟฟ้าเป็นหลักและบางโครงการจะเน้นใกล้แหล่งชุมชุนในอนาคนั้น

 

ต้องยอมรับว่าการจับตลาดกลาง-ล่างหัวใจสำคัญก็คือ การควบคุมต้นทุน (Cost) และหากมีการเข้ามาถือหุ้นก็น่าจะช่วยเสริมศักยภาพซึ่งกันและกัน โดยในส่วนของแอล.พี.เอ็น.ก็ไม่ต้องกังวลว่าLPS จะมีงานน้อย หรือผู้รับเหมาที่เป็นพันธมิตรต้องปิดกิจการไป หากแอล.พี.เอ็น.มีการเปิดตัวโครงการใหม่ไม่มากเฉกเช่นในอดีต อย่างเช่นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาแอล.พี.เอ็น.เปิดตัวโครงการใหม่น้อยมากและในบางโครงการแม้จะแถลงข่าวเปิดตัวแต่ผลปรากฎว่ายอดขายวิ่งไม่ดีหรือไม่ได้ตามเป้าก็ต้องยกเลิกโครงการชั่วคราวไปก่อน ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าในกรณีที่เกิดมีปัญหาการผูกติดกับรายใดรายหนึ่งเป็นหลักก็อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ และต่อพนักงานได้

 

การมีผู้ถือหุ้นใหม่ที่มีแผนการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจนมองอีกมุมก็จะช่วยเป็นไม้ต่อที่ดี ในการSHIFTครั้งนี้ของLPSนอกจากความมั่นคงการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงแล้วยังสร้างสมดุลระหว่างประสิทธิภาพ “เชิงเงินตรา”และ “เชิงคุณค่า”เก็บรักษาและพัฒนา “เชิงคุณค่า”เพื่อความยั่งยืน

 

โดยในส่วนของอนันดาเอง หากพิจารณาถึงการประกาศทิศทางและนโยบายการลงทุนรวมถึงเป้าหมายการดำเนินธุกิจในช่วง 5ปี(2559-2563)ซึ่งได้คลิ๊กออฟมาตั้งแต่ปี2559ที่หัวเรือใหญ่ “ชานนท์” พูดชัดเจนว่าโครงการส่วนใหญ่จะยังคงเน้นเส้นทางแนวรถไฟฟ้าเป็นหลักและบางโครงการจะเน้นใกล้แหล่งชุมชุนพร้อมกับตั้งเป้าว่าจะมียอดโอน 57,131 ล้านบาท ภายในปี 2563 กล่าวคือเพิ่มขึ้นจากจากในปี 2559 ที่มียอดโอน 15,100 ล้านบาท, ปี 2560 ตั้งเป้าเติบโต 66% จำนวนยอดโอน 25,072 ล้านบาท, ปี 2561 เติบโต 69% ยอดโอน 42,309 ล้านบาท, ปี 2562 ยอดโอน 48,441  ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 14%  และปี 2563 ยอดโอน 57,131 ล้านบาท หรือเติบโต 18%

 

….การมีแขนขาในการขับเคลื่อนธุรกิจที่มากและมีศักยภาพจะช่วยให้อนันดาเดินถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็นั่นรวมถึง แอล.พีเอ็น.ด้วยเช่นกัน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://prop2morrow.com/home/news/994

บิ๊ก แอล.พี.เอ็น. …รีเซทธุรกิจ https://prop2morrow.com/home/news/967

คุยเรื่องขายคอนโด”ลุมพินี”กับ“โอภาส ศรีพยัคฆ์” https://prop2morrow.com/home/news/644

ถอดรหัส“รอด”LPN หลังติดกับดักความสำเร็จเก่าๆhttps://prop2morrow.com/home/news/559

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*