สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)เตรียมประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1(การปฐมนิเทศโครงการ)งานศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม)ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 ณ ที่ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม โรงแรม รามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ และสนข.ใช้เวลาประมาณ 14 เดือนในการศึกษาความเหมาะสมในการลงทุนหรือความเป็นไปได้ของตอม่อ 281 ต้นบนถนนเกษตร-นวมินทร์ รวมถึงความคุ้มค่าในการลงทุน

 

ในการศึกษาดังกล่าว ก็เพื่อหารูปแบบถึงความเหมาะสมในการลงทุนการคมนาคม ขนส่งเพื่อแก้ไขปัญหารถติด ตอบโจทย์การเดินทาง ทั้งรูปแบบทางด่วนขั้น 3 สายเหนือ (กทพ.เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้) และโครงการรถไฟฟ้า(โมโนเรล) สายสีน้ำตาลหรือต้องสร้างทั้งสองระบบควบคู่กันไป

 

จากข้อมูลเบื้องต้นในการลงทุนโครงการรถฟ้าสายสีน้ำตาลจะเป็นแนวเดียวกับทางด่วน ที่มีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) และรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) มีสถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี จากนั้นวิ่งตรงถนนงามวงศ์วาน ผ่านแยกพงษ์เพชร แยกบางเขน เชื่อมกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต) ตรงมาถึงแยกเกษตร เชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนต่อขยายสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ตรงมาบนถนนประเสริฐมนูกิจ ช่วงจุดตัดกับทางพิเศษฉลองรัช (จุดตัดกับทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา )ในอนาคตจะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเทา (โมโนเรล) จากนั้นจะตรงไปผ่านแยกนวลจันทร์-นวมินทร์ เลี้ยวขวาเข้าถนนนวมินทร์ แล้วตัดเข้าซอยนวมินทร์ 50 และซอยนวมินทร์ 42 ผ่านซอยเสรีไทย 35 ข้ามถนนเสรีไทย และไปตามซอยรามคำแหง 129/1 บรรจบกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ-มีนบุรี) ที่สถานีสัมมากร รวมระยะทางทั้งสิ้น 21 กิโลเมตร รวมจำนวน 21 สถานี (อาจมีการปรับเพิ่ม/ลดได้ตามผลการศึกษา) ดังนี้

1.สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีจุดเปลี่ยนเส้นทาง เชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) และรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)
2.สถานีแคราย อยู่ใกล้ซอยงามวงศ์วาน 3
3.สถานีจุฬาเกษม
4.สถานีประชาชื่น อยู่ข้างสะพานแยกพงษ์เพชร
5.สถานีชินเขต หน้าซอยงามวงศ์วาน 43
6.สถานีคลองเปรม อยู่หน้าเรือนจำกลางคลองเปรมและการไฟฟ้าภูมิภาค
7.สถานีบางเขน อยู่ข้างสะพานข้ามแยกวิภาวดี ตัดกับถนนโลคอลโรด จุดเปลี่ยนเส้นทางจุดเชื่อมรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม(สถานีบางเขน)
8.สถานีเกษตรศาสตร์ จุดเปลี่ยนเส้นทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียวส่วนต่อขยาย(หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต)
9.สถานี ธ.ก.ส. ตั้งอยู่หน้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
10.สถานีบางบัว อยู่ตรงสะพานข้ามคลองบางบัว
11.สถานีลาดปลาเค้า ตั้งอยู่แยกลาดปลาเค้า
12.สถานีจรเข้บัว
13.สถานีสุคนธสวัสดิ์ อยู่บริเวณแยกตัดกับถนนสุคนธสวัสดิ์
14.สถานีเกษตรนวมินทร์ อยู่บริเวณจุดตัดถนนเลียบทางด่วนจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้สายสีเทาสถานีเกษตรนวมินทร์
15.สถานีคลองลำเจียก อยู่แยกตัดกับถนนคลองลำเจียก
16.สถานีนวลจันทร์ 11 อยู่บริเวณแยกตัดกับซอยนวลจันทร์ 11
17.สถานีนวมินทร์ อยู่แยกตัดถนนนวมินทร์
18.สถานีนวมินทร์ 50
19.สถานีนวมินทร์ 42 (สถานีอนาคต)
20.สถานีบึงกุ่ม อยู่บริเวณบึงกุ่ม
21.สถานีสัมมากร จุดเชื่อมรถไฟฟ้าหมานครสายสีส้ม สถานีสัมมานกร

 

ทีมงานเว็บไซต์ www.prop2morrow.com ได้สำรวจความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าไปลงทุนพัฒนาอสังหาฯในย่านเกษตร-นวมินทร์หรือถนนประเสริฐมนูกิจ และเพื้นที่ใกล้เคียงย่านเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา รวมหลายหมื่นล้านบาท และยังพบว่ามีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้ง ประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม และผู้ซื้อส่วนใหญ่จะซื้ออยู่อาศัยจริงมากกว่า มีเพียงส่วนน้อยที่ซื้อเพื่อลงทุนหรือเก็งกำไร และระดับราคาขายมีตั้งแต่ล้านต้นๆไปจนถึงหลักสิบล้านบาท

 

ส่วนความเคลื่อนไหวรราคาซื้อขายที่ดินปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 200,000 บาทต่อตารางวาแล้ว ถ้ามาทางแยกเกษตรก็มากกว่า 300,000 บาทต่อตารางวา

 

ด้วยเพราะปัจจัยสนับสนุนเรื่องการเดินทางที่สะดวก ใกล้สถานศึกษา ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ผับ บาร์แหล่งช้อปปิ้งอื่นๆและคอมมูนิตี้มอลล์หลาดสไตล์ ทำให้ผู้คนต่างๆมักจะแวะเวียนมาแถวนี้อย่างไม่ขาดสาย ประกอบกับในอนาคตจะมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างรอการสรุปทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล และทางด่วนขั้น 3 ทำให้ทำเลดังกล่าวได้รับความสนใจจากทั้งผู้ประกอบการรายเล็ก รายใหญ่ ….รวมถึงความเคลื่อนไหวแลนด์ลอร์ดใหญ่ๆอย่างบริษัทในเครือทีซีซีแลนด์ บริษัทพัฒนาที่ดินของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่มีที่ดินกว่า 300 ไร่ว่าจะขยับแผนการลงทุนอย่างไร รวมถึงกระแสข่าวที่ว่า ทีซีซีแลนด์ พร้อมที่จะเฉือนที่ดินบางส่วนให้ทำสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลด้วย ซึ่งก็น่าจับตามองความเคลื่อนไหวดังกล่าว ซึ่งก็รวมทั้ง ตระกูล “เอี่ยมสกุลรัตน์”แลนด์ลอร์ดทำเลเกษตร-นวมินทร์ และเป็นเจ้าของโครงการเดอะคริสตัล (CDC) มีที่ดินสะสมหลายร้อยไร่ในย่านดังกล่าว และมีกระแสข่าวว่าจะยกที่ดิน 27 ไร่บริเวณจุดตัดทางด่วนกับเกษตร- นวมินทร์ให้ กทม. สร้างโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) เพื่อรองรับสายสีเทาและการลงทุนในอนาคต

 

ที่ดินทั้ง 2 ฝั่งถนนย่านเกษตร- นวมินทร์กว่า 300 ไร่ของเครือทีซีซีแลนด์

สำหรับที่กว่า 300 ไร่ย่านเกษตรขนวมินทร์ของเครือทีซีซีแลนด์นั้นจะมีอยู่ทั้วสองฝั่งของถนนมีแผนลงทุนโครงการมิกซ์ยูส และก่อนวิกฤตเศรษบกิจปี 2540 กลุ่มทีซีซีมีแผนนำที่ดินบางส่วนมาพัฒนาศูนย์การประชุมและศูนย์แสดงสินค้า แต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจตัดสินใจชะลอแผนการลงทุนไว้ก่อน และเมื่อ11 ปีก่อน เครือทีซีซีแลนด์ มีแผนนำที่ดินดังกล่าวออกมาพัฒนาภายใต้ชื่อ “ NAWAMIN CITY MASTER PLAN” และนำร่องพัฒนาโดยบริษัท ทีซีซี แคปปิตอล แลนด์ ได้ปัดฝุ่นที่ดินแปลงดังกล่าวออกมาพัฒนาเปิดเฟสแรกด้วยโครงการบ้านหรู ภายใต้ชื่อโครงการ The Royal Residence บนพื้นที่ 76 ไร่จำนวน 79 ยูนิต ราคาขายเริ่มต้น 40-120 ล้านบาทรวมมูลค่า 2,800 ล้านบาท โครงการ The Royal Residence เป็นส่วนหนึ่งภายใต้แนวคิดเมืองในฝัน “The Integrated Townsihip” โดยจะทยอยพัฒนาเป็นเฟสๆภายใต้เงินลงทุนรวมกว่า 2 หมื่นล้านบาท และถึงแม้ปัจจุบันการลงทุนดังกล่าวจะมีความคืบหน้าได้ไม่มากนัก แต่ก็เป็นที่น่าจับตามองถึงการนำเอาที่ดินผืนงามขนาดใหญ่ดังกล่าวออกมาพัฒนาในอนาคต