กระทรวงพลังงานร่วมกับมูลนิธิ อาคารเขียวไทย เผยรายละเอียด 7 โครงการเข้ารอบคัดเลือกโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะในรูปแบบนิทรรศการและโมเดล ในงาน “Smart Cities – Clean Energy @ 6th TGBI Expo 2017”หวังนำไปใช้เป็นธุรกิจโมเดล พัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม

           

 ดร. ทวารัฐ สูตะบุตร   ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน  กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า หลังจากที่ กระทรวงฯโดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานร่วมกับมูลนิธิอาคารเขียวไทย เดินหน้าพัฒนาโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย องค์กรเอกชน ร่วมโครงการออกแบบและพัฒนาเมือง ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนารูปแบบและโครงสร้างของเมืองการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน  ได้คัดเลือก 7 โครงการที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการฯ แล้ว คือ 1.โครงการ  นิด้า : มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ  รู้รักษ์พลังงาน  สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน  2.  มช. (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะพลังงานสะอาด  3.เมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ 4.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต : ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ

 

5.วิสซ์ดอม วัน-โอ-วัน (วิสซ์ดอม101) 6.ขอนแก่น Smart City (ระยะที่ 1) : ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง  และ7.โครงการเมืองใหม่อัจฉริยะบ้านฉาง  และได้รับการสนับสนุนรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อจัดทำโมเดลธุรกิจสำหรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ครอบคลุมการจัดทำแบบ ประเมินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ วิเคราะห์ความเหมาะสมด้านวิศวกรรมและการลงทุน

 

ทั้ง  7 โครงการ ได้นำเสนอรายละเอียดของแต่ละโครงการในรูปแบบการแสดงนิทรรศการในงาน “ Smart Cities – Clean Energy @ 6thTGBI Expo 2017” ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุ มไบเทคบางนา ระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2560 นี้ โดยรายละเอียดที่ 7 โครงการที่นำมาแสดง จะครอบคลุมเกี่ยวกับผังการใช้พื้นที่ แผนผังโครงการ การจัดวางอาคาร และแผนผังต่างๆ  ได้แก่  อาคารภูมิสถาปัตย์ ระบบสาธารณูปโภค ระบบผลิต ส่ง และจ่ายพลังงาน ระบบเครื่องกล และไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล ระบบจัดการน้ำเสีย ระบบนำน้ำกลับมาใช้ ระบบ ระบายน้ำ ระบบกักเก็บน้ำฝน ระบบอัจฉริยะ เป็นต้น พร้อมทั้งจัดทำรายงานเปรียบเทียบเพื่อแสดง การคำนวณตัวเลขของการประหยัดพลั งงาน การประหยัดน้ำการลดปริมาณคาร์บอน การประหยัดค่าก่อสร้าง เป็นต้น

 

โดยจะประเมินค่าก่อสร้างเบื้องต้น , วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตลอดอายุโครงการ , รายงานการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์  เพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นโมเดลธุรกิจ  และนำไปสู่การจัดหาผู้ร่วมทุนและการพัฒนา“เมืองอัจฉริยะ” หรือ “Smart City” ให้เป็นรูปธรรมต่อไปได้

 

การพัฒนาเมืองของชุมชนสู่เมืองอัจฉริยะ โดยเชื่อมโยงกับการใช้พลังงานในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพมุ่งสู่การเป็น   Clean Energy และ Green City  ให้สามารถเป็นต้นแบบลดการใช้พลังงาน และลดคาร์บอนไดออกไซด์ ตามเจตนารมณ์ของรัฐ และยังเป็นการสร้างมิติใหม่ ของการพัฒนาเมือง