โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ “ไทยแลนด์ 4.0”

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์  กล่าวว่า รัฐจะเดินหน้าลงทุน 5 ปีแรกกว่า 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อยกระดับพื้นที่ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ให้กลายเป็น “World-Class Economic Zone” อย่างไรก็ดี การจะดำเนินนโยบายให้ประสบผลสำเร็จสูงสุดได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในพื้นที่ด้วย

ทั้งนี้ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและที่อยู่อาศัยในพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)“ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในพื้นที่ EEC นางสาวพิมานพัชร์  สัมมาจิรากุล ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ได้กล่าวถึงเป้าหมายสำคัญของการพัฒนา ‘ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก’(Eastern Economic Corridor : EEC)  มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจระดับโลกด้วยการพัฒนา 4 ด้านหลัก ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน ธุรกิจอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวเมืองใหม่และชุมชน โดยเป้าหมายตามแผนการลงทุนที่วางไว้มีทั้งภาครัฐและเอกชน มีมูลค่าประมาณ1.5 ล้านล้านบาท การดำเนินการขับเคลื่อนโครงการ EEC  จะเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

หลักการดาเนินงานขับเคลื่อนโครงการ EEC จะเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

ภาครัฐ มีบทบาทในด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (ประกอบด้วย อุตสาหกรรมคมนาคมขนส่ง พลังงาน สาธารณูปโภค และ สาธารณูปการ) ส่งเสริมการลงทุน และอานวยความสะดวก

 

ภาคเอกชนทั้งนักลงทุนและนักลงทุนต่างชาติ มีบทบาทสำคัญ ดังนี้

ลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม First S-Curve(อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ,อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ , อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร (Food for the Future) , อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ)

และกลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve (อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ , อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ, อุตสาหกรรมดิจิตอลและอุตสาหกรรมแบบครบวงจร (Medical Hub)

 

ภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการพัฒนา และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ,ร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม

 

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในพื้นที่ EEC นั้น ปัจจุบัน รัฐบาลได้เชิญชวนให้นักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนใน EEC ดังนี้

1) การเข้าไปร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมที่ สาคัญในพื้นที่ EEC ได้แก่

1.1 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก(Aerotropolis)

 

1.2โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ

1.3โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3

1.4โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3

1.5 โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา

 

2) การลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (First S-Curve ,กลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve) ปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติ ที่แสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนใน EEC เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ เป็นต้น

 

สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ได้ประกาศมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงไปแล้ว และขณะนี้ BOI อยู่ระหว่างทบทวนมาตรการส่งเสริมการลงทุนในโครงการ EEC ที่จะหมดอายุยื่นคาขอในปลายปี 2560  ซึ่งนอกเหนือจากการออกประกาศมาตรการส่งเสริมการลงทุนของ BOI แล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในพื้นที่ EEC อื่นๆ ดังนี้

 

1) การปฏิรูปกฎระเบียบและกฎหมายของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันมีความคืบหน้าการออกกฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความเชื่อมั่นให้ กับนักลงชักจูงการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศรวมทั้งใน เขต EEC ประกอบด้วย

– พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุนฉบับปรุง พ.ศ. 2560

– พ.ร.บ. กองทุนขีดความสามารถในการแข่งขัน พ.ศ. 2560

– ร่าง พ.ร.บ. เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อยู่ระหว่างรอการอนุมัติและประกาศการบังคับใช้)

 

2) การจัดตั้งหน่วยงานหลักที่หน้าที่ดูแลและรับผิดชอบกี่ยวกับ EEC เป็นการเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันมีการจัดตั้งสานักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ไปแล้ว

 

3) การพิจารณาตั้งสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยอาจตั้งขึ้นมาใหม่ หรือแยกบางหน่วยออกจากสานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แต่ต้องกาหนดให้มีภารกิจที่ชัดเจน คือ การพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป็นหลัก

 

4) การพัฒนาแรงงานไทยมีทักษะที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอาชีวะของไทยต้องทางานร่วมกับบริษัทใน EEC ในการพัฒนาบุคลากรและจัดการสอนแบบทวิภาคีเพื่อให้นักศึกษามีทักษะที่ตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง

 

5) การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิม เช่น สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ รถไฟรางคู่และมอเตอร์เวย์และการเริ่มโครงการใหม่ เช่น รถไฟความเร็วสูง และเมืองอัจฉริยะ

 

6) การอานวยความสะดวกในการลงทุนโดยมีการจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop-Services) ในพื้นที่ EEC

 

7) การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวเนื่อง นอกจากพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมแล้ว การส่งเสริมการลงทุนด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวเนื่องก็ถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในพื้นที่ EEC เช่น  ธุรกิจโลจิสติกส์, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, กิจการธุรกิจค้าปลีกและศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่ คอมมูนิตี้มอลล์ ไฮเปอร์มาร์เกต รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ, กิจการนิคมอุตสาหกรรม (การขายหรือเช่าที่ดินนิคมอุตสาหกรรม/เขตอุตสาหกรรม) รวมทั้งกิจการให้เช่าโรงงาน, กิจการรับเหมาก่อสร้างในโครงการต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ EEC, กิจการศูนย์ข้อมูล (Data Center) เพื่อเป็นที่ตั้งของ Server ในการ ใช้เก็บข้อมูลที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการส่งผ่านข้อมูลทางโทรศัพท์มือถือและการเชื่อมโยงกระบวนการผลิตกับเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต ซึ่งในอนาคต การส่งผ่านข้อมูลมหาศาลระหว่างเครื่องจักรกระบวนการผลิตสินค้าตามแนวคิด Industry 4.0 ก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สร้างความต้องการในการเก็บข้อมูลมากขึ้น

 

8) การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชนอย่างจริงจังและชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดในอดีตโดยต้องเน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา และเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อสาธารณะอย่างโปร่งใส และเปิดให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย

 

กล่าวโดยสรุป การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและการให้สิทธิประโยชน์เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ภาครัฐใช้ดึงดูด การลงทุนของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายใน EEC โดยเฉพาะการดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ แต่ละบริษัทมีความต้องการและมีเงื่อนไขไม่เหมือนกัน ใน EEC จึงมีเครื่องมือดึงดูดการลงทุนครบถ้วนทั้งมาตรการทางภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี

 

แม้ว่าในขณะนี้ ได้มีบริษัทต่างชาติชั้นนาในระดับโลก เช่น แอร์บัส โตโยต้า ลาซาด้า ซาป (SAAB)เป็นต้น ได้แสดงความสนใจที่จะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ควรรอการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติเพียงอย่างเดียว แต่ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้นักลงทุนไทยต้องพร้อมที่จะเข้ามาร่วมลงทุนในเป็นส่วนหนึ่งใน Supply chain ของอุตสาหกรรมและบริการที่จะเกิดจากการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติซึ่งจะช่วยแรงจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติให้มาลงใน EEC ได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ได้มากที่สุด