ข้อมูลเพิ่มเติม  : www.railway.co.th

1.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่  สายนครปฐม-หัวหิน 

ระยะทาง  169  กิโลเมตร  เป็นการพัฒนารถไฟทางคู่ใหม่ โดยก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม เขตทางกว้าง 60 เมตร ระบบรางเป็นทางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge) มีจำนวน 28 สถานี  แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นที่สถานีรถไฟนครปฐม (กม.47+700) ไปตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม  มุ่งไปทางทิศตะวันตกถึงชุมทางหนองปลาดุก จากนั้นแนวเส้นทางเลี้ยวซ้ายลงสู่ภาคใต้ ผ่านจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี สิ้นสุดที่ กม. 217+700 (เลยสถานีหัวหินไปประมาณ 4 กิโลเมตร) โดยบริเวณสถานีช่วง กม.211+582.900 ถึง กม.215+872.900 ระยะทาง 4.290 กิโลเมตร เป็นทางวิ่งยกระดับ

 

งานก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 สัญญา ได้แก่

-สัญญาที่ 1  ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล  (กม.47+700 – กม.140+700)   ระยะทาง 93 กิโลเมตร วงเงิน 8,390.09 ล้านบาท  โครงสร้างทางรถไฟเป็นทางวิ่งระดับพื้นดิน มีสถานีรถไฟระดับพื้นดิน 17 สถานี

-สัญญาที่ 2  ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน  ระยะทาง  76 กิโลเมตร วงเงิน 7,676.93 ล้านบาท โครงสร้างทางรถไฟเป็นทางวิ่งระดับพื้นดิน และโครงสร้างทางรถไฟทางคู่ยกระดับ 1 แห่ง สถานีรถไฟระดับพื้นดิน 9 สถานี และสถานีรถไฟยกระดับ 1 สถานี

ความคืบหน้า  :  ได้ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการแล้ว  เริ่มงานก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี 2560  เป็นต้นไป  ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3  ปี

  ข้อมูลเพิ่มเติม  : www.railway.co.th

2.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่  สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 

ระยะทาง 84 กิโลเมตร  งบก่อสร้าง 9,990.26 ล้านบาท เป็นการก่อสร้างทางวิ่งรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม โครงสร้างทางรถไฟวิ่งระดับพื้นดินทั้งหมด  มีสถานีรถไฟระดับพื้น 12 สถานี ระบบรางเป็นทางกว้าง 1  เมตร (Meter Gauge)

ความคืบหน้า  :  โครงการอยู่ระหว่างการขอพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

  ข้อมูลเพิ่มเติม  : www.railway.co.th

3.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่  สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 

ระยะทาง 167 กิโลเมตร  โดยจะเป็นการก่อสร้างทางรถไฟ 1 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม และมีช่วงที่เปลี่ยนแนวเส้นทางจากแนวทางรถไฟเดิม 3 ช่วงโดยในช่วงที่หนึ่งของโครงการจากสถานีประจวบฯ(CH.301+000)ถึงก่อนเข้าสถานีเขาไชยราช (CH.408+700) รางใหม่อยู่ฝั่งขวา (ฝั่งตะวันตก) ช่วงที่สองจากสถานีเขาไชยราช (CH.408+700)-ก่อนเข้าสถานีคลองวังช้าง (CH.431+400) รางใหม่อยู่ฝั่งซ้าย (ฝั่งตะวันออก) และช่วงที่สาม จากสถานีคลองวังช้าง (CH.431+400)-จุดสิ้นสุดโครงการสถานีชุมพร (CH.468+800) รางใหม่อยู่ฝั่งขวา (ฝั่งตะวันตก) โครงสร้างทางรถไฟในโครงการเป็นทางวิ่งระดับพื้นทั้งหมด มีสะพานรถไฟ จำนวน 115 แห่ง งานก่อสางสถานีรถไฟระดับพื้น 20 สถานี งานระบบรางเป็นทางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge)

 

งานก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 สัญญา ได้แก่

-สัญญาที่ 1 ช่วงประจวบคีรีขันธ์–บางสะพานน้อย (กม.301+000–กม.389+300)  ระยะทาง  88 กิโลเมตร  วงเงินงบประมาณ 16,704,700,000 บาท  โครงสร้างทางรถไฟเป็นทางวิ่งระดับพื้นทั้งหมด มีสถานีรถไฟระดับพื้น 10  สถานี งานระบบรางเป็นทางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge)

-สัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร (กม.389+300–กม.468+800) ระยะทางรวม 79 กิโลเมตร  วงเงินงบประมาณ 16,704,700,000 บาท โครงสร้างทางรถไฟเป็นทางวิ่งระดับพื้นทั้งหมด มีสถานีรถไฟระดับพื้น 10  สถานี งานระบบรางเป็นทางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge)

ความคืบหน้า:อยู่ระหว่างการประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ

  ข้อมูลเพิ่มเติม  : www.railway.co.th

4.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่   สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 

ระยะทางรวม 132  กิโลเมตร  โดยเริ่มจาก กม. 134+250 ถึง กม.268+136   เป็นการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ใหม่ระดับพื้น ระยะทาง 50 กิโลเมตร และก่อสร้างทางรถไฟทางเดี่ยวระดับพื้นเพิ่ม 1 ทาง ขนานกับทางรถไฟปัจจุบัน ระยะทาง 70 กิโลเมตร และก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ยกระดับ ระยะทาง 5 กิโลเมตร รวมทั้งก่อสร้างอุโมงค์ทางรถไฟ 3 ช่วง ระยะทาง 7  กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีรถไฟรวม 19 สถานี แบ่งเป็นการปรับปรุงสถานีเดิม 9 สถานี การก่อสร้างสถานีใหม่ระดับพื้น 9 สถานี และการก่อสร้างสถานีใหม่ยกระดับ 1 สถานี งานระบบรางเป็นทางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge)

 

งานก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 สัญญา ได้แก่

-สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา–คลองขนานจิตร (กม.134+250-กม.198+200)  วงเงินงบประมาณ 29,449,310,000 บาท

-สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร–ชุมทางถนนจิระ (กม. 199+600 ถึง กม.268+135.681) วงเงินงบประมาณ 29,449,310,000 บาท

ความคืบหน้า  :  สัญญาที่ 1 ได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว และจะเสนอผลประกวดราคาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกิจการ (บอร์ด) รฟท.  ส่วนสัญญาที่ 2 มีการปรับแบบก่อสร้างใหม่

5.โครงการก่อสร้างทางคู่  สายลพบุรี-ปากน้ำโพ 

เป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง โดยจะก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดิน (At grade) ทางขนานไปกับทางรถไฟเดิม ระยะทาง 116 กิโลเมตร และก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 2 ทางบริเวณเลี่ยงเมืองลพบุรี โดยเป็นการก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดิน (At grade) ระยะทาง 9 กิโลเมตร และทางรถไฟทางคู่ยกระดับ (Elevated) ระยะทาง 23 กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ และงานปรับปรุงสถานีรถไฟเดิมรวม 20 สถานี  งานระบบรางเป็นทางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge)

 

งานก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 สัญญา ได้แก่

-สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกะเทียม (ทางรถไฟยกระดับ) มีจุดเริ่มต้นที่กม.120+200 ที่บริเวณสถานีบ้านกลับ และสิ้นสุดที่ กม. 141+000 ที่สถานีโคกกะเทียม โดยจะก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดิน (At grade) ระยะทาง 6 กิโลเมตร และทางรถไฟทางคู่ยกระดับ (Elevated) ระยะทาง 23 กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่รวม 2 สถานี  งานระบบรางเป็นทางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge)

สัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค-ปากน้ำโพ  ระยะทางประมาณ 116 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ 24,722,280,000.00 บาท มีจุดเริ่มต้นที่ กม. 136+341 และสิ้นสุดที่กม. 252+225  เป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง โดยจะทำการก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดิน (At grade) ทางขนานไปกับทางรถไฟเดิม งานก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่และงานปรับปรุงสถานีรถไฟเดิมรวม 18 สถานี แบ่งเป็นงานก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ 8 สถานี และงานปรับปรุงสถานีรถไฟเดิม 10 สถานี งานระบบรางเป็นทางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge)

ความคืบหน้า  :  อยู่ระหว่างการประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ

 คลิกอ่านหัวข้อ Update โครงการลงทุนด้านการคมนาคม ปี 2560
และโครงการที่สำคัญๆ อื่นๆ

Update ข้อมูลล่าสุด 6 พ.ย. 2560

Update ข้อมูลล่าสุด 25 ธ.ค. 2560

Update ข้อมูลล่าสุด 26 ธ.ค. 2560

Update ข้อมูลล่าสุด 27 ธ.ค. 2560

Update ข้อมูลล่าสุด 28 ธ.ค. 2560

Update ข้อมูลล่าสุด 29 ธ.ค. 2560