ภาคเหนือ

 

1.โครงการรถไฟทางคู่  สายปากน้ำโพ-เด่นชัย

ความคืบหน้า  :  เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา  คาดว่าจะเปิดประมูลได้ประมาณกลางปี 2561

เป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง โดยจะก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดิน (At grade) ทางขนานไปกับทางรถไฟเดิม ระยะทาง 116 กิโลเมตร และก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 2 ทางบริเวณเลี่ยงเมืองลพบุรี โดยเป็นการก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดิน (At grade) ระยะทาง 9 กิโลเมตร และทางรถไฟทางคู่ยกระดับ (Elevated) ระยะทาง 23 กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ และงานปรับปรุงสถานีรถไฟเดิมรวม 20 สถานี  งานระบบรางเป็นทางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge)

งานก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 สัญญา ได้แก่

-สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ-โคกกะเทียม (ทางรถไฟยกระดับ) มีจุดเริ่มต้นที่กม.120+200 ที่บริเวณสถานีบ้านกลับ และสิ้นสุดที่ กม. 141+000 ที่สถานีโคกกะเทียม โดยจะก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดิน (At grade) ระยะทาง 6 กิโลเมตร และทางรถไฟทางคู่ยกระดับ (Elevated) ระยะทาง 23 กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่รวม 2 สถานี  งานระบบรางเป็นทางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge)

สัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค-ปากน้ำโพ  ระยะทางประมาณ 116 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ 24,722,280,000.00 บาท มีจุดเริ่มต้นที่ กม. 136+341 และสิ้นสุดที่กม. 252+225  เป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง โดยจะทำการก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดิน (At grade) ทางขนานไปกับทางรถไฟเดิม งานก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่และงานปรับปรุงสถานีรถไฟเดิมรวม 18 สถานี แบ่งเป็นงานก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ 8 สถานี และงานปรับปรุงสถานีรถไฟเดิม 10 สถานี งานระบบรางเป็นทางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge)

ข้อมูลเพิ่มเติม  : www.railway.co.th

2.โครงการรถไฟทางคู่  สายเด่นชัย-เชียงใหม่  

ความคืบหน้า  :  เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา  คาดว่าจะเปิดประมูลได้ประมาณกลางปี 2561  โดยจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 6  ปี

ระยะทาง 189 กิโลเมตร โดยเป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่  ขนาดทาง  1  เมตร Meter Gauge) แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นที่ปลายย่านสถานีเด่นชัยที่กม. 535+000 และสิ้นสุดที่ย่านสถานีเชียงใหม่ที่กม. 723+185 มีสถานี  17  แห่ง  แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงเด่นชัย-ลำปาง  ระยะทาง  104  กิโลเมตร เป็นการก่อสร้างทางตู่ขนานในแนวเขตทางเดิมบางส่วน

ช่วงลำปาง-เชียงใหม่  ระยะทาง  85 กิโลเมตร  เป็นการก่อสร้างทางตู่ขนานในแนวเขตทางเดิมบางส่วนและตัดแนวทางรถไฟใหม่บางส่วน  เพื่อให้เป็นแนวเส้นตรงมากที่สุด

ข้อมูลเพิ่มเติม  : www.denchai-chiangmai-doubletrack.com

3.โครงการรถไฟทางคู่   สายเด่นชัย-เชียงของ

ความคืบหน้า  :  เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา  คาดว่าจะเปิดประมูลได้ประมาณกลางปี 2561

ระยะทาง  326  กิโลเมตร   แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีรถไฟเด่นชัย จังหวัดแพร่ ไปยังอำเภอเชียงของ  จังหวัดเชียงราย  มีสถานี  26   แห่ง  มีอุโมงค์  3 แห่ง

ข้อมูลเพิ่มเติม  :  www.railway.co.th

4.โครงการรถไฟความเร็วสูง  สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 

ความคืบหน้า  :  คณะทำงานจากญี่ปุ่นอยู่ระหว่างศึกษาโครงการและสรุปผลการศึกษาฉบับสุดท้าย คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปี 2560 

ระยะทาง  672 กิโลเมตร เป็นความร่วมมือพัฒนาระบบรางระหว่างไทยกับญี่ปุ่น  ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง (ชินคันเซ็น) รวมทั้งใช้รางเฉพาะตลอดเส้นทาง แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก  ระยะทาง 384 กิโลเมตร  แนวเส้นทางที่จะใช้ก่อสร้างส่วนใหญ่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือเดิม  แต่อาจมีการปรับแนวเส้นทางตรงบริเวณที่เป็นทางโค้งมากๆ  เนื่องจากรถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูง   โดยมีจุดเริ่มต้นที่บริเวณสถานีบางซื่อ  วิ่งไปตามแนวรถไฟเดิม  สิ้นสุดเส้นทางเฟสแรกที่จังหวัดพิษณุโลก  มี 7 สถานี ได้แก่ สถานีบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี (ป่าหวาย) นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก มี 2 สถานีที่สร้างอยู่บนที่ใหม่ ได้แก่ สถานีลพบุรีจะสร้างอยู่ป่าหวาย ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตร และสถานีพิจิตร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร อีก 5 สถานีที่เหลือจะสร้างอยู่ที่เดิมเป็นสถานีรถไฟในเมือง มีศูนย์ซ่อมบำรุงที่สถานีเชียงราก

ระยะที่ 2 ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่  ระยะทาง 285 กิโลเมตร เป็นเส้นทางตัดใหม่ช่วงจังหวัดสุโขทัย-ลำปาง จะเริ่มต้นจากจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจากแนวเส้นทางระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) แนวเส้นทางแบ่งออกเป็น 2 ช่วง

– ช่วงพิษณุโลก-ลำปาง เมื่อออกจากพิษณุโลก แนวเส้นทางยังคงใช้พื้นที่ในเขตทางรถไฟเดิม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 12 เลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันตกผ่านพื้นที่อำเภอพรหมพิราม อำเภอกงไกรลาศ ก่อนถึงสุโขทัยเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านอำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีสัชนาลัย  จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงขวาไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอวังชิ้นเข้าสู่อำเภอลอง ยกระดับรถไฟข้ามทางหลวงหมายเลข 1023 แล้วเป็นอุโมงค์ลอดใต้ทางหลวงหมายเลข 11 (เด่นชัย-แขวงลำปาง) ขนานไปตามทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านอำเภอแม่ทะ เข้าสู่สถานีรถไฟลำปาง

– ช่วงลำปาง-เชียงใหม่  จะมีแนวเส้นทางตัดใหม่และใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิม โดยผ่านช่วงหนองวัวเฒ่า-สถานีห้างฉัตร เส้นทางรถไฟอยู่ในเขตทางรถไฟเดิม จากสถานีห้างฉัตร-ลำพูน เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ เริ่มต้นจากสถานีห้างฉัตร จะเบี่ยงแนวไปทางซ้ายของทางรถไฟเดิมไปอำเภอแม่ทา ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 11 และทางรถไฟเดิมบริเวณสถานีศาลาแม่ทา ไปบรรจบกับทางรถไฟเดิมก่อนถึงสถานีรถไฟลำพูนประมาณ 10 กิโลเมตร วิ่งไปตามเขตทางรถไฟเดิมจนถึงสถานีรถไฟลำพูนและปลายทางที่สถานีเชียงใหม่  มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เป็นสถานีใหม่ 2 แห่ง คือสุโขทัย ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร และศรีสัชนาลัย ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร ส่วนอีก 3 สถานี จะใช้พื้นที่ของสถานีรถไฟเดิมอยู่ในตัวเมืองและมีศูนย์ซ่อมบำรุงที่จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูลเพิ่มเติม : กระทรวงคมนาคม www.mot.go.th

 คลิกอ่านหัวข้อ Update โครงการลงทุนด้านการคมนาคม ปี 2560
และโครงการที่สำคัญๆ อื่นๆ

Update ข้อมูลล่าสุด 6 พ.ย. 2560

Update ข้อมูลล่าสุด 23 ธ.ค. 2560

Update ข้อมูลล่าสุด 26 ธ.ค. 2560

Update ข้อมูลล่าสุด 27 ธ.ค. 2560

Update ข้อมูลล่าสุด 25 ธ.ค. 2560

Update ข้อมูลล่าสุด 29 ธ.ค. 2560