การขนส่งทางอากาศ

 

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
( Eastern Airport City ) 

ความคืบหน้า : ครม.ได้อนุมัติงบกลางปี 2560  ให้กับกองทัพเรือเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ  รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเขตส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) เพื่อรองรับโครงการสำคัญภายใต้แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ปี 2560-2564 จำนวน 12 โครงการ ดังนี้

-งานจ้างศึกษา  สำรวจ และออกแบบงานก่อสร้าง High  speed  taxiway  และ taxiway เพิ่มเติม

-งานก่อสร้าง  Bunker  เพื่อจัดระเบียบลานจอดอากาศยานแยกพื้นที่จอดออกจากอากาศยานทหาร

-โครงการระบบสารสนเทศอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2

-โครงการจัดหาระบบกล้องวงจรปิด  เครื่องเอ็กซเรย์ และซอฟท์แวร์ ในการรักษาความปลอดภัยในอาคารผู้โดยสาร  ลานจอดรถ และเส้นทางเข้าออก

-โครงการก่อสร้างอาคารเจ้าหน้าที่บริการภาคพื้นดิน

-งานจ้างศึกษา  สำรวจ  และออกแบบงานก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2

-งานจ้างวางแผนแม่บทโครงการศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและพื้นที่โดยรอบ

-งานจ้างศึกษา  สำรวจ  และออกแบบศูนย์ซ่อมอากาศยาน  MRO

-งานจ้างศึกษา  สำรวจ  และออกแบบงานก่อสร้างอาคารรองรับการปฎิบัติงานของ Air  Cargo

-งานจ้างศึกษา  สำรวจ  และออกแบบงานก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมบุคคลากรด้านการบิน

-งานจ้างศึกษา  สำรวจ  และออกแบบงานก่อสร้างศูนย์วิจัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมทางทหารพื้นที่ Defense-related  industry  research  zone

-งานจ้างศึกษา  สำรวจ  และออกแบบระบบสาธารณูปโภค

โดยการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3  วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท และจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินในภาคตะวันออก

ที่ตั้งโครงการอยู่ในพื้นที่ ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และพื้นที่โดยรอบประมาณ 6,500 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านฉาง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดระยอง โดยปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา มีทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง ขนาดมาตรฐานยาว 3,500 เมตร กว้าง 60 เมตร และมี 52 หลุมจอด ซึ่งหากใช้ทางวิ่งนี้เต็มศักยภาพ จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปี อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 รองรับผู้โดยสารทั้งในและระหว่างประเทศประมาณ 700,000 คนต่อปี และหลังจากอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 เปิดให้บริการจะมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3 ล้านคนต่อปี

 

สำหรับแผนการพัฒนาพื้นที่ในระยะเร่งด่วน ประกอบด้วยพื้นที่ให้บริการให้ปัจจุบัน (Brownfield) ที่ภาครัฐจะมีการลงทุนก่อสร้างเพิ่มเติม ทางวิ่งที่ 2 (Runway 2) ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยายตัวของสนามบิน และเปิดพื้นที่ให้บริการใหม่ (Greenfield) ซึ่งภาครัฐจะมีการลงทุนก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ระยะที่ 1 และศูนย์ขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo) ระยะที่ 1 ร่วมกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระยะที่ 1 ร่วมกับสถาบันการบินพลเรือน

 

ทั้งนี้ อู่ตะเภาจะเป็นสนามบินนานาชาติหลักแห่งที่ 3 ของประเทศไทยและธุรกิจต่อเนื่อง เป็นเขตส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อรองรับการขยายตัวของพื้นที่ EEC และเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารกับสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ และเป็น Aviation Hub ที่สำคัญในภูมิภาค

องค์ประกอบโครงการมีดังนี้

-อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3) และศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway)

-ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Air Cargo) ระยะที่ 2

-ธุรกิจซ่อมเครื่องบิน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) ระยะที่ 2

-ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระยะที่ 2

-กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยาน (Free Trade Zone)

ส่วนรูปแบบการลงทุนที่จะให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public private partnership: PPP) ซึ่งรายละเอียดอยู่ระหว่างการศึกษา โดยแผนการปฎิบัติงานเบื้องต้น (Preliminary Timeline)

  1. ประกาศเชิญชวนนักลงทุน มกราคม 2561
  2. ให้เอกชนเตรียมยื่นข้อเสนอ เมษายน 2561
  3. ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกพฤษภาคม 2561
  4. ลงนามในสัญญา สิงหาคม 2561
  5. เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ พ.ศ. 2566

 

ข้อมูลเพิ่มเติม  : www.eeco.or.th

คลิกอ่านแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านอื่นๆ

ของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC)