พื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพมหานครยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี2561อยู่ที่ระดับ 4-5% แม้จะมีความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับกำลังซื้อที่ลดลงและแนว โน้มการช้อปปิ้งออนไลน์ที่กำลังเติบโต ระบุผลการเปิดตัวในโครงใหม่ๆและกำลังจะก่อสร้างแล้วเสร็จทำให้พื้นที่รวมในธุรกิจค้าปลีก  อาจจะสูงไปจนถึง 9,000,000 ตร.ม. ใน 2-3 ปีข้างหน้าจากปัจจุบันประมาณ 7,938,248 ตร.ม.

 

ทิศทางตลาด

อุปสงค์ ผู้ประกอบการโครงการพื้ที่ค้าปลีกพยายาม ดึงดูดผู้ซื้อที่มีกำลังซื้อสูง โดยการเพิ่มแบรนด์ร้านค้าระดับไฮเอนด์และลักซ์ชัวรี่ในโครงการของตัวเอง ในขณะที่ผู้ประกอบการซุปเปอร์สโตร์มอลล์ยังมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ระดับลักซ์ชัวรี่เข้ามา

 

อุปทาน พื้นที่ค้าปลีกใหม่ประมาณ 59,579 ตารางเมตร (ตร.ม.)เปิดให้บริการในช่วง 1 ไตรมาสที่ผ่านมานี้ของปี 2561 และอีกประมาณ 31,142  ตร.ม. มีกำหนดเปิดให้บริการในช่วงไตรมาสที่ 2/2561

 

 อัตราการเช่า  อัตราการเช่าเฉลี่ยในทุกทำเลสูงกว่า 90%

 

ค่าเช่า ค่าเช่าเฉลี่ยในทุกทำเลของกรุงเทพมหานครและ พื้นที่โดยรอบในไตรมาสที่ 1 /2561ไม่แตกต่างจากไตรมาสที่ผ่านมา

 

พื้นที่ค้าปลีกประมาณ  59,579  ตร.ม.เปิดให้บริการในไตรมาสที่1/2561 และอีกประมาณ 181,242 ตร.ม.มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2561พื้นที่ค้าปลีกรวมทั้งหมดในกรุงเทพฯและพื้นที่โดยรอบอยู่ที่ประมาณ 7,938,248 ตร.ม. ดดยพื้นที่ค้าปลีกประมาณ 84% ของพื้นที่ค้าปลีกที่เปิดให้บริการในไตรมาสที่ 1/2561 คือ ศูนย์การค้าตาม มาด้วยคอมมูนิตี้มอลล์ 9% และพื้นที่ค้าปลีกสนับุสนุนสัดส่วนประมาณณ 7% ตามลำดับ

 

ธุรกิจค้าปลีกในหลายประเทศทั่วได้รับผลกระทบจากช้อปปิ้ง ออนไลน์และพฤติกรรมผู้โภคที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ไฮเปอร์ มาร์เก็ต หรือศูนย์การค้าขนาดใหญ่หลายแห่งในหลายประเทศปิดการให้บริการหรอืไม่สามารถรักษาการดำเนินกิจการให้อยู่ในระดับเดิม

 

ฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ปรเทศไทย ระบุว่า แม้ว่าพื้นที่ค้าปลีกใหม่จะมีการเพิ่มขึ้นไม่มาก เนื่องจากปัจจัยลบจากราคาที่ดินที่สูงขึ้นซึ่งมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาโครงการ ค้าปลีก นอกจากนี้ช้อปปิ้งออนไลน์ก็ส่งผลกระทบต่อรายได้ของโครงการค้าปลีกรูปแบบเดิมได้

 

แต่ธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยยังได้รับผลกระทบไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ผู้ประกอบการและผู้พัฒนาโครงการค้าปลีกทุกรายยังคงขยายสาขาหรือโครงการค้าปลีกของตนเองในทำเลที่คาดว่าจะมีการขยายตัวในอนาคตทั่วประเทศไทย

 

แม้ว่าพื้นที่ค้าปลีกใหม่จะมีการเพิ่มขึ้นไม่มาก เนื่องจากปัจจัย ลบจากราคาที่ดินที่สูงขึ้นซึ่งมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาโครงการ ค้าปลีก นอกจากนี้ช้อปปิ้งออนไลน์ก็ส่งผลกระทบต่อรายได้ของ โครงการค้าปลีกรูปแบบเดิม

 

โครงการพื้นที่ค้าปลีกที่เปิดให้บริการในปี2561 ส่วนใหญ่เป็นศูนย์การค้า ตามด้วยคอมมูนิตี้มอลล์ซึ่งมีการขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า คอมมูนิตี้มอลล์อยู่ในช่วงชะลอตัวลงในปี 2561 และในอนาคต

 

ผู้ประกอบการโครงการค้าปลีกมีความกังวลต่อธุรกิจช้อปปิ้งออนไลน์ และโมบายช้อปปิ้งซึ่งเป็นกระแสที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย แต่ผู้ประกอบการโครงการค้าปลีกรายใหญ่เองก็มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นหรือแพลตฟอร์มเพื่อรองรับกระแสในอนาคต

คอมมูนิตี้มอลล์มีการขยายตัวรวดเร็วท่สุดในธุรกิจค้าปลีกในกรุงเทพฯและพี้นที่โดยรอบและขึ้นมามีสัดส่วนมากเป็นอันดับที่2 แทนที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตซึ่งอยู่อันดับที่3 โดยคอมมูนิตี้มอลล์มีพื้นที่รวม 1,246,598 ตร.ม.ในไตรมาส 1 / 2561 และมีโครงการใหม่เปิดให้บริการในอนาคตส่งผลให้คอมมูนิตี้มอลล์มีอัตราการขยายตัวมากที่สุดในตลาดพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพฯ และพื้นที่โดยรอบ

 

ศูนย์การค้ามีสัดส่วนประมาณ 59% ของพื้นที่ค้าปลีกทั้งหมดในกรุงเทพฯและพื้นที่โดยรอบ ซึ่งพื้นที่ค้าปลีกอีกมากกว่า 447,475 ตร.ม.ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและมีกำหนดแล้วเสร็จในช่วงระหว่างปี2562-2563

 

ผู้ประกอบการพื้นที่ค้าปลีกรายใหญ่ให้ความสนใจต่อโครงการพื้นที่ค้าปลีกขนาดเล็กซึ่งสามารถพัฒนาได้รวดเร็วและสามารถขยายได้ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย

อัตราการเช่าเฉลี่ยในทุกทำเลในไตรมาสที่1/2561ยังคงใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้านี้ ซึ่งสูงกว่า 96% ในทุกทำและปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2560 อัตราการเช่าเฉลี่ยในทุกทำเลไม่ได้ลดลงแม้กำลังซื้อคนไทยในปี 2560-2561 จะลดลงต่อเนื่องสะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย มีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังคงกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ดังนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงมีการใช้จ่ายลดลง

 

พื้นที่กรุงเทพฯรอบนอกมีอัตราการเช่าสูงที่สุด เนื่องจากมีไฮเปอร์มาร์เก็ตและศนูยก์ารค้าจำนวนมากที่มีอัตราการเช่าที่ค่อนข้างสูง แม้ว่าคอมมูนิตี้มอลล์บางแห่งจะว่างและไม่สามารถดึงดูดร้านค้าหรือแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมายังโครงการของพวกเขาได้

 

ค่าเช่าเฉลี่ยในทุกทำเลของกรุงเทพฯและพื้นที่โดยรอบในไตรมาสที่ 1/2561 ไม่ได้แตกต่างจากไตรมาสก่อนหน้า แต่ว่าร้านค้าหรือแบรนด์ต่างประเทศยังคงให้ความสำคัญกับการเพิ่มจำนวนสาขาซึ่งพวกเขามองว่าประเทศไทยยังคงมีช่องทางขยายตัวในอนาคต ดังนั้น ค่าเช่าจึงมีการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่ใจกลางเมืองมีค่าเช่าสูงที่สุดอาจมากถึง 3,000 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือนในศูนย์การค้าบางแห่งในเมืองหรือเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสได้โดยตรง ส่วนค่าเช่าพื้นที่กรุงเทพฯรอบนอกเริ่มที่ประมาณ 500 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน สำหรับพื้นที่ในคอมมูนิตี้มอลล์ค่าเช่าพื้นที่ค้าปลีกในปี 2561 ก็ยังคงไม่แตกต่างจากปี 2560 มากนัก ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ

 

ศูนย์การค้าขนาดใหญ่หลายโครงการในพื้นที่กรุงเทพฯรอบนอกที่เปิดให้บริการในปี 2562-2563 อาจจะมีผลต่อค่าเช่าเฉลี่ยในอนาคต

 

คาดธุรกิจค้าปลีกทั้งปีเติบโต4-5%

ธุรกิจค่าปลีกในปี 2561 คาดว่าจะเตบิโต 4-5% เห็นได้จาก การเปิดโครงการค้าปลีกใหม่ๆ ในเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา โครงการแรก คือ การเปิดสาขาตัวโครงการ อิเกีย บางใหญ่ ซึ่งเป็นสาขาที่สองในกรุงเทพฯติดกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่อย่างเซ็นทรัลเวสเกตมีมูลค่าเงินลงทุน 6,300ล้านบาท ขนาดพื้นที่บริการ  50,278 ตร.ม.ถือว่าใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นโครงการค้าปลีกขนาดใหญ่ในเขตุชานเมืองกรุงเทพฯพื้นที่ตะวันตก

 

นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวของ “ยูนิโคล่” ซึ่งเป็นแบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำของญี่ปุ่นได้เปิดสาขานอกห้างแห่งแรกของภุมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไทยโดยตั้งอยู่พัฒนาการ ซอย58 ในเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ซี่งมีพื้นที่มากกว่า 1,440 ตร.ม. โดยมีบริการรถรับส่งฟรีจากสถานีรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์หัวหมากถึงตัวห้าง และภายในปีนี้ ยังมีการเปิดตัวของโครงการ  ไอคอน สยาม ของ บมจ. สยามพวิรรธน์ และโครงการ มารเก็ต แบงคอก ของ แพลตตินั่ม กรุ๊ป และ ยังมีโครงการ เมกา  บางนาเฟส 2 ของ บมจ . สยามฟวิเจอร์ดีเวลอปเมนท ในปี2562 ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ค้าปลีกในเขตกรุงเทพฯและปรมิณฑลจากปัจจุบันที่มีพื้นที่รวมประมาณ 7,938,248 ตร.ม. อาจจะสูงไปจนถึง 9,000,000 ตร.ม. ใน 2-3 ปีข้างหน้า

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมภาพรวมตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ได้ที่ >> ตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ‘รุ่ง’หลังต่างชาตินิยม >>