การรถไฟแห่งประเทศไทย เผยหลังเปิดขายเอกสารโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รวม 3 สัปดาห์ มีเอกชนไทยต่างประเทศเข้าซื้อรวม 31 บริษัท เตรียมจัดประชุมชี้แจงความเข้าใจ 23 ก.ค.นี้  หลังจากนั้นจะนำผู้ยื่นข้อเสนอไปดูสถานที่ก่อสร้างของโครงการ กำหนดการรับซองวันข้อเสนอวันที่ 12  พ.ย.61  ระบุผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท และต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอ จำนวน 2 ล้านบาท  

 

 

วันที่ 9 กรกฎาคม 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการเปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา มูลค่า 225,544 ล้านบาท  ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายนจนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการขายเอกสาร รวมระยะเวลา 3 สัปดาห์ มีเอกชนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศให้ความสนใจเข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 31 ราย โดยเฉพาะวันสุดท้ายคือวันที่ 9 กรกฎาคม มีเอกชนเข้ามาซื้อเอกสารรวมทั้งสิ้น 8 บริษัท  โดยบริษัทที่เข้าซื้อเอกสารทั้งหมดแบ่งเป็นบริษัทจากประเทศไทย 16 บริษัท ,สาธารณรัฐประชาชนจีน 7 บริษัท , ญี่ปุ่น 3 บริษัท, มาเลเซีย 2 บริษัท,ฝรั่งเศส 2 บริษัท และอิตาลี 1 บริษัท  ได้แก่

 

1.บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน)หรือ BTS (ประเทศไทย)

2.บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) (ประเทศไทย)

3.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)หรือITD (ประเทศไทย)

4.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่นจำกัด(มหาชน)หรือ UNIQ (ประเทศไทย)

5.บริษัท เอนเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ปตท จำกัด(มหาชน)หรือ PTT (ประเทศไทย)

6.บริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น)

7.บริษัท ชิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น จำกัด (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

8.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่นจำกัด(มหาชน) หรือ STEC (ประเทศไทย)

9.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือBEM  (ประเทศไทย)

10.บริษัท ฟูจิตะ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น)

11.China Railway Construction Corporation Limited (CRCC) (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

12.บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) หรือ CK (ประเทศไทย)

13.บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน)หรือ RATCH (ประเทศไทย)

14.บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)หรือTPIPL (ประเทศไทย)

15.Chaina Railway Group Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

16.Chaina Communications Construction Company  Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

17.China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

18.CITIC Group Corporation (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

19.Korea-Thai High-Speed Railroad Consortium Inc. (ประเทศไทย)

20.บริษัท เทอดดำริ จำกัด (ประเทศไทย)

21.Salini Impregio S.p.A  (ประเทศอิตาลี)

22.บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (ประเทศไทย)

23.TRANSDEV GROUP  (ประเทศฝรั่งเศส)

24.SNCF INTERNATIONAL (ประเทศฝรั่งเศส)

25.Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ประเทศญี่ปุ่น)

26.บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)หรือ PLE (ประเทศไทย)

27.บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)หรือ CPN (ประเทศไทย)

28.บริษัท แอล เอ็ม ที สโตน จำกัด (ประเทศไทย)

29.WANNASSER INTERNATIONAL GREEN HUB BERHAD (ประเทศมาเลเซีย)

30.บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

31.MRCB Builders SDN. BHD. (ประเทศมาเลเซีย)

 

 

ทั้งนี้ภายหลังจากการขายเอกสารเสร็จสิ้นแล้ว จะจัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจ จำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2561  ณ สโมสรรถไฟชั้น 2 การรถไฟแห่งประเทศไทย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ หลังจากนั้นจะนำผู้ยื่นข้อเสนอไปดูสถานที่ก่อสร้างของโครงการ ในวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 และวันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2561 โดยเข้าดูพื้นที่ของโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน ,สถานีสุวรรณภูมิ และสถานีรายทาง , โครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต ,สถานีกลางบางซื่อ ,โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน – หัวหมาก และเขตทางรถไฟปัจจุบันตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ จากสถานีดอนเมืองไปตามเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านสถานีมักกะสัน สถานีฉะเชิงเทรา สถานีพัทยา และสิ้นสุดที่บริเวณสถานีบ้านฉาง ทั้งนี้จะเปิดให้มีการส่งข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ หรือคำถามเกี่ยวกับเอกสารการคัดเลือกเอกชน และให้มีการตรวจสอบข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม – 9 ตุลาคม 2561 ณ ห้องประชุมฝ่ายโครงการพิเศษและก่องสร้างการรถไฟฯ ในเวลาราชการ

สำหรับกำหนดการรับซองข้อเสนอ จะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 12  พฤศจิกายน 2561  เวลา  09.00 – 15.00 น. โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท และต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่ รฟท. เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับการรถไฟฯ ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา