ภายหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)ได้ออกประกาศควบคุมให้ธุรกิจการให้เช่าตึกเพื่ออยู่ อาศัย เป็นธุรกิจที่ควบคุมคำสัญญา พุทธศักราช2561 ส่งผลเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม2561 เป็นต้นมา ก็ได้มีผู้ประกอบการให้เช่าห้องพัก อพาร์ตเมนต์ ที่ไม่เห็นพ้องกับการออกประกาศนี้ รวมทั้งมีปัญหาในทางปฏิบัติมาร้องกับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกว่า 2,000 ราย ดังนั้น สคบ.จึงต้องจัดสัมมนาเพื่ออธิบายรายละเอียดในประกาศฉบับดังกล่าว แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบกิจการ เพราะมองว่าประกาศดังกล่าวยังไม่มีความเป็นธรรม ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจอพาร์ตเมนต์จากทั่วประเทศกว่า 6,000 ราย ได้รวมตัวกันยื่นหนังสือต่อศาลปกครองเพื่อให้พิจารณาคุ้มครองชั่วคราวว่าร่างประกาศดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกระบวนการ  และขอให้เพิกถอนประกาศดังกล่าวเนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างมาก

 

 

และเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งยกคำร้องขอให้ศาลพิจารณาไต่สวนเพื่อมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ ประกาศสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เรื่องให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาจนถึงที่สุด ในคดีหมายเลขดำ ที่ 1006/2561 หจก.ธนกฤตพร เครือข่ายกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจให้เช่าอาคารเพื่อที่อยู่อาศัย ยื่นฟ้องคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา และ สคบ. ต่อศาลปกครองกลาง ว่า ร่วมกันออกประกาศสคบ. เรื่องให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎหมายดังกล่าว 

 

 

 

ทั้งนี้ศาลให้เหตุผลว่า การที่ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญากำหนดให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา เพื่อให้ สคบ. ใช้เป็นมาตรการในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคจากการทำสัญญาเช่าให้บรรลุผล และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย หากศาลมีคำสั่งทุเลาตามคำร้อง ก็จะทำให้ สคบ. ขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิของผู้เช่าในฐานะที่เป็นผู้บริโภคจากการตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสัญญาเช่า และทำให้ สคบ.ไม่สามารถแก้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภคที่ถูกเอารัดเอาเปรียบได้ทันท่วงที เนื่องจากปัจจุบันมี เพียงพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 เป็นกฎหมายฉบับเดียวที่ใช้คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคก่อนการทำสัญญา ส่วนพ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 เป็นมาตรการที่ใช้คุ้มครองผู้บริโภคหลังจากมีสัญญาแล้วเท่านั้น 


ดังนั้น การมีคำสั่งทุเลาการบังคับใช้ประกาศดังกล่าว จึงเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานและการบริการสาธารณะของ สคบ. ส่วนการออกประกาศดังกล่าว จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะต้องพิจารณาพิพากษาต่อไป