คอลลิเออร์สฯเผยตัวเลขคอนโดฯสร้างเสร็จเหลือขายในกรุงเทพฯและปริมณฑลกว่า 30,000 ยูนิตรวมมูลค่าเกือบ 3 แสนล้นบาท และยังมีคอนโดมิเนียมอีกมากกว่า 50,000 ยูนิตที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2562

 

นายภัทรชัย ทวีวงศ์  ผู้จัดการอาวุโสแผนกวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึง ตัวเลขของอุปทาน (Supply)ของคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ก่อนมีการปรับอัตรา LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ แบงก์ชาติ ที่จะเริ่มให้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 พบว่ามีอยู่ประมาณ 170,906 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าทั้งหมดประมาณ 1.922 ล้านล้านบาท(ลบ.)  ขายไปแล้วประมาณ 139,913 ยูนิต  คิดเป็น 81.9%  จากอุปทานทั้งหมดคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.647 ล้านล้านบาท และมีหน่วยเหลือขายทั้งหมดประมาณ 30,993  ยูนิต คิดเป็น 18.1%  ด้วยมูลค่าประมาณ  274,745 ล้านบาท หากจำแนกเป็นรายจังหวัดดังนี้

 

  • ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีคอนโดมิเนียมที่ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ที่ประมาณ 111,523 ยูนิต ด้วยมูลค่าทั้งหมด 1.809   ล้านล้านบาท ขายไปแล้วประมาณ  96,373 ยูนิต คิดเป็น 86.4% จากอุปทานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมด  มูลค่าประมาณ  1.563  ล้านล้านบาท  และมีหน่วยเหลือขายประมาณ  15,150  ยูนิต คิดเป็น 13.6%  มูลค่า 245,812 ล้านบาท
  • ปทุมธานี มีคอนโดมิเนียมที่ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ที่ประมาณ 14,643 ยูนิต ด้วยมูลค่าทั้งหมด  15,877  ล้านบาท ขายไปแล้วประมาณ 9,334  ยูนิตคิดเป็น 63.7% จากอุปทานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมดมูลค่าประมาณ 10,120   ล้านบาท  และมีหน่วยเหลือขายประมาณ 5,309  ยูนิต คิดเป็น 36.3%  มูลค่า   5,756 ล้านบาท
  • นนทบุรี มีคอนโดมิเนียมที่ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ที่ประมาณ 29,621 ยูนิต ด้วยมูลค่าทั้งหมด 68,117    ล้านบาท ขายไปแล้วประมาณ 21,750  ยูนิต คิดเป็น 73.4% จากอุปทานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมด  มูลค่าประมาณ   50,017 ล้านบาท  และมีหน่วยเหลือขายประมาณ 7,871 ยูนิต คิดเป็น 26.6% มูลค่า18,100 ล้านบาท  
  • สมุทรปราการ มีคอนโดมิเนียมที่ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ที่ประมาณ 15,119  ยูนิต  ด้วยมูลค่าทั้งหมดล้านบาท 28,821 ขายไปแล้วประมาณ  12,456 ยูนิต คิดเป็น 82.4% จากอุปทานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมดมูลค่าประมาณ  23,744  ล้านบาท  และมีหน่วยเหลือขายประมาณ  2,663   ยูนิต คิดเป็น 17.6% มูลค่า  5,076 ล้านบาท

 

นายภัทรชัย ยังกล่าวด้วยว่า สำหรับปี 2561 ที่ผ่านมา นอกจากเป็นปีที่มีคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครแล้ว ยังเป็นปีที่มีคอนโดมิเนียมก่อสร้างแล้วเสร็จและจดทะเบียนอาคารชุดสูงที่สุดในประวัติตลาดคอนโดมิเนียมของกรุงเทพมหานครอีกเช่นเดี่ยวกัน เนื่องจากมีคอนโดมิเนียมก่อสร้างแล้วเสร็จและจดทะเบียนอาคารชุดกว่า 112 โครงการ ประมาณ 55,325 ยูนิต ซึ่งสูงกว่าในปี 2560 กว่า 20,835 ยูนิต หรือประมาณ 60% ส่งผลให้อุปทานสะสมคอนโดมิเนียมในปัจจุบันของกรุงเทพมหานครพุ่งไปสูงถึงประมาณ 591,744 ยูนิต และยังมีคอนโดมิเนียมอีกมากกว่า 50,000 ยูนิตที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2562

 

อุปทานสะสมคอนโดมิเนียม ณ ไตรมาสที่ 4 ปี 2561

 

คอนโดมิเนียมประมาณ 16,059 ยูนิตที่สร้างเสร็จ และจดทะเบียนอาคารชุดที่กรมที่ดินในไตรมาสสุดท้ายของปี2561 ส่งผลให้ทั้งปี 2561 มีคอนโดมิเนียมประมาณ 55,325 ยูนิตสร้างเสร็จ และจดทะเบียนที่กรมที่ดิน ซึ่งถือว่าเป็นปีที่มีคอนโดมิเนียมก่อสร้างแล้วเสร็จ และจดทะเบียนอาคารชุดเป็นจำนวนที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดคอนโดมิเนียมของกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้อุปทานคอนโดมิเนียมในปัจจุบันของกรุงเทพมหานครอยู่ที่ประมาณ 591,744 ยูนิต และยังมีคอนโดมิเนียมอีกมากกว่า 50,000 ยูนิตที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2562

 

อุปทานสะสมคอนโดมิเนียมจำแนกตามทำเลที่ตั้ง ณ ครึ่งหลังปี 2561

 

คอนโดมิเนียมประมาณ 340,688 ยูนิต หรือประมาณ 59% ของคอนโดมิเนียมทั้งหมดตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นนอก ในขณะที่มากกว่า 233,835 ยูนิต ตั้งอยู่ในพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย (BTS / MRT) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในและสำหรับในพื้นที่กรุงเทพชั้นในนั้น พื้นที่รอบเมืองด้านทิศเหนือ(รัชดาฯ, พหลโยธิน) เป็นพื้นที่ที่มีจำนวนคอนโดมิเนียมมากที่สุดที่ประมาณ 80,483 ยูนิต หรือคิดเป็น 14%  ตามมาด้วยพื้นที่เมืองชั้นใน(สาทร, สีลม, สุขุมวิทตอนต้น)  ที่ประมาณ 46,552 ยูนิต ด้วยสัดส่วนประมาณ 8% และ พื้นที่นอกเมืองด้านทิศตะวันออก (สุขุมวิท – บางนา) ที่ประมาณ 30,673 ยูนิต หรือคิดเป็น 5% ของจำนวนอุปทานทั้งหมดตามลำดับ

 

จากจำนวนหน่วยที่เหลือขายที่อยู่ในมือผู้ประกอบการโดยเฉพาะหน่วยเหลือขายที่สร้างเสร็จประกอบกับเผชิญแรงกดทับจากมาตรการของภาครัฐ โดยเฉพาะการปรับอัตรา LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ แบงก์ชาติใหม่ล่าสุด ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่นั้นโหมกิจกรรมการตลาดผ่านการจัดโปรโมชั่น หรือ แคมเปญต่างๆตั้งแต่ช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2561 ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงไตรมาส 1 ปี 2562 โดยทุกโปรโมชั่นที่ออกมา นอกจากจะเร่งให้ลูกค้าตัดสินใจโอนกรรมสิทธ์แล้ว ยังต้องการกระตุ้นกำลังซื้อใหม่ๆในตลาด ด้วยพุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าซื้ออยู่จริง การนำโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมลดราคากันมากบางรายลดราคากว่า 30% เพื่อเป็นการระบายสต็อคคงค้างก่อนมีการ ปรับอัตรา LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะเริ่มให้ในวันที่ 1 เมษายน 2562