โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในหลายปีก่อนหน้านี้ทั่วโลก ผู้ใช้ส่วนใหญ่คือคนที่สามารถทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตรวมทั้งพวกฟรีแลนซ์และธุรกิจสตาร์ท-อัพ และมีจำนวนไม่น้อยที่ผู้ใช้เป็นนักท่องเที่ยวที่สามารถทำงานที่ใดก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตได้ ดังนั้นรูปแบบของโค-เวิร์คกิ้ง สเปซจึงเป็นที่ยอมรับในวงกว้างไปทั่วโลก ทำให้จำนวนของโค-เวิร์คกิ้ง สเปซเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในสหรัฐ อเมริกา ยุโรป และทั่วเอเชียรวมทั้งในประเทศไทย

นายภัทรชัย ทวีวงศ์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศสนใจเข้ามาพัฒนา โคเวิร์คกิ้ง สเปซ เป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้ภาพรวมตลาด โคเวิร์คกิ้ง สเปซ ในกรุงเทพมหานครและในประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งพบว่ายังคงมีผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศให้ความสนใจและมีแผนพัฒนา โคเวิร์คกิ้ง สเปซ ในกรุงเทพมหานคร อีกกว่า 50,000 ตารางเมตรในปี 2563 ดังนี้

จัสท์โค (JustCo) แบรนด์ โคเวิร์คกิ้ง สเปซ จากสิงค์โปร์ ที่วางแผนพัฒนาโคเวิร์คกิ้ง สเปซ   5  แห่งในกรุงเทพฯ  สำหรับในปี 2561 ที่ผ่านมา  เปิดบริการแล้ว 2 สาขา คือ สาขาแรกที่อาคาร AIA Sathorn ในเดือนพฤษภาคม พื้นที่ประมาณ 3,200 ตร.ม. และอาคาร All Seasons Place พื้นที่ประมาณ 3,500 ตร.ม.   และยังมีแผนพัฒนาโคเวิร์คกิ้ง สเปซ ในกรุงเทพมหานครอีก 3 แห่ง ที่อาคารสีลม เซ็นเตอร์  อัมรินทร์ ทาวเวอร์ และ สามย่าน มิตรทาวน์  พื้นที่รวมกกว่า 19,000 ตารางเมตร

นอกจากนี่ยังมี WeWork แบรนด์ โคเวิร์คกิ้ง สเปซ จากอเมริกา ที่เตรียมพัฒนา  โคเวิร์คกิ้ง สเปซ ในกรุงเทพมหานครอีกกว่า 5 แห่ง ที่อาคารสปริง ทาวเวอร์  อาคารสุทธิ เดอะ ปาร์ค พระราม4  อาคารสิริภิญโญ และ อาคารวานิสสา ชิดลม พื้นที่รวมกว่า 20,000 ตารางเมตร

บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น ที่ประกาศเดินหน้าขยายไลน์ธุรกิจใหม่โคเวิร์คกิ้ง สเปซ แบรนด์ ‘คอมมอน กราวด์’ (Common Ground) เพื่อสร้างคอมมูนิตี้ผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพรุ่นใหม่อีก 2 สาขา ที่อาคาร จี ทาวเวอร์ พระราม 9 และห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ อีกกว่า 6,000 ตารางเมตร

Spaces (สเปซเซส) แบรนด์โคเวิร์คกิ้งสเปซของ Regus ผู้บุกเบิกโคเวิร์กกิ้งและออฟฟิศพร้อมใช้งานแบบครบวงจรสุดสร้างสรรรค์แห่งอัมเสตอร์ดัม ก็เปิดโค-เวิร์คกิ้ง สเปซโครงการใหม่ กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ด้วยพื้นที่กว่า 1,919 ตารางเมตร บนชั้น 3 ของโครงการมิกซ์ยูสซัมเมอร์ฮิลล์ (Summer Hill) และยังมีแผนพัฒนา โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ อีก 1 แห่งย่านพหลโยธิน  19 ด้วยพื้นที่ประมาณ 1,500 – 2,000 ตารางเมตร

อุปสงค์ : ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ด้วยอุปทานที่มีจำกัด ส่งผลให้โคเวิร์คกิ้งสเปซ ในกรุงเทพฯ มีอัตราการเช่าที่ค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในย่านสุขุมวิท  สยาม – ปทุมวัน สีลมและสาทร

อุปทาน : ประมาณ 28,151 ตารางเมตร โคเวิร์คกิ้ง สเปซ   ถูกเพิ่มเข้าไปในตลาดสำนักงานในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2561 ส่งผลให้ ณ ครึ่งแรก ปี 2562 อุปทานพื้นที่  โคเวิร์คกิ้ง สเปซ ทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 113,280 ตารางเมตร และมีอุปทานอีกกว่า 50,000 ตารางเมตรที่จะเข้ามาในอนาคต

ค่าเช่าค่าเช่าโค-เวิร์คกิ้ง สเปซในกรุงเทพมหานคร มีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าอาจจะน้อยกว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาก็ตาม โดยเฉพาะพื้นที่สุขุมวิท, สยาม – ปทุมวัน, สีลมและสาทร

โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ: ตลาดเฉพาะกลุ่มที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว

โค-เวิร์คกิ้ง สเปซเป็นรูปแบบใหม่ของพื้นที่สำนักงานที่เข้าสู่ตลาดมาเป็นทางเลือกใหม่นอกเหนือจากเซอร์วิสออฟฟิศ มินิ-ออฟฟิศ และโฮมออฟฟิศ หรืออื่นๆ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการหาพื้นที่ทำงาน แต่ว่าโค-เวิร์คกิ้ง สเปซเป็นทางเลือกใหม่ในตลาดกรุงเทพมหานครหรือเป็นแค่เพียงของใหม่ของแปลกของกรุงเทพมหานคร ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพมหานครในช่วง 6 –7 ปีที่ผ่านมามีอัตราว่างเฉลี่ยน้อยกว่า 10% ต่ำที่สุดในช่วงมากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ค่าเช่าปรับเพิ่มขึ้นตลอดในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา ค่าเช่าที่สูงขึ้นในทำเลที่ไม่ไกลจากเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของบริษัทขนาดเล็ก สตาร์ท-อัพ และ ธุรกิจ SME

นอกจากนั้นธุรกิจสตาร์ท-อัพหรือ SME อาจจะยังไม่พร้อมหรือมั่นใจพอที่จะเช่าพื้นที่ในอาคารสำนักงาน ดังนั้นโค-เวิร์คกิ้ง สเปซจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคนที่ทำงานฟรีแลนซ์ที่ต้องการพื้นที่ทำงานที่ดูเป็นทางการกว่าที่บ้านแต่ไม่จริงจังแบบพื้นที่สำนักงานในรูปแบบเดิมและมีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการทำงานรวมทั้งมีภาพลักษณ์ที่ดูดี โค-เวิร์คกิ้งสเปซ ยังมีบรรยากาศที่ผ่อนคลายมากกว่าเซอร์วิสออฟฟิศ และที่สำคัญที่สุดคือมีค่าเช่าที่ต่ำกว่า ซึ่งโดยทั่วไปจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกแบบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเป็นพื้นที่ทำงาน เช่น โต๊ะทำงาน ระบบ wi-fi ความเร็วสูง ห้องประชุม รวมทั้งพริ๊นเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานอื่นๆ

ความนิยมของโค-เวิร์คกิ้ง สเปซในประเทศไทยก็เริ่มมีมากขึ้นตามกระแสโลก โค-เวิร์คกิ้ง สเปซเริ่มมีขึ้นในกรุงเทพมหานครในปี 2555 หลังจากที่พื้นที่รอบนอกโดนน้ำท่วมในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 คนจำนวนมากไม่สามารถเดินทางไปทำงานที่บริษัทได้ ดังนั้นจึงทำงานที่บ้านแทน หลังจากนั้นโค-เวิร์คกิ้ง สเปซ จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในกรุงเทพมหานคร ซึ่งสอดรับกับจำนวนของฟรีแลนซ์หรือคนที่สามารถทำงานที่บ้านได้เพิ่มขึ้นทุกปีซึ่งโค-เวิร์คกิ้ง สเปซมีความเหมาะสมกับคนที่ทำงานในกลุ่มนี้

ผู้ให้บริการโค-เวิร์คกิ้ง สเปซ ในประเทศไทยขยายการให้บริการของตนเองไปในทำเลใหม่ และมีรูปแบบใหม่ๆ ออกมารวมทั้งมีการร่วมทุนกับพันธมิตรอื่นๆ โดยเฉพาะในอนาคตอีก 1-2 ปีข้างหน้า ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าการยอมรับว่าโค-เวิร์คกิ้ง สเปซ เป็นอีกรูปแบบของสถานที่ทำงานจะขยายไปในวงกว้างมากขึ้นในประเทศไทย แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งในตลาดอาคารสำนักงานเท่านั้น ผลกระทบที่อาจจะมีต่ออาคารสำนักงานแบบทั่วไปคือการออกแบบหรือว่าการจัดการอาคารสำนักงานที่จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้นคงไม่เหมือนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโครงการค้าปลีกแบบเดิมๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของช็อปปิ้งออนไลน์

ความนิยมของ โค-เวิร์คกิ้ง สเปซในประเทศไทยก็เริ่มมีมากขึ้นตามกระแสโลก โค-เวิร์คกิ้ง สเปซเริ่มมีขึ้นในกรุงเทพมหานครในปี 2555 โดย HUBBA เป็นผู้พัฒนา โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ แห่งแรกของประเทศไทยในย่านเอกมัย ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นเจ้าตลาด และเปิดให้บริการแล้ว 3 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร หลังจากที่พื้นที่รอบนอกโดนน้ำท่วมในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 คนจำนวนมากไม่สามารถเดินทางไปทำงานที่บริษัท ดังนั้นจึงทำงานที่บ้านแทน หลังจากนั้น โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในกรุงเทพมหานคร ซึ่งสอดรับกับจำนวนของฟรีแลนซ์หรือคนที่สามารถทำงานที่บ้านได้เพิ่มขึ้นทุกปี โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ มีความเหมาะสมกับคนที่ทำงานในกลุ่มนี้ และจำนวนโค-เวิร์คกิ้ง สเปซ ในประเทศไทยก็มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จน ณ สิ้นในปี  2561 โค-เวิร์คกิ้ง สเปซมีจำนวนมากกว่า 120 แห่ง สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นประมาณ 25 %  และคาดการณ์ว่าจะมากกว่า 140 แห่ง ณ สิ้นปี 2562 นี้

ในปี  2561 ที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนพัฒนาโค-เวิร์คกิ้ง สเปซในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีสไตล์ของพวกเขาซึ่งครอบคลุมหลายชั้นและส่วนใหญ่ใช้พื้นที่มากกว่า 2,000 ตารางเมตร ซึ่งการเข้ามาด้วยพื้นที่ที่ค่อนข้างใหญ่ของผู้ประกอบการต่างชาติในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายเล็กๆในประเทศเริ่มมีขีดจำกัดในการแข่งขันที่น้อยลง

โค-เวิร์คกิ้ง สเปซกว่า 28,151 ตารางเมตร เปิดให้บริการใหม่ในตลาดกรุงเทพฯในปี 2561ที่ผ่านมา ส่งผลให้ ณ ครึ่งแรก ปี  2562 ประเทศไทยโค-เวิร์คกิ้ง ทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 113,280 ตารางเมตร โดยมีพื้นที่อีกประมาณ 50,000 ตารางเมตร ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 และในอนาคต

ประมาณ 90% ของจำนวนพื้นที่ โค-เวิร์คกิ้ง สเปซทั้งหมดในกรุงเทพฯตั้งอยู่ตามแนวรถไฟฟ้าปัจจุบันและพื้นที่สุขุมวิทมีส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุดประมาณ 29% และพบว่าซัพพลายกว่า 88% ของ  โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ ทั้งหมดในกรุงเทพฯตั้งอยู่ในเขตศูนย์กลางธุรกิจ ( CBD ) ที่อาคารส่วนใหญ่เป็นอาคารเกรด A  สยามและ ปทุมวัน ก็เป็นอีกทำเลที่ผู้ประกอบการสนใจพัฒนาโค-เวิร์คกิ้ง สเปซ ซึ่งรองลงมาจากในพื้นที่ย่านสุขุมวิทโดยมีสัดส่วนประมาณ 24% ของตลาด โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ ในกรุงเทพมหานครทั้งหมด ตามมาด้วยพื้นที่สีลมและสาทรที่ประมาณ 23%  ซึ่งเนื่องจากราคาที่ดินได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากในย่านศูนย์กลางธุรกิจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาและเรื่องของที่ดินในพื้นที่ใจกลางเมืองที่มีอย่างจำกัด เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะอาคารสำนักงาน

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง2 – 3 ปีที่ผ่านมาและอุปทานที่จำกัด ของ โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ ในกรุงเทพฯเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันอัตราการเช่าที่ค่อนข้างสูงในย่านสุขุมวิท ,  สยามปทุมวันและสีลมและสาทร คาดการณ์ว่าค่าเช่าโค-เวิร์คกิ้ง สเปซในกรุงเทพมหานครจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2562 แม้ว่าอาจจะน้อยกว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาก็ตาม พื้นที่ส่วนใหญ่สุขุมวิท, สยาม, ปทุมวัน, สีลมและสาทร มีการปรับขึ้นค่าเช่าอย่างต่อเนื่องเนื่องจากโค-เวิร์คกิ้ง สเปซ ส่วนใหญ่ที่เปิดให้บริการมีอัตราการเช่าที่ค่อนข้างสูงและพื้นที่โค-เวิร์คกิ้ง สเปซใหม่ที่มีอย่างจำกัด ถูกเพิ่มเข้ามาในตลาดรวมถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*