ครั้งแรกของการมีบ้านเป็นของตัวเอง แน่นอน พอถึงวันตรวจเช็กพื้นที่เพื่อเตรียมรับโอน เจ้าบ้านมือใหม่ก็ต้องตื่นเต้นเป็นธรรมดา โชคดีสมัยนี้มีระบบอินเตอร์เน็ตรองรับที่สามารถเข้าไปหาความรู้ได้ตลอดเวลาว่าต้องเตรียมตัวไปตรวจเช็กอย่างไร จุดไหนบ้าง เพราะบ้านสักหลังก็มีขนาดใหญ่พอตัว และมีหลายจุดที่ค่อนข้างสำคัญ แต่ถ้าจะให้ดี ลองลิสต์วิธีเช็กของพื้นที่แต่ละจุดที่เด่นๆ เอาไว้ ก็จะช่วยให้งานตรวจเช็กพื้นที่ก่อนรับมอบเป็นรูปเป็นร่าง ช่วยเตือนความจำตอนเช็กให้ง่ายขึ้น

ห้องน้ำ นับเป็นพื้นที่ใช้สอยที่สำคัญส่วนหนึ่งของที่พักอาศัย แม้ว่าจะมีขนาดไม่ใหญ่มาก ถ้าพื้นที่ส่วนไหนของห้องน้ำขาดตกบกพร่องไป เจ้าของห้องหรือเจ้าของบ้านต้องปวดหัวแน่ ลองคิดดู ครัวมีปัญหาทำครัวไม่ได้ ก็หาซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทานได้ พื้นที่นอนมีปัญหา ก็โยกย้ายไปสำรองใช้จุดอื่นทดแทนกันได้ แต่ห้องน้ำ ถ้าใช้การไม่ได้ ใช้การไม่ดี มีพื้นที่ไหนในบ้านทดแทนกันได้บ้าง COTTO แนะนำ 6 จุดเช็กลิสต์ สำหรับตรวจสอบห้องน้ำด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ก่อนลงชื่อตรวจรับงานก่อสร้างหรือรับโอนห้อง ซึ่งมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ไม่ควรมองข้าม ที่ประกอบด้วย

1. กระเบื้องโดยรวม
เคาะแล้วต้องไม่มีมีเสียงก้องจากโพรงข้างใน ปูได้เรียบ ไม่ปูด ไม่กระดก ยาแนวเต็มช่อง รวมถึงตรวจสอบสเปกกระเบื้องว่าเป็นไปตามตกลงหรือไม่

กระเบื้องโดยรวมของห้องน้ำ

2. กระเบื้องปูพื้น
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าช่างเลือกใช้กระเบื้องปูพื้นสำหรับส่วนแห้งและส่วนเปียกได้ถูกต้อง ซึ่งกระเบื้องสำหรับส่วนเปียกต้องเป็นกระเบื้องที่มี ค่า R กันลื่น เพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุการลื่นล้ม หรือที่เรียกว่า Slip Resistance เป็นค่าที่ใช้ วัดคุณสมบัติการกัน ความลื่นของพื้นผิววัสดุแต่ละประเภท มีตั้งแต่ R9-R13 ตัวเลขยิ่งมาก ยิ่งกันลื่นได้มาก สำหรับห้องน้ำควรเลือกกระเบื้อง ที่มีค่า R อยู่ที่ R11 ซึ่งเป็นค่ากลาง พื้นผิวจะหยาบกว่าสองชนิดแรก เสมือนมีเม็ดทรายเล็กๆ ที่ผิว แต่ผิวหน้ายังคงราบเรียบ

กระเบื้องปูพื้น

3. กระเบื้องปูผนัง
กระเบื้องปูผนังที่ดีควรต้องทำความสะอาดได้ง่าย และลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมาจากความชื้นภายในห้องน้ำ โดยสามารถเลือกใช้กระเบื้อง Hygienic ที่ช่วยยับยั้งการเกิดแบคทีเรีย และลดการสะสมของคราบสกปรกได้ ซึ่งกระเบื้อง Hygienic ในปัจจุบัน มีหลากหลายลวดลายให้เลือกตามสไตล์ที่เราต้องการ

กระเบื้องผนัง

4. ชักโครก
กดน้ำแล้วสามารถชำระล้างได้เป็นอย่างดี ยาแนวที่ฐานเรียบร้อย ไม่มีฟองอากาศเมื่อใช้งาน หากเป็นสุขภัณฑ์อัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานด้วยรีโมท ต้องทดสอบ ระบบต่างๆ ว่าสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่มีคราบสกปรกติดค้างตามจุดต่างๆในโถสุขภัณฑ์

สุขภัณฑ์ชักโครก

5. ก๊อกน้ำ
เปิดปิดไม่ติดขัดหรือหลวม เมื่อปิดก๊อกแล้วต้องไม่มีน้ำหยดซึม หากเป็นก๊อกน้ำอัตโนมัติ ต้องตรวจสอบระบบเซนเซอร์การทำงาน โดยน้ำต้องไหลเมื่อใช้มือรองใต้ก๊อก และน้ำหยุดสนิทเมื่อนำมือออก

ก๊อกน้ำ

6. สายฉีดชำระและฝักบัว
สามารถใช้งานได้เป็นปกติ ไม่อุดตัน ไม่มีน้ำไหลตามรอยต่อ ที่แขวนแข็งแรง หัวฉีดไม่หลวม รวมถึงน้ำที่ไหลออกจากหัวฉีด และฝักบัวเป็นปกติ

สายฉีดชำระและฝักบัวอาบน้ำ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*