สะพานควายหนึ่งในทำเลย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯแต่ช้านาน มีกลุ่มทุนเข้ามาปักหมุดพัฒนาโครงการบนทำเลทั้งที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ ที่ทำให้สะพานควายแหงนี้คึกคักเป็นอย่างมาก ยังเป็นที่ศูนย์รวม และย่านบันเทิงที่คนในยุคหนึ่งต้องไปเยือน การเติบโตของทำเลมีพัฒนาการขึ้นอยู่ตลอดเวลารวมทั้งเป็นพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าสายสำคัญอย่าง BTS สายสุขุมวิท (หมอชิต-อ่อนนุช) ที่ทำให้ทำเลเติบโต จากเดิมที่ในอดีตราคาที่ดินประมาณ 40,000 – 50,000 บาทต่อตารางวา ปัจจุบันราคาที่ดินก้าวกระโดดทะลุ 100,000 บาทต่อตารางวาไปแล้ว ด้วยเพราะสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาลงจาก ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงจนเกิดย่านเชิงพาณิชย์ใหม่ ๆ ขึ้น ห้างสรรพสินค้าชื่อดังในอดีตปิดตัว โรงหนังที่เคยได้รับความนิยม ก็มีคนเข้ามาใช้บริการน้อยลง ทำให้สะพานควายในวันนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทิ้งไว้เพียงความทรงจดจำและภาพวันเก่าๆบนทำเลแห่งนี้ และในปี 2563 “THE RICE by SRISUPHARAJ (เดอะ ไรซ์ บาย ศรีศุภราช)” พร้อมสร้างตำนานบทใหม่ในรูปแบบของอาคารที่ทันสมัย พัฒนาเป็นโปรเจกต์มิกส์ยูซที่จะปลุกทำเลสะพานควายให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง พร้อมทั้งจะกลายเป็นไอคอนนิคใหม่ของทำเล

ที่ตั้งของ “THE RICE by SRISUPHARAJ (เดอะ ไรซ์ บาย ศรีศุภราช)” อยู่บนพื้นที่อาคารเก่าแก่บริเวณสี่แยกสะพานควาย ซึ่งประกอบด้วย ห้างเมอรี่คิงส์ ห้างศรีศุภราช และศรีศุภราชอาเขต มีที่ดินรวมเกือบ 4 ไร่ โดยมีเจ้าของที่ดินคือ “วิเชียร กลิ่นสุคนธ์” ประธานบริหาร บริษัท ศรีศุภราช จำกัด โดยการปรับปรุงอาคารเดิมบนที่ดินแปลงนี้ ได้มีข่าวออกมาตั้งแต่ปี 2558 ถึงการพัฒนาโปรเจกต์มิกส์ยูซ ที่เคยคาดการณ์ว่าใช้งบลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการเติบโตและการขยายของเมืองจากสถานีกลางบางซื่อที่ถือกำเนิดขึ้นและกลายเป็นศูนย์กลางคมนาคมสำคัญของประเทศไทย ก่อนที่ความชัดเจนจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2563 ที่เริ่มเห็นการเข้ารื้อถอนซากอาคารเดิมและเริ่มก่อสร้างอาคารแห่งใหม่ โดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์ไปเมื่อ 13 ตุลาคม 2563

ภาพถ่ายจาก Google Street เมื่อปี 2561
จากอาคารศรีศุภราชอาเขตสู่โครงการ The Rice by ศรีศุภราช

ก่อนหน้าจะเป็นภาพสถาปัตยกรรมของโครงการแบบที่เห็นแนวทางการพัฒนาตัวอาคารถูกเสนอการออกแบบถึง 3 แนวทางเลือก เพื่อให้สอดคล้องกับทำเล การใช้สอย และความโดดเด่นของ Tower ที่จะเกิดขึ้น โดยแบบที่ทางโครงการเลือกและพัฒนาอาคารคือแบบที่ 3 แรงบันดาลใจจากเมล็ดข้าวที่มีความเป็นไทย ตรงกับภาษาอังกฤษคือ “THE RICE”

สะท้อนถึงการเอาเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ดั้งเดิมของทำเลคงไว้ เพราะเดิมทีทำเลแห่งนี้เคยเป็น “ทุ่งศรีศุภราช” ความอุดมสมบูรณ์ของท้องทุ่งนาเต็มไปด้วยการปลูกข้าว ตั้งอยู่ทาง ทิศเหนือของ “ทุ่งพญาไท” ระหว่างคลองสามเสน กับ คลองบางซื่อ มีคลองศุภราชอยู่กึ่งกลาง คลองศุภราช ปากคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ติดกับวัดจันทร์สโมสร หรือปัจจุบันคือ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ก่อนที่จะถูกแปรสภาพเป็น “ซอยศุภราช ซอยเสนาร่วม” กับอีกหลายชื่อและเริ่มเลือนหายไป คงไว้ซึ่งชื่อ “สะพานควาย” ที่เกิดขึ้นจากการสร้างสะพานไม้ให้ควายเดินข้ามระหว่างคูส่งน้ำจากคลองบางซื่อ ขวางสามแยกจุดตัดของถนนพหลโยธินและถนนปฏิพัทธ์ จึงถูกขนานนามและเรียกกันติดปาก ณ ช่วงเวลานั้น มีบ้านเรือนหนาแน่นมากขึ้น รถโดยสาร และรถบรรทุก จำเป็นต้องผ่านถนนปฏิพัทธ์ (ชื่อปัจจุบัน ถนนประดิพัทธ์) กับถนนพหลโยธิน ไม้พาดคลองส่งน้ำจึงเปลี่ยนเป็นสะพานไม้แทนและต่อมาถูกเปลี่ยนเป็น สะพานคอนกรีตถาวร

“วิเชียร กลิ่นสุคนธ์” เจ้าของที่ดินติดแยกสะพานควาย ได้สร้างตลาดขึ้น มีความต้องการที่จะเปลี่ยนชื่อจาก “สะพานควาย” เพื่อให้ดูน่าฟังและเป็นมงคล จึงได้ปรึกษากับกับหลวงบุณยมานพ หรือ “แสงทอง” ว่าจะใช้ชื่ออะไรแทนท่านก็คิดชื่อ ที่มีความหมายเช่นเดียวกัน คือ “ยมพาหนะ” คือควายซึ่งเป็นพาหนะของพระยม “วิเชียร กลิ่นสุคนธ์” เห็นว่าชื่อนี้น่ากลัวกว่าเดิม จึงเข้าพบกับ พลเรือตรีหลวงสุวิญาน อดีต ผอ.รพ.ทหารเรือซึ่งเป็นโหรใหญ่ ท่านก็ศึกษาว่า “ทุ่งศุภราช” ซึ่งหมายถึง “ทุ่งโคศุภราช” ควรคงชื่ออันเป็นมงคลนี้ไว้โดยให้ตั้งชื่อตลาดนี้ว่า “ตลาดศรีศุภราช” หรือ “ศรีศุภราชอาเขต” (อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สะพานควาย ชื่อนี้มีที่มา เป็นอย่างไร – Retro.bkkclub.net)

จึงถูกใช้ชื่ออาคารว่า THE RICE by SRISUPHARAJ อาคารรูปแบบใหม่ที่มีความทันสมัย บริเวณแยกสะพานควาย ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS สะพานควาย 250 เมตร โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาการก่อสร้างราว 28 เดือน หรือเสร็จสิ้นประมาณ พฤศจิกายน 2564 ตามรายงาน EIA

THE RICE by SRISUPHARAJ (เดอะ ไรซ์ บาย ศรีศุภราช) อาคารสูง 26 ชั้น ประกอบด้วย

ชั้นใต้ดิน B1 : ห้องชุดเพื่อการพาณิชย์ (ร้านค้า) 2 ห้อง ห้องเก็บของ ห้องน้ำชาย-หญิง ห้องขยะประจำชั้น ที่จอดรถ โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน บันได บันไดเลื่อน ทางลาด และทางเดินรถ
ชั้นใต้ดิน B2 : ที่จอดรถ โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน บันได ทางลาด และทางเดินรถ
ชั้น 1 : ห้องชุดเพื่อการพาณิชย์ (ร้านค้า) 1 ห้อง ร้านอาหาร 4 ห้อง ห้องเก็บของ ห้องน้ำชาย-หญิง ห้องขยะประจำชั้น ที่จอดรถ ที่จอดรถจักรยานยนต์ ห้องอัดอากาศ ห้องพักขยะรวม โถลงต้อนรับ โถงลิฟต์ ลิฟต์ ลิฟต์ดับเพลิง ทางเดิน บันได บันไดเลื่อน ทางลาด และทางเดินรถ
ชั้น 1A : ที่จอดรถ ห้องอัดอากาศ โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน บันได ทางลาด และทางเดินรถ
ชั้น 1B : ที่จอดรถ ห้องไฟฟ้า ห้องน้ำชาย-หญิง โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน บันได ทางลาด และทางเดินรถ
ชั้น 2 : ห้องชุดเพื่อการพาณิชย์ (ร้านค้า) 1 ห้อง ร้านอาหาร 5 ห้อง ห้องเก็บของ ห้องน้ำชาย-หญิง ห้องขยะประจำชั้น ที่จอดรถ โถงลิฟต์ ลิฟต์ ลิฟต์ดับเพลิง ทางเดิน บันได บันไดเลื่อน ทางลาด และทางเดินรถ
ชั้น 2A : ที่จอดรถ ห้องไฟฟ้า ห้องน้ำชาย-หญิง โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน บันได ทางลาด และทางเดินรถ
ชั้น 3 : ห้องชุดเพื่อการพาณิชย์ (ร้านค้า) 1 ห้อง ที่จอดรถ ห้องไฟฟ้า ห้องน้ำชาย-หญิง โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน บันได ทางลาด ห้องเก็บของ และทางเดินรถ
ชั้น 3A : ที่จอดรถ ห้องไฟฟ้า ห้องน้ำชาย-หญิง โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน บันได ทางลาดและทางเดินรถ
ชั้น 4 : ห้องชุดเพื่อการพาณิชย์ (ร้านค้า) 2 ห้อง ที่จอดรถ ห้องไฟฟ้า ห้องอัดอากาศ ห้องน้ำชาย-หญิง โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน บันได ทางลาด ห้องเก็บของ และทางเดินรถ
ชั้น 5 : ห้องสำนักงาน 3 ห้อง ที่จอดรถ ห้องไฟฟ้า ห้องพักขยะประจำชั้น ห้องน้ำชาย-หญิง โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน บันได้ ทางลาด ห้องเก็บของ และทางเดินรถ
ชั้น 6 : ห้องสำนักงาน 3 ห้อง ที่จอดรถ ห้องไฟฟ้า ห้องพักขยะประจำชั้น ห้องน้ำชาย-หญิง โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน บันได ทางลาด ห้องเก็บของ และทางเดินรถ
ชั้น 7 : ห้องสำนักงาน 3 ห้อง ห้องพักขยะประจำชั้น ห้องน้ำชาย-หญิง ห้องช่างฝ่ายงานบริการอาคารสำนักงาน ห้องระบบไฟฟ้า ห้องเครื่องอัดอากาศ โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน และบันได
ชั้น 8 : ห้องสำนักงาน 3 ห้อง ห้องพักขยะประจำชั้น ห้องน้ำชาย-หญิง โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน และบันได
ชั้น 9 – 23 : ห้องสำนักงาน 3 ห้อง/ชั้น ห้องพักขยะประจำชั้น ห้องน้ำชาย-หญิง โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน และบันได
ชั้น 24 – 26 : ห้องสำนักงาน 2 ห้อง/ชั้น ห้องพักขยะประจำชั้น ห้องน้ำชาย-หญิง โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน และบันได
ชั้นห้องเครื่องปั๊ม : ห้องปั๊ม โถงลิฟต์ ลิฟต์ ทางเดิน ทางลาด ห้องเก็บของและทางเดินรถ
ชั้นถังเก็บน้ำ : ห้องอัดอากาศ ถังเก็บน้ำ ห้องเครื่องลิฟต์โดยสาร ห้องพัดลมระบายอากาศ ทางเดิน และบันได
ชั้นดาดฟ้า : พื้นที่หนีไฟทางอากาศ ทางเดิน และบันได

เมื่อก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์อาคาร “THE RICE by SRISUPHARAJ (เดอะ ไรซ์ บาย ศรีศุภราช)” จะเป็นอาคารสำนักงานใหม่ที่สุดในย่านสะพานควาย ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งรูปทรงอาคารเมล็ดข้าวแห่งแรกและแห่งเดียวในกรุงเทพฯจะทำให้กลายเป็น Iconic ของทำเล ซึ่งจะสร้างการเปลี่ยนแปลงภาพจำครั้งใหม่ให้เกิดขึ้น การเดินทางที่สะดวก ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า ทำให้ THE RICE by SRISUPHARAJ (เดอะ ไรซ์ บาย ศรีศุภราช) เป็นแหล่งธุรกิจและการค้าอีกหนึ่งแห่งที่น่าจับตามอง มูลค่าที่เพิ่มตามขึ้นมาของทำเลสะพานควายจะก้าวกระโดดขึ้นอีกครั้งจากความทันสมัยที่เริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลง

ภาพการก่อสร้างอาคาร THE RICE by SRISUPHARAJ
THE RICE by SRISUPHARAJ ฝั่งติดถนนพหลโยธิน
บริเวณแยกสะพานควายที่ตั้งของโครงการ THE RICE by SRISUPHARAJ
THE RICE by SRISUPHARAJ ฝั่งติดถนนประดิพัทธ์


นอกจากนี้ยังมีที่ดินอีกแปลงที่น่าจับตาอย่าง โรงหนังพหลโยธิน ที่ปัจจุบันค่อนข้างทรุดโทรม ซึ่งยังไม่มีข่าวออกมาถึงการเข้าซื้อที่ดินหรือเตรียมพัฒนาปรับปรุงแต่อย่างใด ทำเลสะพานควายที่เคยคึกคักตั้งแต่ในอดีตถูกปลุกภาพทรงจำวันวานให้หวนคืนอีกครั้งสู่การสร้างประวัติศาสตร์บทใหม่ในยุครุ่งเรืองจากเมืองที่มีความเจริญเติบโต

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*