แบงก์ชาติเผยแม้เศรษฐกิจไทยจะเร่ิมฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 แต่ยังคงเปราะบางจากหลายปัจจัยลบ โดยเฉพาะภาคครัวเรือนได้รับผลกระทบหนัก ระบุภาคอสังหาฯเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ-เกี่ยวเนื่องหลายธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 9.8 ของ GDP เชื่อหากรัฐไม่มีมาตรการกระตุ้นเพิ่ม คาดภาคธุรกิจจะไม่กลับไปเท่าระดับก่อนวิกฤติถึงปี 68 ส่วนการปลดล็อกมาตรการ LTV ชั่วคราวและกำหนดวันสิ้นสุดชัดเจน ช่วยเร่งการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคธปท.พร้อมจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อปรับเปลี่ยนมาตรการได้อย่างเท่าทันเหมาะสมกับสถานการณ์
ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ เปิดเผยภายใต้หัวข้อ ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2564-2565 และมาตรการผ่อนคลาย LTV ของ ธปท.” ว่า แม้สภาวะเศรษฐกิจไทยจะทยอยฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 แต่ยังคงเปราะบาง จากความไม่แน่นอนสูง และฐานะการเงินของบางภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบหนัก จึงต้องมีมาตรการเพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและพยุงการจ้างงานเพิ่มเติม ซึ่งในสภาวการณ์เช่นนี้ภาครัฐควรที่จะมีมาตรการออกมากระตุ้นเศรษฐกิจเช่น การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นต้น

ขณะเดียวกันภาคอสังหาริมทรัพย์ก็เป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีความสำคัญ เป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญที่มีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องเป็นจำนวนมาก อาทิ การเงิน ก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้าเฟอร์นิเจอร์ บริการให้เช่าที่อยู่อาศัย โฆษณา เป็นต้น ซึ่งหากไม่รวมภาคการเงิน ภาคอสังหาฯและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจะคิดเป็นร้อยละ 9.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) และมีการจ้างงานรวมประมาณ 2.8 ล้านคน 

ทั้งนี้แม้ว่าเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มปรับดีขึ้นต่อเนื่อง แต่หากไม่มีมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม คาดว่ากิจกรรมเศรษฐกิจในภาคอสังหาฯจะไม่กลับไปเท่ากับระดับก่อนวิกฤติจนกระทั่งปี 2568 ทั้งนี้หากจะกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐก็ควรที่จะสนับสนุนภาคธุรกิจที่มีแขนขามากที่สุด ซึ่งเห็นว่าภาคธุรกิจอสังหาฯนั้นตอบโจทย์ได้ดีที่สุด แต่ทั้งนี้การกระตุ้นภาคอสังหาฯในภาวะวิกฤติ ที่ต้องควบคู่กันทั้งมาตรการด้านการเงินและการคลัง เพื่อให้เกิด Impact สูงสุด เช่นการเพิ่มเติมเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โยการ Redistribute สภาพคล่องจากสถาบันการเงินและผู้ที่สามารถรองรับการก่อสร้างเพิ่มได้ โดยเฉพาะผู้มีรายได้ปานกลางขึ้นไปที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่มากนัก และการดำเนินการเพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และพยุงการจ้างงานในภาคอสังหาฯและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

สำหรับการที่ภาครัฐประกาศผ่อนคลายมาตรการกำกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan to Value : LTV) เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 จนถึงสิ้นปี 2565 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์” ช่วยพยุง เศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อมาถึงเกือบ 2 ปีแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินหนึ่ง ที่หลายฝ่ายหวังว่าจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจไทยที่ยังคงเปราะบางจากความไม่แน่นอนสูงและฐานะการเงินของบาง ภาคธุรกิจครัวเรือนและผลกระทบภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อุปสงค์มีความอ่อนแอ ด้วยการเร่งเพิ่มเม็ดเงินใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องจำนวนมาก โดยเฉพาะจากกลุ่มที่ยังมีฐานะการเงินเข้มแข็งหรือรองรับการก่อหนี้เพิ่มได้ โดยการกำหนดสถาบันการเงินของเอกชนและรัฐปล่อยสินเชื่อได้ด้ วย LTV ไม่เกิน 100% สำหรับสินเชื่อทุกสัญญาและทุกระดับราคา (แต่เดิม 80%-90%) 

โดยมาตรการดังกล่าวสอดคล้องกับช่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ต้องการแรงสนับสนุนและเป็นช่วงที่ความเสี่ยงจากการเก็งกำไรน่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำ และการที่มีการกำหนดเวลาสิ้นสุดอย่างชัดเจนนั้นถือว่าเป็นการเร่งการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งธปท.จะติดตามสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคอสังหาฯ สัญญาณการเก็งกำไรในตลาดอสังหาฯ มาตรฐานการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน และความสามารถของประชาชนในการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยได้ในราคาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนมาตรการได้อย่างเท่าทันและเหมาะสมกับสถานการณ์

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*