เอสซีจีชี้สงครามยูเครน-รัสเซีย ดันต้นทุนราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้น กระทบธุรกิจเคมีภัณฑ์ กลุ่มซิเมนต์และวัสดุก่อสร้าง กลุ่มบรรจุภัณฑ์และกระดาษ เตรียมปรับราคาสินค้าเพิ่มตามตามกลไกตลาดและต้นทุนที่ปรับขึ้นไปมาก มั่นใจปัญหาการสู้รบกันของทั้งสองประเทศไม่ยืดเยื้อ เตรียมมาตรการรับมือไว้พร้อมเพราะมีประสบการณ์ตรงจากผลกระทบของโควิด-19

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี เปิดเผยว่า สถานการณ์การสู้รบกันระหว่างประเทศรัสเซียกับยูเครน มีผลกระทบต่อต้นทุนราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศรัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซรายใหญ่ของโลก โดยเป็นผู้ส่งออกน้ำมันอันดับ 2ของโลก และเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน 1ใน 4 ของความต้องการน้ำมันในกลุ่มประเทศอียู นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยสินค้าทั้งในยุโรป อเมริกา และในประเทศแถบเอเซีย เพราะจะเกิดปัญหาสินค้าขาดแคลน ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น

โดยในส่วนของธุรกิจเอสซีจีได้รับผลกระทบจากต้นทุนราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด คือ กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ซึ่งทำยอดขายได้กว่า 50% ของพอร์ตยอดขายรวมทั้งกลุ่มเอสซีจีและทำกำไรได้ประมาณ 60% ของกำไรทั้งหมด รองลงมาเป็นกลุ่มซิเมนต์และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งมีต้นทุนด้านพลังงานประมาณ 20% และกลุ่มบรรจุภัณฑ์และกระดาษ ซึ่งมีต้นด้านพลังงานอยู่แค่ 5%ของต้นทุนพลังงานโดยรวม  โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ซึ่งต้องใช้น้ำมันนาฟต้าเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ขณะที่ยอดขายสินค้าในเครือเอสซีจีที่ส่งไปจำหน่ายในประเทศยูเครนและรัสเซียมีน้อยมาก คิดเป็นยอดขายแค่ 1-2%เท่านั้นของพอร์ตยอดขายรวมต่อปี

ดังนั้นราคาสินค้าบางผลิตภัณฑ์ของเอสซีจีอาจจะต้องปรับขึ้นตามกลไกตลาดและต้นทุนที่ปรับขึ้นไปมาก ซึ่งจะส่งผลต่อกำไรสุทธิของบริษัทที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่นเดียวกับยอดขายปีนี้ที่เอสซีจีได้ตั้งเป้าการเติบโตไว้ที่ 10% เมื่อเทียบกับปี 2564 อาจจะปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ตามเชื่อมั่นว่าปัญหาการสู้รบกันระหว่างยูเครนกับรัสเซียไม่น่าจะยืดเยื้อนานและมีความรุนแรงไม่มาก เพราะมีหลายฝ่ายได้พยายายเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในตอนนี้ เมื่อเทียบกับปัญหาที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยืดเยื้อมากว่า2ปีและส่งผลกระทบไปทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันหลายภาคธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว เช่น ภาคธุรกิจท่องเที่ยว

“หลายธุรกิจยังไม่ฟื้นตัวดีจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน และยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ ดังนั้นหลายธุรกิจมีสภาพเหมือนคนยังไม่หายป่วยและต้องออกมาเจอกับโรคใหม่ที่เกิดขึ้นในปีนี้ ทำให้มีความรุนแรงมากขึ้นเหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด”


นายรุ่งโรจน์กล่าวว่า ในส่วนของเอสซีจีได้เรียนรู้วิธีการรับมือจากวิกฤติโควิด-19 มาแล้ว ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ได้ โดยแผนธุรกิจระยะสั้น จะเน้นการบริหารจัดการความเสี่ยง  ทั้งต้นทุนพลังงานหรือการดูแลซัพพลายเชน (Supply Chain) รวมถึงการควบคุมต้นทุนทางการเงิน เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจสามารถเดินไปได้

นอกจากนี้จะต้องประเมินสถานการณ์เฉพาะหน้าว่าอะไรคือเรื่องสำคัญ อาทิ โครงการเคมิคอลที่บริษัทลงทุนในเวียดนามยังต้องดำเนินการต่อให้ครบ 100% รวมถึงการเดินหน้าทำธุรกิจในตลาเอเชียซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของบริษัท ตลอดจนการปรับกระบวนการผลิต การบริหารจัดการโครงการก่อสร้างต่างๆ ให้สอดรับกับเป้าหมาย Net Zero – Go Green – Lean โดยจะเพิ่่มสัดส่วนพลังงานทางเลือก วิจัยและลงทุุนในเทคโนโลยีขั้้นสููง (Deep Technology) อย่างต่อเนื่่อง รวมทั้้งพัฒนาธุุรกิจคาร์์บอนต่ำ เพื่่อให้บรรลุุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*