ชัชชาติ สิทธิพันธ์เป็นประธานพิธีเปิดงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 43” เผยการจัดงานสอดรับนโยบายตามแผนยุทธศาสตร์กทม.ผนึกภาคเอกเชนหน่วยงานเกี่ยวข้อง นำอาคารเก่าและร้าง หนุนคนมีที่อยู่อาศัยกลุ่ม First Jobber เช่าราคา 3,000-4,000 บาท/เดือน ระยะเวลา 5 ปี ทั้งเพิ่มแหล่งงานชานเมือง เร่งตัดถนนย่อยตามผังเมือง เพิ่มความคล่องตัวการจราจร ด้านประธานจัดงานมหกรรมฯคาดมียอดขายในงาน-หลังงาน รวมกว่า 10,000 ล้านบาท
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.)ในฐานะประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 43”ซึ่งจัดโดยสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอาคารชุดไทย ระหว่างวันที่ 23-26 มีนาคม 2566 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เปิดเผยว่า ที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสี่ของทุกคน เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมครอบครัว พื้นฐานหลักที่สำคัญของสังคมไทย หากครอบครัวมีที่อยู่อาศัย ชีวิตของสมาชิกครอบครัวก็จะมั่นคงคุณภาพชีวิตก็จะดีด้วย แต่การจะทำให้ทุกครอบครัวมีที่อยู่อาศัย ต้องมีความร่วมมือกันจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน นอกจากนี้กรุงเทพมหานครได้กำหนดนโยบายด้านที่อยู่อาศัยและนโยบายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเป็นเจ้าของหรือมีที่อยู่อาศัยให้กับคนกรุงเทพฯในแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้มีรายได้น้อย กลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มต้น กลุ่ม First Jobber และกลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่งนโยบายสำคัญนี้สอดคล้องกับความวัตถุประสงค์ของการจัดงานมหกรรมบ้านและคอนโด คือ กรุงเทพมหานครต้องการเพิ่มโอกาสการมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง และหลากหลายรูปแบบให้กับคนกรุงเทพฯ ผ่านแผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัย โดยจะทำการศึกษาถึงความต้องการของคนแต่ละกลุ่มว่าต้องการที่อยู่อาศัยรูปแบบใดโดยประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัย เช่นสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน การเคหะแห่งชาติ ในการพัฒนาที่อยู่อาศัย และจะทำการติดตามผลให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ โดยในส่วนกรุงเทพมหานครเอง ก็จะดำเนินการกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร .. 2541 เพื่อเพิ่มโอกาสพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มั่นคงให้กับคนกรุงเทพฯอีกด้วย
นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครยังให้การสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยชั่วคราว สำหรับนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ หรือกลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มต้น และก้าวเข้ามาสู่การเป็น First Jobber เพื่อให้เช่าในราคาต่ำ 3,000-4,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้สามารถตั้งตัวและเก็บเงินก้อนแรกได้ โดยจะใช้พื้นที่สำนักงานกรุงเทพมหานคร ที่กระจายตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน หลังจากที่ย้ายพนักงานส่วนใหญ่มาทำงานร่วมกันที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 พร้อมทั้งปรับปรุงอาคารสงเคราะห์ข้าราชการ และลูกจ้างประจำกรุงเทพฯ ให้มีความหนาแน่นมากขึ้น พร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ส่วนกลางคุณภาพ กรุงเทพมหานครยังจะจัดทำฐานข้อมูลที่ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน ร่วมกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชน หรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นำอาคารเก่า หรือร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ไปพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อคนวัยเริ่มทำงานได้เช่า เช่น ที่ดินสำนักงานตลาดกทม.บริเวณประชานิเวศน 1 ก็เป็นหนึ่งในพื้นที่น่าสนใจ รวมถึงซึ่งจะเป็นคนละรูปแบบและคนละตลาดกับผู้ประกอบการเอกชน โดยที่กรุงเทพมหานครจะออกมาตรการส่งเสริมด้านภาษี มาตรการส่งเสริมการพัฒนาด้วยการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน เพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาที่อยู่อาศัย รวมทั้งจะช่วยประชาสัมพันธ์ ทำการรวบรวมยูนิตที่อยู่อาศัยชั่วคราวในทำเลต่างๆและช่วยเหลือในการค้นหาและประสานงานการจัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราวให้กับกลุ่มเป้าหมาย

ส่วนนโยบายสนับสนุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้านอื่นๆ ก็ประกอบด้วยนโยบายสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ชานเมือง  เพื่อเพิ่มแหล่งงานในย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง และเร่งตัดถนนสายย่อยเชื่อมการเดินทาง ลดการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ชั้นใน พร้อมทั้งเร่งตัดถนนย่อยตามผังเมืองเพิ่มความคล่องตัวของการจราจรและโอกาสในการมีรถเมล์สายรอง นอกจากนี้ ยังมีนโยบายเพิ่มรถเมล์สายหลักและสายรองราคาถูกตลอดสาย นโยบายสร้างจุดเชื่อมต่อการเดินทาง เพื่อการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สะดวกสบายขึ้น นโยบายเพิ่มสถานีชาร์จและสลับแบตเตอรี เพื่อรองรับผู้ใช้รถไฟฟ้าที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหมดเป็นเพียงแค่บางส่วนของนโยบายด้านที่อยู่อาศัย และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ทางกรุงเทพมหานครมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดขึ้นจริง และเกิดขึ้นให้เร็วที่สุด เพื่อช่วยให้คนกรุงเทพฯ สามารถมีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพเป็นของตัวเองให้ได้มากที่สุด

ที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องสำคัญมากของการพัฒนาเมือง ซึ่งคนที่อยู่ในเมืองก็ต้องมีที่อยู่อาศัย ไม่ว่ากลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มคนเริ่มทำงาน และกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่ทำโดยภาคเอกชน ต่อไปภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน โดยภาครัฐต้องกำหนดกฎระเบียบต่างๆให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้ประกอบการและชุมชนโดยรอบกระบวนการต่างๆต้องโปร่งใส เช่น กระบวนการการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ต้องชัดเจน ขณะที่ผังเมืองรวมต้องปรับให้ทันสมัยและตอบโจทย์ของเมืองจริง  ปัจจุบันกทม.อยู่ระหว่างปรับปรุงร่างใหม่ จะเสร็จปลายปี 2567” ดร.ชัชชาติ กล่าว

สำหรับการผลักดันจะใช้กลไกผังเมืองกำหนดการพัฒนา เช่น เพิ่มโบนัส FAR  หรือ อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน เพื่อจูงใจเอกชนเข้ามาร่วมการพัฒนามากขึ้น รวมถึงอาจจะได้สิทธิประโยชน์จากบีโอไอเพิ่ม จะต้องหารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)ให้ตกผลึกต่อไป แต่เรื่องดังกล่าวก็ไม่ได้ง่าย เพราะต้องดำเนินการให้ต้นทุนถูก ถึงจะทำให้คนเช่าได้ในราคาที่ถูกด้วย ซึ่งกทม.ไม่มีที่ดินของตัวเอง อาจจะต้องหาที่ดินจากหน่วยงานอื่น เช่น ที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ที่ดินการรถไฟแห่งประเทศ หรือการเคหะแห่งชาติ(กคช.) มีที่ดินย่านร่มเกล้ากว่า 600 ไร่ จะพัฒนาเป็นเมืองใหม่จะออกเป็นผังเมืองเฉพาะขึ้นมา ส่วนเอกชนมีการหารือกันอยู่ เพราะเอกชนลงทุน รัฐดูกฎระเบียบ ต้องสร้างแรงกระตุ้นให้มีที่อยู่อาศัยมีคุณภาพและไม่ไกลจากที่ทำงาน รถไฟฟ้าก็ช่วยได้ระดับหนึ่ง เพราะระบบ Feederยังไม่ครบถ้วน

นพ.วิเชียร แพทยานันท์
ด้าน นพ.วิเชียร แพทยานันท์ ประธานคณะกรรมการจัดงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 43 กล่าวว่า งานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 43 นี้ จะมีบูธจากผู้ประกอบการมากกว่า 100 บริษัท รวมโครงการอสังหาฯ ทุกรูปแบบ ทุกราคา ทุกทำเล มานำเสนอแก่ผู้บริโภคมากกว่า1,000 โครงการ ซึ่งหากคิดมูลค่าของโครงการทั้งหมดภายในงานแล้วจะมากถึง 3 แสนล้านบาท โดยที่ 3 สมาคม คาดว่าจะมีสัญญาจะซื้อจะขายเกิดขึ้นภายในงานครั้งนี้ ราว 1,500 สัญญาคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 6,000 ล้านบาท และยังมีแรงกระตุ้นต่อเนื่องให้เกิดการซื้อขายตามมาอีก3 เดือน เป็นมูลค่ารวมประมาณ 9,000 ล้านบาท หรือ 1.5 เท่า เมื่อเทียบกับยอดภายในงานและหลังงาน จะทำให้ยอดขายในงานมหกรรมบ้านและคอนโดครั้งนี้ รวมกว่า 10,000 ล้านบาท

ด้วยความต่อเนื่องของการจัดงานที่ได้มาตรฐาน มีโครงการที่อยู่อาศัยจากหลากหลายรูปแบบมารวมกันในที่เดียว มียอดจองซื้อขายทั้งภายในงานและต่อเนื่องหลังงานถึงหลักหมื่นล้านบาททำให้งานมหกรรมบ้านและคอนโด เป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดการเติบโตของวงการอสังหาริมทรัพย์และของเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์การจัดงานไม่เคยเปลี่ยนแปลง สามสมาคมยังคงมุ่งมั่นที่จะจัดงานนี้ขึ้นเพื่อเป็นเวทีช่วยให้คนไทยได้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการมีที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นทั้งหนึ่งในปัจจัยสี่ของชีวิตคน และเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมนพ.วิเชียร กล่าว

นพ.วิเชียร กล่าวต่อว่า ยิ่งปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้การมีบ้านเป็นของตัวเองไม่ใช่เรื่องง่าย ทางคณะกรรมการจัดงานจึงได้กำหนดแนวคิดการจัดงาน ที่ว่าเรื่องเป็นอยู่ เป็นเรื่องง่ายหรือ “Up Life by Live” เพื่อสื่อถึงความพยายามของสามสมาคมที่ต้องการช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบ้านได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มกลไกทางการตลาดเข้าไปในงานฯ ที่ทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านมีความหวังขึ้นอีกครั้งกับการยื่นกู้สินเชื่อให้ผ่าน โดยพยายามดึงพันธมิตรที่เป็นสถาบันการเงินเข้ามาร่วมให้คำปรึกษาด้านสินเชื่อกับคนที่มางานครั้งนี้

ความพยายามที่จะทำให้งานมหกรรมบ้านและคอนโดครั้งนี้ เป็นทั้งงานแสดงสินค้าอสังหาฯ ที่ใหญ่ที่สุด และยังเป็นงานรวมที่ปรึกษาด้านการเงินจากหลากหลายธนาคาร เพื่อช่วยผู้ที่กำลังจะซื้อบ้านให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้อย่างง่ายดาย โดยงานนี้จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางให้ผู้ซื้อ ผู้ประกอบการ และธนาคารได้มาเจอกัน ภายในพื้นที่ที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ ที่ชื่อว่า Financial Advisory Zone ซึ่งผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อบ้านที่ถูกใจ และยื่นขอสินเชื่อได้เลยทันทีที่โซนนี้ โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารก็จะทำการตรวจสอบเอกสารและประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อ พร้อมกับหาโซลูชั่นที่ดีที่สุดให้กับผู้ซื้อได้ในทันทีนพ.วิเชียร กล่าว

โดยบริการ Financial Advisory นี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการยื่นกู้ผ่านให้กับคนที่อยากมีบ้านช่วยผู้ประกอบการได้ขายสินค้าที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ และช่วยธนาคารคัดกรองกลุ่มลูกค้าคุณภาพสามารถประเมินความสามารถผ่อนชำระของผู้กู้ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยลดอัตราการเกิดNPL เรียกว่า Win กันทุกฝ่าย โดยในส่วนของโปรโมชั่นสำหรับผู้จองซื้อที่อยู่อาศัยภายในงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 43 จะได้สิทธิ์ลุ้นรับโทรทัศน์ Panasonic รุ่น TH-65 LX650T เครื่องละ 23,990 บาท และรุ่น TH-55 LX650T เครื่องละ 17,490 บาท รวมมูลค่าของรางวัลเกือบ 300,000 บาท

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*