สมาคมสถาปนิกสยามฯ ร่วมกับ ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จัดงานสถาปนิก’66 งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมและผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 35 ดึงผู้ประกอบการไทย-ต่างประเทศ ร่วมงานกว่า 800 บริษัท โชว์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างนวัตกรรมสุดล้ำ ภายใต้แนวคิดตำถาด : Time of Togetherness” พร้อมผสมผสานรสชาติจากสถาปนิกทุกแขนงในการรวมตัวกันครั้งแรกของ 5 องค์กรวิชาชีพกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่25-30 เม..66 ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ตั้งเป้ามีผู้เข้าร่วมงานกว่า 3.25 แสนคน กระตุ้นตลาดวัสดุก่อสร้าง โต 2.2 หมื่นล้านบาท ย้ำเทรนด์ SDGs ความยั่งยืนมาแรงพร้อมเสวนาหัวข้อ Cultural Sustainability เพื่อสร้างคุณค่าสถาปัตยกรรมไทย
นางสาวปุยฝ้าย คุณาวัฒน์
นางสาวปุยฝ้าย คุณาวัฒน์ ประธานจัดงานสถาปนิก’66 เปิดเผยว่า ล่าสุดได้เตรียมจัดงานงานสถาปนิก’66 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-30 เมษายน 2566 ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด ตำถาด : Time of Togetherness” เพื่อแสดงแนวความคิดของการผสมผสานกันของวิชาชีพสถาปนิกทุกแขนง รวมถึงเพื่อนๆ ต่างสาขาอาชีพที่ทำงานร่วมกัน และนับเป็นครั้งแรกที่เป็นการรวมตัวกันของ 5 องค์กรวิชาชีพ ได้แก่ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย, สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย, สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย และสภาสถาปนิก ซึ่งการรวมกันครั้งสำคัญของวิชาชีพทั้ง 4 ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะต่อการออกแบบสิ่งแวดล้อม เพื่อภารกิจสำคัญในการสร้างสังคมและโลกที่ยั่งยืนกว่าเดิม เปรียบเสมือนตำที่เลือกเครื่องปรุง วัตถุดิบ คลุกเคล้าให้รสชาติถูกปากผู้บริโภค ที่ครั้งนี้ผู้บริโภคคือโลกและสังคมที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ท่ามกลางความท้าทายมากมายของยุคสมัย

สำหรับไฮไลท์ภายในงานครั้งนี้คือ “Human Libraryหรือห้องสมุดมนุษย์ ที่รับรู้เรื่องราวในหนังสือผ่านการฟังและพูดคุยกับนักเขียนตัวจริง พบกับเหล่าหนังสือมนุษย์หลากหลายหมวดหมู่ ที่จะมาถ่ายทอดเรื่องราวจากชีวิตจริง ประสบการณ์จริง อาทิ อมตะ หลูไพบูลย์, บูม ธริศร, จูน เซคิโน, ป๋าเต็ดยุทธนา บุญอ้อม และอีกมากมายตลอด 6 วัน

และ “All Member : Design Showcaseนิทรรศการที่จัดแสดงผลงานการออกแบบของเหล่าสถาปนิกและนักออกแบบ ของทั้ง 4 สมาคมวิชาชีพทางด้านสถาปัตยกรรม ประกอบด้วยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์,สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย,สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย และสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย

นายเมษา นพคุณ
ด้านนายเมษา นพคุณ กรรมการ (วิชาชีพ) ตัวแทนจากสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ได้นำพื้นที่จัดแสดง “TIDA Salone” Designer Showcase ที่เคยจัดขึ้นภายในงานสถาปนิกเมื่อหลายปีก่อนกลับมาจัดอีกครั้ง โดยเป็นการจับมือระหว่างดีไซเนอร์กับซัพพลายเออร์วัสดุ และผู้รับเหมา ออกแบบห้องต่างๆ ขึ้นมา โดยครั้งนี้จะเป็นการ Collaboration กันระหว่าง Designer ชั้นนำ / BCG Hero Product / Sustainable Material และ Contractor

อีกทั้งยังมีการมอบรางวัล TIDA Thesis Awards ประกวดผลงานธีสิสของนิสิตนักศึกษา และแสดงผลงาน TIDA Awards สำหรับมืออาชีพอีกด้วย สำหรับคนทั่วไป TIDA ได้เตรียมกิจกรรม TIDA Talk ให้ผู้ที่สนใจได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานการออกแบบภายใน เรื่องมุมมองหรือวิธีดำเนินการที่น่าสนใจ ในโซน TIDA SOCIETY และยังมีสัมมนาทางวิชาการสำหรับนักออกแบบในทุกประเภทงานอีกด้วย นอกจากนี้ทาง TIDA ยังได้จัดเตรียมพื้นที่พักผ่อนและอาหารว่างไว้บริการ พร้อมโซนจำหน่ายของที่ระลึกสำหรับผู้ที่สนใจ

นายมังกร ชัยเจริญไมตรี
นายมังกร ชัยเจริญไมตรี ประธานร่วม จากสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย กล่าวว่า ภูมิสถาปัตยกรรมเป็นสาขาวิชาของสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ทำงานกับพื้นที่ภายนอกอาคาร นอกเหนือจากการจัดพื้นที่ธรรมชาติรอบๆ อาคารแล้ว ยังมีมิติอื่นที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของทุกคน ภายในพื้นที่จัดแสดงของ TALA เป็นการโชว์เคสที่สำคัญทางด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรมของเมืองไทยและภูมิภาค ซึ่งจะทำให้เห็นภาพและเข้าใจงานภูมิสถาปนิกมากยิ่งขึ้น โดยได้เตรียมพื้นที่ “TALA CLASSROOMให้นั่งคุย นั่งเล่น นั่งฟัง ในรูปแบบอารีน่า ที่นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับภูมิสถาปนิก เช่น Chef อาหารกับภูมิสถาปนิก, Certified Arborist, ความรู้พื้นฐานและความสำคัญของดินกับงานภูมิทัศน์ โดยจัดในรูปแบบอารีน่าที่คนนั่งอยู่รอบๆ เพื่อให้มีความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เป็นทางการมากนัก นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสนุกๆ เช่นการสนทนาเกษตรกรกับภูมิสถาปนิก, การถ่ายภาพในงานภูมิทัศน์จาก Professional Photographer สำหรับคนทั่วไปที่สนใจอีกด้ว
ผศ.คมกริช ธนะเพทย์

ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ ประธานร่วม จากสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย กล่าวว่า พื้นที่การจัดแสดงของ TUDA จะเน้นเรื่องของการพัฒนาเมือง ทั้งในด้านปัญหาและโอกาสในการแก้ไขพัฒนาให้มีความชัดเจนขึ้น เช่น ปัญหาน้ำ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงเรื่องโอกาสการพัฒนาในด้านต่างๆ โดยได้แบ่งพื้นที่เป็น 5 โซน ได้แก่

1.TUDA ZEB (แซบ) ที่รวบรวมผลงานวิทยานิพนธ์และผลงานออกแบบ รวมถึงการศึกษาวิจัยจากสถาบันการศึกษา

2.TUDA x Muang (เมือง) จัดแสดงผลงานแบบเมืองที่ TUDA ร่วมเป็นเจ้าภาพ เช่น การประกวดเมืองพัทยา

3.TUDA X Mhu (หมู่) หรือ TUDA and Friends จัดแสดงผลงานของบริษัทที่มีความโดดเด่นด้านการออกแบบและพัฒนาเมือง

4.TUDA Khak (คัก) จัดแสดงผลงานการออกแบบเมืองของสมาชิก TUDA

5.TUDA Muan (ม่วน) พื้นที่พักผ่อน พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

นางกรกช คุณาลังการ
นางกรกช คุณาลังการ ประธานร่วม จากสภาสถาปนิก กล่าวว่า สภาฯ ในฐานะถาดที่รวมทุกสาขาเอาไว้ งานสถาปนิกปีนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนของการทำงานตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ในงานอีกด้วย มุ่งเน้นการทำงานประสานกันเป็นหนึ่งเดียว สำหรับกิจกรรมที่สภาสถาปนิกเตรียมไว้คือASA ACT Forum’23 หรืองานประชุมสัมมนานานาชาติทางสถาปัตยกรรม ในปีนี้พิเศษอย่างยิ่งที่เชิญเหล่านักออกแบบครอบคลุมทั้ง 4 สาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรม ทั้งสถาปนิก มัณฑนากรภูมิสถาปนิก นักออกแบบผังเมือง ที่มีชื่อเสียงระดับโลกทั้งในและต่างประเทศ มาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้านการออกแบบ เพื่อสร้างมุมมองแนวคิดและแนวทางการทำงานร่วมกันกับวิชาชีพอื่นๆ อาทิ         Wong Mun Summ จาก WOHA (Singapore), Damian Thompson จาก LatStudios (Australia), Jakob Dunkl จาก querkraft architects (Austria) เป็นต้น
นายศุภแมน มรรคา

ด้านนายศุภแมน มรรคา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะออแกไนเซอร์จัดงานสถาปนิก’66 กล่าวว่า งานสถาปนิก’66 ถือได้ว่าเป็นการกลับมาจัดงานอย่างเต็มรูปแบบเหมือนก่อนช่วงโควิด-19 บนพื้นที่ 75,000 ตารางเมตร โดยได้รวบรวมนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการด้านการออกแบบและก่อสร้างครบวงจร จากภายในประเทศและต่างประเทศไว้กว่า 800 บริษัท  โดยมีสัดส่วนผู้แสดงสินค้าจากต่างประเทศมากกว่าการจัดงานปีที่ผ่านมาถึง 7 เท่า หรือคิดเป็น 21.33% (ปี 2565 มีผู้ร่วมออกงานทั้งสิ้น 500 ราย) อาทิ ออสเตรเลีย จีน ฟินแลนด์ ฮ่องกง อินเดีย อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนามอินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่างานสถาปนิกเป็นเวทีจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการก่อสร้างที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

โดยตลอดระยะเวลาการจัดงานทั้ง 6 วันคาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานประมาณ 325,000 ราย และสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มวัสดุก่อสร้างได้กว่า 22,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น10% จากปีก่อน ซึ่งปัจจัยที่สำคัญคือสถานการณ์โควิด-19 มีทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้มีผู้แสดงสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาร่วมงานมากยิ่งขึ้น

อีกทั้งทางผู้จัดงานยังมีการทำความร่วมมือกับผู้จัดงานแสดงสินค้าด้านสถาปัตยกรรมและวัสดุก่อสร้างในภูมิภาคเอเชียอย่างประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไต้หวัน ซึ่งเป็นโอกาสที่จะได้ประชาสัมพันธ์งานไปยังกลุ่มพันธมิตรที่อยู่ต่างประเทศ นอกจากนี้ไฮไลท์และกิจกรรมในส่วนพื้นที่จัดแสดงสินค้าในงานครั้งนี้ถือว่าโดดเด่นไม่แพ้งานปีที่ผ่านมา อาทิ

Thematic Pavilion พื้นที่จัดแสดงรูปแบบพิเศษที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างนักออกแบบและซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้าง เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำได้มากกว่าที่คิด โดยปีนี้มีทั้งหมด 4 พื้นที่ ได้แก่

    1.VG และ TOA ทำงานร่วมกับนักออกแบบจาก Hypothesis ครั้งแรกของสองแบรนด์ซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้างอย่าง VG เจ้าของรางน้ำฝนและหลังคาไวนิลคุณภาพสูง และผู้นำด้านนวัตกรรมสีทาบ้านภายใต้แบรนด์ TOA ที่จับมือสถาปนิกจาก Hypothesis ที่เนรมิตพื้นที่ให้มีความสมมาตร ตรงกลางมี การติดตั้งพีระมิดกระจกรูปแบบน้ำผุด  บูธตำแหน่งนี้สามารถเดินเข้ามาได้จากทุกทิศทาง มองภายในเห็นความต่างของวัสดุที่แขวนติดตั้งชัดเจนจากแต่ละแบรนด์ แต่มองภายนอกภาพรวมดูกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน

     2.WOODDEN ทำงานร่วมกับ PAVA architects สัจจะวัสดุจากธรรมชาติ ที่น่าหลงใหลและมีอัตลักษณ์อย่างไม้ โดยเฉพาะไม้สักซึ่งเป็นวัสดุที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้มีโอกาสสัมผัส ครั้งนี้นำมาบอกเล่าเรื่องราวด้วยการสร้างสรรค์ผ่านมุมมองสถาปนิกให้ได้สัมผัสกันอย่างใกล้ชิดโดย Pavilion แห่งนี้สร้างในรูปแบบ enclosed space ที่เมื่อก้าวเข้ามาคุณจะได้สัมผัสความสงบจากป่าไม้สักคอนทราสต์กับบรรยากาศภายนอก ด้านในพบกับวงจรชีวิตของไม้สักในมุมที่ไม่เคยสัมผัส จากต้นน้ำที่ยังไม่ผ่านกระบวนการผลิต ไปสู่ปลายน้ำอีกฝั่งในพื้นที่แสดงสินค้าที่โชว์ปลายทางของไม้ที่ผ่านกระบวนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ

     3.EMPOWER STEEL ทำงานร่วมกับ ACa Architects การสร้างสรรค์งานเหล็กให้พลิ้วไหวในอีกรูปแบบจาก Context Studio โดยการนำวัสดุอย่างท่อและโซ่ ที่ผลิตจากเหล็กทั้งคู่ มาออกแบบเคลือบสี ทำให้ตัวงานออกมากลมกลืนและน่าสนใจ ผนวกกับการนำวัสดุมาสร้างรูปลักษณ์ใหม่ในพื้นที่จำกัดให้ตื่นตาตื่นใจ ด้วยวิธีการปรับองศาการติดตั้งท่อเหล็ก เปลี่ยนเส้นตรงให้อยู่ในทรงเกลียว (spiral) สอดประสานกันเพื่อให้ความรู้สึกที่พลิ้วไหวแต่ยังได้ฟังก์ชันที่สอดรับกันเพื่อสร้างความแข็งแรง

      4.THAIKOON STEEL และ THAI PREMIUM PIPE เปลี่ยนภาพจากเหล็กที่มีความแข็งแกร่งดุดันเป็นการต่อยอดจินตนาการ ปีนี้ ACa Architects ถอดรหัสเหล็กที่แข็งแรงสู่โมเลกุลในยูนิตที่เล็กลงทรงเรขาคณิต เพื่อสื่อความเป็นธาตุโลหะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่มีความพลิ้วไหว งานสร้างสรรค์ Thematic Pavilion จึงมาในรูปแบบงานละเอียด โดยใช้เหล็กจาก EMPOWER STEEL ที่มีนวัตกรรมทำสีและพิมพ์ลวดลายมาตัดเป็นชิ้นนับหมื่นแผ่น บากร่องเพื่อต่อขึ้นเป็นโครงสร้าง (Modular Structure)

ซึ่งทั้ง 4 บูธนี้จะยกระดับการจัดงานในมิติของการสร้างสรรค์และงานดีไซน์ให้ทัดเทียมกับงานในต่างประเทศ

นอกจาก Thematic Pavilion แล้ว อีกหนึ่งไฮไลท์คือทัพนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ปีนี้ผู้แสดงสินค้าทั้งในไทยและต่างประเทศ ได้เตรียมมาอวดโฉมภายในงานอย่างคับคั่ง สำหรับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ อาทิ

KANNA ซอฟแวร์จัดการงานก่อสร้าง โดย Aldagram Inc. จากประเทศญี่ปุ่น

INTEGRATED CEILING เทคโนโลยีฝ้าเพดานจากเทศมณฑลไห่เยี่ยน ตัวแทนภาครัฐจากประเทศจีน

GLUELAM BEAM นวัตกรรมโครงสร้างไม้ทำจากต้นสนในสาธารณรัฐคาเรเลีย ประเทศรัสเซีย                                          

Anaika Wood Group Ltd.จากประเทศฟินแลนด์

MARBLE TILES กระเบื้องลายหินอ่อน เทคโนโลยีที่มีความทนทานต่อการขีดข่วนมากกกว่าปกติ 3 เท่า  Foshan Deer Marble Tile Co., Ltd. จากประเทศจีน

งานเปิดตัวนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากผู้แสดงสินค้าครั้งแรกภายในงาน อาทิ TOA AQUA SHIELD 2IN1 MULTI SURFACE นวัตกรรมสีเคลือบรวมรองพื้น สูตรน้ำ มีสาร VOCs ต่ำปลอดภัยกว่าสีน้ำมันทั่วไปถึง 9 เท่า จาก TOA, ผนังห้องน้ำไร้ร่องยาแนวจาก GREENLAM, FLOOR PATCHING MORTAR นวัตกรรมการซ่อมพื้นคอนกรีตบางที่เป็นมิตรกับธรรมชาติจาก JORAKAY, MW001G เตาไมโครเวฟแบบพกพาจาก MAKITA, GRANTS SERIES ประตูบานเลื่อนเข้ามุมจาก TOSTEM, AELIFTER & SOLAR CELL ชุดเติมอากาศอัจฉริยะจาก DOS

BIMobject Live Thailand 2023 งานสัมมนาอัปเดตเทรนด์ด้าน Digital Construction ที่จะนำวงการก่อสร้างมุ่งสู่ Net Zero ด้วยเครื่องมือสุดล้ำจาก BIM และ AI พร้อมร่วมเจาะลึกกระบวนการออกเเบบและก่อสร้างสินธร วิลเลจโครงการต้นแบบ Mixed Use ของประเทศไทยที่มีสถาปัตยกรรมล้ำสมัย ดำเนินโครงการภายใต้หลักเศรษฐกิจ สังคมเเละสิ่งเเวดล้อม จาก A49, Thai Obayashi และ Siam Sindhorn ในวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2566 เวลา13.00-17.15 . บริเวณเวทีกลาง INNO-CORNER

งานสถาปนิก x Lazada ครั้งแรกกับความร่วมมือแพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของไทยอย่าง Lazada เพื่อมอบข้อเสนอสุดพิเศษให้แก่ผู้แสดงสินค้าภายในงานในการเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้า พร้อมยกระดับและเชื่อมต่อผู้ประกอบการสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ควบคู่กับการจัดแสดงสินค้าภายในงาน

ทั้งนี้ภายในงานแถลงข่าวจะมีการเสวนาในหัวข้อ Cultural Sustainability การสร้างความยั่งยืนทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงงานสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของผลงาน ผ่านมุมมองของทั้ง 5 องค์กรวิชาชีพ ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนางานสถาปัตยกรรมไทยให้ก้าวไปอีกระดับด้วย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*