การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ร่วมรณรงค์ลดโลกร้อน จับมือสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย ใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกทุกไซต์ก่อสร้างเครือข่ายระบบทางพิเศษ นำร่อง 2 โครงการทางพิเศษ ทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา ระยะยทาง 16.21กิโลเมตร และระบบทางด่วนขั้นที่ 3สายเหนือ ระยะที่ 1ระยะยทาง  11.3 กิโลเมตร หวังช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ได้ 34,104 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กล่าวว่า ในฐานะที่กทพ. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม มีความตระหนักและให้ความสำคัญต่อปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับความปลอดภัยของผู้ใช้ทางพิเศษ ด้วยมาตรฐานระบบจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 พร้อมนำแนวทาง Environment-Social-Governance (ESG) รวมถึงการลงทุนสีเขียว (Green Investment) การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement)  มาใช้ในกระบวนการทำงาน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานต่อสู้ปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ  ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายระบบคมนาคมสีเขียว ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579 ของกระทรวงคมนาคม

ดังนั้น กทพ.จึงได้ร่วมมือลงนามบันทึกความเข้าใจกับสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทยหรือTCMA ขับเคลื่อน ‘MISSION 2023’ ด้วยการส่งเสริมการใช้วัสดุก่อสร้างคาร์บอนต่ำ เรียกว่า ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ในทุกการก่อสร้างเครือข่ายระบบทางพิเศษ ตามมาตรฐานวิศวกรรมงานก่อสร้างที่กำหนด

นำร่อง 2 โครงการแรก คือ โครงการทางพิเศษฉลองรัชส่วนต่อขยาย (ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา) ระยะทาง 16.21 กิโลเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี มูลค่าการลงทุน 24,060.04 ล้านบาท ใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในการก่อสร้างประมาณ  4แสนตัน และโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะที่ 1 (ตอน N2 ถนนประเสริฐมนูกิจเชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก) ระยะทาง 11.3 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 16,960 ล้านบาท ใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกในการก่อสร้างประมาณ  2.5 แสนตัน

เบื้องต้นประเมินว่าการก่อสร้าง 2โครงการนี้จะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 34,104 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ (เทียบเท่าปลูกไม้พื้นเมืองเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 3,500,000 ต้น)นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของ
ประเทศไทยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก 1,000,000
ตันคาร์บอนไดออกไซด์ภายใน 256ปี6

ดร.ชนะ  ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้สะท้อนถึงความร่วมมือและการผนึกกำลังกันอย่างเข้มแข็งของ กทพ. และ TCMA ในการเดินหน้าสนับสนุนนโยบายลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ในสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Industrial Processes and Product Use: IPPU) ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ด้วยการส่งเสริมการใช้วัสดุก่อสร้างประเภทปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ในทุกโครงการก่อสร้างของ กทพ.

ขณะเดียวกัน TCMA พร้อมสนับสนุนนโยบายภาครัฐ Thailand Net Zero ให้สำเร็จตามเป้าหมาย ด้วยการให้ความร่วมมือ การสนับสนุนจากทุกภาคส่วน รวมถึงการเข้าใจในกลไกการทำงาน และเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ทั้งในระดับโลก ระดับนโยบายของประเทศ ระดับหน่วยงาน ระดับพื้นที่ และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อบรรลุตามเป้าหมายการขับเคลื่อน ‘MISSION 2023’ ตามที่กำหนดไว้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*