ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน by MQDC เปิดตัวหนังสือ “Sustainnovation” เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม เพื่อสร้างประโยชน์สำหรับทุกคนทั้งกลุ่มคนระดับบุคคล ระดับเมือง ระดับประเทศ และระดับโลก

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ RISC by MQDC กล่าวว่า RISC ได้ออกหนังสือ “Sustainnovation” เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน สร้างความเข้าใจด้านความยั่งยืนในมิติต่างๆ ตลอดจนความสำคัญของแนวคิดจากการวิจัยและตัวอย่างของนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน และเปิดมุมมองด้าน Sustainnovation โดย 10 กูรูจากสาขาวิชาต่างๆ อาทิ นักวิทยาศาสตร์ นักออกแบบ สถาปนิก วิศวกร บุคลากรทางการแพทย์ นักพัฒนาสิ่งแวดล้อม นักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย ฯลฯ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาและต่อยอดแนวคิดนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกชีวิตในอนาคต

“เราคาดหวังว่าหนังสือ “Sustainnovation” จะสามารถสร้างประโยชน์สำหรับทุกคนทั้งกลุ่มคนระดับบุคคล ระดับเมือง ระดับประเทศ และระดับโลก เพราะทุกชีวิตล้วนมีส่วนรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ ความรู้จากหนังสือเล่มนี้จะทำให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainnovation และสามารถนำความรู้จากกระบวนการคิดวิจัยและตัวอย่างนวัตกรรมที่น่าสนใจไปต่อยอดเพื่อสร้างความยั่งยืนและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และทุกชีวิตบนโลกใบนี้”

 Sustainnovation คือการผนวกกันของความคิดระหว่าง Sustainability กับ Innovation โดย Sustainability หรือความยั่งยืน คือการสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการต่างๆ ของเรากับระบบนิเวศ สังคมและวัฒนธรรม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วน Innovation หรือนวัตกรรม ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ต้องใหม่ เกิดการใช้งานจริงแล้ว และมีประโยชน์อย่างชัดเจน โดยจำแนกออกเป็นทั้งหมด 6 หมวด ดังนี้

หมวดที่ 1: สุขภาวะ (Health & Wellness) นวัตกรรมด้านสุขภาพ ที่ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีด้านร่างกาย และจิตใจ

หมวดที่ 2: สิ่งแวดล้อม (Environment) นวัตกรรมที่ช่วยลดปัญหาและผลกระทบด้านต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาขยะ ภาวะโลกรวน มลภาวะทางน้ำ และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ

หมวดที่ 3: การจัดการทรัพยากร (Resource Management) นวัตกรรมที่ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

หมวดที่ 4: พลังงาน (Energy) นวัตกรรมด้านพลังงาน นำเสนอแนวทางการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้ในอนาคต

หมวดที่ 5: การขนส่ง (Transportation) นวัตกรรมด้านการขนส่ง ที่ช่วยลดผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศ ลดปัญหาขยะ ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (Active Mobility) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงลดแนวโน้มของการแพร่กระจายเชื้อ

หมวดที่ 6: การบริโภคอาหาร (Food Consumption) นวัตกรรมด้านการบริโภคอาหาร ที่ช่วยสร้างทางเลือกด้านอาหารที่มีความยั่งยืน รวมถึงตัวอย่างการใช้ทรัพยากรอาหารให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*