ในช่วงเวลาเร่งรีบสำหรับการเดินทาง “รถไฟฟ้า” คงเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยตอบโจทย์นาทีนั้นได้เป็นอย่างดี (อันนี้ไม่นับกรณีรถไฟฟ้าเสียนะ^^) รถไฟฟ้าเองยังคงเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเจริญของเมือง พัฒนาการและการเติบโตของทำเลในย่านดังกล่าว ตลอดจนการส่งผลต่อที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และความเป็นอยู่ในบริเวณนั้นๆเมื่อรถไฟฟ้ามาเยือน

หลายเสียงอาจร้องโอดโอยกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ที่กำลังก่อสร้างอยู่หลายสาย(แอดมินเองก็เป็นเหมือนกัน) เพราะทำให้การจราจรค่อนข้างติดขัดเนื่องจากมีการบีบอัดและลดจำนวนช่องของการเดินรถบนท้องถนนลง ทำให้เหลือพื้นที่การเดินรถแคบลง แต่ก็อดทนกันสักหน่อย เพราะเมื่อรถไฟฟ้าสร้างเสร็จและเปิดให้บริการ เราจะมีอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการเดินทางที่ทั้งรวดเร็วและประหยัดเวลา รวมไปถึงนาทีเร่งรีบคงหนีไม้พ้นการใช้บริการรถไฟฟ้า จากข้อมูลของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ดูแลระบบรถไฟฟ้า MRT จะเห็นว่าแนวโน้มการใช้บริการเพิ่มขึ้นในทุกปีและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง(ข้อมูลเมื่อ 13มีนาคม 2562)

ล่าสุดเสียงโอดโอยในย่านหัวลำโพง – หลักสอง ก็อาจจะทุเลาลง เพราะรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-หลักสอง พร้อมที่จะเปิดให้บริการในปี 2562นี้ ราวๆเดือนกันยายน-ตุลาคม แต่จะมีกำหนดทดลองวิ่งในช่วงเดือนเมษายน 2562 สำหรับการเปิดทดลองวิ่งในช่วงแรกยังไม่เปิดให้คนใช้บริการจากการทดลองวิ่งดังกล่าว ซึ่งจะให้ผู้โดยสารได้ทดลองใช้เมื่อใดคงต้องรอประกาศจากรถไฟฟ้าMRTอีกสักระยะ เนื่องจากต้องการให้ระบบมีความมั่นคงและเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดก่อน ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีทำให้ผู้อยู่ระแวกใกล้มีตัวเลือกการเดินทางเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งทางเลือก

ปัจจุบันที่อยู่อาศัยก็มักจะมีการก่อสร้างตามแนวรถไฟฟ้า จะเห็นว่าการมาของรถไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาที่ดิน และที่อยู่อาศัยถูกขยับสูงขึ้น โดยเฉพาะยิ่งอยู่ใกล้สถานีมากเท่าไรก็ตามราคาก็จะยิ่งโดดไปเป็นเท่าตัว เรามักจะเห็นการชูจุดขายของบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในการใช้กลยุทธ์เกี่ยวกับรถไฟฟ้าอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะต้องยอมรับว่าสำหรับคนเมืองแล้วรถไฟฟ้าคงเป็นยานพาหนะลำดับต้นๆสำหรับการเดินทางเพื่อใช้ชีวิตในเมือง

ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีคอนโดเหลือขายราว 3,000 ยูนิต และมีโครงการเปิดใหม่ในปี 2561 2 โครงการรวม 1,377 ยูนิต ปีนี้คาดว่าจะเปิดอีกไม่น้อยกว่า 3,000 ยูนิต (ข้อมูลจากคุณสุรเชษฐ กองชีพ) ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับคนที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพราะรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินตามโครงข่ายแล้วจะมีลักษณะเป็นวงกลมที่ผ่านจุดสำคัญย่านประวัติศาสตร์ แหล่งCBD ชุมชน และสถานที่ท่องเที่ยว

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หากพิจารณาดูจะเห็นว่าเส้นทางการให้บริการเดินรถเป็นแบบลูปวงกลม แต่อาจจะไม่ใช่วงกลมสักทีเดียวเหมือนต่างประเทศเนื่องด้วยภูมิศาสตร์และสถานที่บ้านเมืองของเรากับต่างประเทศค่อนข้างแตกต่างกัน

เมื่อพิจารณาเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ช่วงหลักๆ คือ
ช่วงที่ 1 บางซื่อ – หัวลำโพง เปิดให้บริการในปัจจุบัน
ช่วงที่ 2 หัวลำโพง – หลักสอง กำลังจะเปิดให้บริการเดือน ตุลาคม 2562 ทดสอบระบบ เมษายน 2562
ช่วงที่ 3 บางซื่อ – ท่าพระ จะเปิดให้บริการ ในปี 2563

ถึงแม้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะมีลักษณะเป็นวงกลมแต่การเดินรถก็ใช่ว่าจะวิ่งเป็นวงกลมวนไปเรื่อยๆ กล่าวคือไม่สามารถขึ้นจากรถไฟฟ้าสถานีที่หนึ่ง แล้วนั่งวนเพื่อมาลงที่สถานีที่หนึ่งที่ขึ้นได้ โดยการเดินรถไฟฟ้าจะถูกแบ่งออกเป็น

1 วิ่งไปกลับจากสถานีหลักสอง ถึง สถานีเตาปูน เส้นทางการเดินรถมุ่งตรงเข้าเมือง ผ่านสถานีบางหว้าที่สามารถเปลี่ยนไปขึ้น BTS สายสีเขียวได้ ผ่านสถานีท่าพระ ผ่านอิสระภาพ มุ่งเข้าสู่หัวลำโพง เข้าสู่เส้น พระราม9 รัชดา และไปสุดที่สถานี เตาปูน แล้วแล่นย้อนกลับตามเส้นทางเดิม
2 เส้นทางสถานีเตาปูน ถึง สถานีท่าพระ เส้นทางการเดินรถเตาปูน มุ่งหน้าบางโพ เข้าสู่เส้นจรัญสนิทวงศ์ สิ้นสุดที่สถานีท่าพระและย้อนกลับทางเดิม
โดยจุด Interchange สำหรับเปลี่ยนขบวนระหว่างกันเองของสายสีน้ำเงิน คือ สถานีท่าพระ

Hightlight ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินวิ่งรอดผ่านอุโมงค์ใต้น้ำ

เส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินระหว่างสถานีสนามไชย กับ สถานีอิสระภาพจะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินด้วยเส้นทางดังกล่าวมีแม่น้ำเจาพระยากั้นแบ่งเขตระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี ทำให้เส้นทางการเดินรถต้องผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณดังกล่าวมีความลึกประมาณ 20 เมตร ทำให้การก่อสร้างรถไฟฟ้านั้นจะขุดเป็นอุโมงค์ลึกลงไปอีกประมาณ 10 เมตร หรือมีระยะความลึกจากพื้นดิน 30 เมตร นั่นเอง หากใครที่กำลังคิดว่ารถไฟฟ้าที่แล่นผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วจะได้เห็นปลาแหวกว่ายแบบอุโมงค์ Aquarium อาจจะต้องผิดหวังกันสักหน่อย

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

 

วิ่งผ่านเส้นประวัติศาสตร์สำคัญของเมือง

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเชื่อมโยงพื้นที่กรุงเทพฯทั้งเขตชั้นในและชั้นนอกรวมไปถึงเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายอื่น นอกจากนี้ยังผ่านเส้นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นย่าน CBD อย่างสีลม หรือ New CBD อย่างพระราม9 รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งOffice Building ของคนทำงาน หากรวมเส้นทางที่กำลังจะเปิดในเดือนเมษายนนี้ จะทำให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินวิ่งผ่านเส้นประวัติศาสตร์ สำคัญและใกล้เกาะรัตนโกสินทร์มากที่สุด ณ.ปัจจุบัน

โดยในย่านดังกล่าวเราจะเห็นอาคารบ้านเรือนที่ยังคงภูมิสถาปัตไว้แบบโบราณแต่คงความร่วมสมัย ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเองสถานีที่อยู่ใกล้ก็ได้มีการออกแบบให้สอดคล้องกับพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้มีความคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างในบริเวณนั้น ซึ่งมีทั้งหมด 4 สถานี

บริเวณภายนอกสถานีวัดมังกร
บริเวณภายในสถานีวัดมังกร

ภายในสถานีวัดมังกร จะถูกตกแต่งสไตล์จีนเพื่อให้ตอบรับกับชุมชนในย่านนั้น ด้วยผู้คนที่อยู่อาศัยในย่านดังกล่ามีเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก หากใครนึกไม่ออกว่าเป็นช่วงไหน จากสถานีวัดมังกรสามารถเดินเลาะเข้าสู่เยาวราช สำเพ็ง และหลายคนอาจต้องร้อง อ๋อ!!! ขึ้นมา

วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเนี่ยยี่ ศาสนาสถานที่ทั้งชาวไมยและชาวจีนต่างแวะเวียนกันมากราบไหว้ขอพรกันอยู่เสมอ รอบๆบริเวณวัดจะรายล้อมไปด้วยชาวจีน ชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นจำนวนมาก ที่อาศัยอยู่กันมาแต่เนิ่นนาน นอกจากนี้ยังเป็นจุดขายของประเภทอาหารและวัตถุดิบต่างๆ อาทิ ธัญพืช อาหารทะเล อาหารทะเลแปรรูป สินค้าอบแห้ง ถ้ากลัวว่ามาเดินแล้วจะหิว บริเวณรอบสถานีวัดมังกรหายห่วงไปได้เลย

บริเวณภายนอกสถานีสามยอด
บริเวณภายนอกสถานีสามยอด

บริเวณภายในของสถานีสามยอดจะจัดแสดงภาพเก่าที่เล่าเรื่องวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในย่านรัตนโกสินทร์ รวมไปถึงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงปีด้วย อาจเป็นภาพที่เล่าย้อนความทรงจำของใครหลายๆคนได้เป็นอย่างดี และเป็นภาพให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นก่อนที่เมืองจะเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาเรื่อยๆจนมาเป็นแบบทุกวันนี้

ภาพภายในสถานีสนามไชย

ภายในสถานีสนามไชย ถูกออกแบบและตกแต่งแบบท้องพระโรงหากจะบอกว่าเป็นสถานีที่สวยที่สุดในประเทศไทยคงไม่ผิด เพราะสถาปัตยกรรมที่ถูกตกแต่งและประดับประดานั้นถูกออกแบบโดยศิลปินแห่ง ที่ให้มีความคล้ายคลึงกับสิ่งก่อสร้างในบริเวณดังกล่าว สถานีสนามไชยจะเป็นสถานีที่ใกล้กับพระบรมหาราชวัง วัดพระแก้ว และท้องสนามหลวงมากที่สุด ณ.ช่วงเวลาปีปัจจุบัน 2562 หากใครจะเดินทางมายังสนามหลวงหรือไหว้ในย่านนี้ก็คงไม่ต้องเสียเวลานั่งรถหลายต่ออีกแล้ว แค่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

ภาพภายในสถานีอิสระภาพ

สถานีอิสระภาพ แม้ภายในสถานีอาจจะไม่ได้ออกแบบให้มีความเลิศหรูมากเท่ากับ 3 สถานีที่ผ่านมา ภาพในสถานีประดับด้วยภาพหงส์ที่เป็นเอกลักษณ์และถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เสริมความเป็นสิริมงคลและยังคงความเป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ ของวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร

เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีอื่น

หลังจากที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเปิดให้บริการสมบูรณ์แบบครบ 100% จะทำให้โครงข่ายของการเดินทางระบบรถไฟฟ้าสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยลักษณะของสายสีน้ำเงินเป็นเสมือนวงกลมทำให้รถไฟฟ้าสายสีอื่นจะต้องถูกเชื่อมต่อเข้ากับสีน้ำเงิน เราลองรวบรวมสถานีที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า ของสายสีน้ำเงินกับสายสีอื่นที่มีการก่อสร้างไปแล้ว จะเห็นว่า จุดInterchange เกิดขึ้นกว่า 10 สถานี ยังไม่นับรวมโครงข่ายรถไฟฟ้าที่ยังไม่ถูกอนุมัติการก่อสร้างและยื่นเสนอการก่อสร้างที่จะเกิดขึ้นตามมา

เมื่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเปิดครบสมบูรณ์ 100% และระบบโครงข่ายของรถไฟฟ้าตามแผนสมบูรณ์ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนี้จะเป็นเส้นหลักที่ถูกเชื่อมต่อในทุกทิศทางกับสายสีอื่นๆที่ทำให้การเดินทางไม่ว่าจะออกนอกเมือง หรือเข้าสู่ใจกลางเมืองจะทำให้ชีวิตสะดวก สบาย และรวดเร็วยิ่งขึ้น

สำหรับคนเมืองแล้วการอยู่ใกล้รถไฟฟ้าหรือตามแนวรถไฟฟ้า คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจะทำให้การใช้ชีวิตในเมืองสะดวกมากยิ่งขึ้นด้วย เพราะทำให้ทุ่นเวลาการเดินทางลงไปได้เยอะเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามปัจจุบันการก่อสร้างรถไฟฟ้าเกิดขึ้นในหลายพื้นที่สำคัญที่ต้องยอมรับว่าเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของการจราจรเช่นกันที่ทำให้การเดินรถในช่องทางปกติเป็นไปได้ช้า และทำให้การจราจรแออัด คงต้องอดทนกันสักหน่อยเพื่อวันข้างหน้าที่ดีขึ้น