ทำหน้าที่ต้อนรับแขกข้านแขกเมือง รวมถึงเป็นสถานที่จัดงานประชุม อีเว้นท์สำคัญทั้งในระดับประเทศและนานาชาติมากว่า 20,000 งานในช่วงระยะเวลาเกือบ 30 ปีของการเปิดให้บริการของ “ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์”ก่อนที่จะประกาศปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ไปเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2562

ปัจจุบันศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง บริหารรงานโดยบริษัทเอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 12 กันยายน 2565นี้ หลังจากปิดปรับปรุงมานานกว่า 3 ปีครึ่งด้วยงบประมาณกว่า 15,000 ล้านบาท พร้อมขยายพื้นที่ให้บริการเพิ่มมากขึ้นจากพื้นที่เดิมถึง 5 เท่า

เดิมที่มีพื้นที่โดยรวม 65,000 ตารางเมตร โดยแบ่งเป็นพื้นที่สำหรับจัดงานอีเว้นท์ 25,000 ตารางเมตร รวมถึงพื้นที่จอดรถที่จอด 600 คัน และรองรับคนเข้าใช้บริการได้กว่า 5,000 คนต่อวัน ส่วนพื้นที่ใช้สอยใหม่มีขนาดใหญ่ถึง 300,000 ตาราง โดยแบ่งเป็นพื้นที่จัดงานอีเว้นท์ 78,500 ตารางเมตร และพื้นที่สำหรับร้านค้าปลีก 11,000 ตารางเมตร สามารถรองรับการจัดงานได้ทุกรูป ด้วยจำนวนฮอลล์จัดนิทรรศการ 8 ห้อง ห้องเพลนารี 4 ห้อง ห้องบอลรูม 4 ห้อง และห้องย่อยอีก 50 ห้อง สามารถรองรับผู้เข้าใช้บริการได้มากถึง 100,000 คน/วัน พร้อมลานจอดรถใต้ดินที่สำมารถจอดรถยนต์ได้มากถึง 3,000 คัน

นายศักดิ์ชัย ภัทรปรีชากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า การกลับมาเปิดให้บริการของศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่คในเดือนกันยายนนี้ พร้อมที่จะรองรับการจัดงานในทุกรูปแบบและผู้ใช้บริการทุกไลฟ์สไตล์ โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าใช้บริการมากกว่า 13 ล้านคนต่อปี เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนที่จะปิดปรับปรุง ซึ่งมีผู้เข้าใช้บริการประมาณ 6 ล้านคนต่อปี  เพราะเชื่อมั่นว่าจะมีรูปแบบและโปรไฟล์อีเว้นท์ใหม่ๆ เข้ามาจัดงานที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์อีกเป็นจำนวนมาก

“บริษัทมีความตั้งใจในการพัฒนาศูนย์ฯ สิริกิติ์แห่งนี้ให้เป็นมากกว่า “ศูนย์การประชุม”  และรองรับงานมากกว่า “ไมซ์” (MICE) โดยได้ออกแบบพื้นที่โฉมใหม่ขึ้นมาให้มีความยืดหยุ่นรองรับการจัดงานทุกรูปแบบได้พร้อมๆ กันและเอื้อต่อการจัดการด้านโลจิสติกส์และขนย้ายสินค้าจัดแสดงทุกประเภท พร้อมทั้งเชื่อมตรงกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีศูนย์การประชุมฯสิริกิติ์เพื่อเข้าสู่พื้นที่จัดงานได้เลย”

ล่าสุดได้รับความไว้วางใจจากผู้จัดงานระดับอินเตอร์ นำอีเว้นท์โปรไฟล์ใหม่ๆ จากหลากหลายประเทศ เข้ามาจัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก อาทิ  งาน Asia Pacific Leather Fair หรือ APLF งานแสดงสินค้าเครื่องหนังชั้นนำของโลก วันที่ 19 – 21 ตุลาคม 2565 ซึ่งเดิมจะจัดงานอยู่ที่ประเทศฮ่องกง,ASIA FRUIT LOGISTICA งานแสดงสินค้านานาชาติด้านผักและผลไม้แห่งภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเดิมจัดอยู่ที่ฮ่องกงเช่นกัน วันที่ 2 – 4 พฤศจิกายน 2565 และ Jewellery & Gem ASEAN Bangkok (JGAB) งานจัดแสดงสินค้าอัญมณีที่รวบรวมทั้งการค้าขาย สัมมนา และกิจกรรมเสริมความรู้ด้านอัญมณี เพื่อผู้ซื้อและซัพพลายเออร์จากทั่วโลก เดิมจัดงานอนู่ที่ประเทศสิงคโปร์ กำหนดจัดงานวันที่ 2 – 5 พฤศจิกายน 2565

นอกจากงานยังมีงานอิเวนต์ทั้งในและต่างประเทศคอนเฟิร์มมาจัดงานที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์กว่า 160 งานนับตั้งแต่ศูนย์ฯเปิดให้บริการในเดือนกันยายนนี้ไปจนถึงสิ้นปี 2566 มีทั้งงานไมซ์และงานไลฟ์สไตล์  เช่น งานคอนเสิร์ต “T-Pop Concert Fest” ในวันที่ 29-30 ตุลาคม 2565 งานมหกรรมเกมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “Thailand Game Show” ในวันที่ 21-23 ตุลาคม 2565  และงานประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ในวันที่ 13-18 พฤศจิกายน 2565

“ไฮไลต์สำคัญของศูนย์ฯ สิริกิติ์คือ การก้าวสู่การเป็น The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All มีทั้งพื้นที่โซนรีเทล ภายใต้คอนเซ็ปต์แอคทีฟไลฟ์สไตล์มอลล์เต็มรูปแบบแห่งแรกของกรุงเทพฯบนเนื้อที่กว่า 11,000 ตารางเมตร ที่จะดึงดูดทุกกลุ่มไลฟ์สไตล์ทั้งในและต่างประเทศ มีทั้งร้านอาหาร เช่น  Food Street, KFC, Zen, Man Fu Yan, Tim Hortons, On The Table,เครื่องดื่มและของหวาน  เช่น Starbucks, TRUE COFFEE, Café Amazon, Seven Suns, Bake A Wish, After You, Krispy Kreme  นอกจากนี้ยังมีร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา อุปกรณ์กีฬา และร้านขายสินค้าไอที เป็นต้น”

สำหรับพื้นที่ของศูนย์ประชุมฯสิริกิติ์ ที่มีความสูง 23 เมตร ประกอบด้วย ชั้น LG เป็นพื้นที่จัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ ร้านค้า รวมถึงผลงานแสดงศิลปะชั้นครูของไทย อีกทั้งยังเป็นชั้นที่เชื่อมต่อกับทางเข้าจากรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT การออกแบบในชั้นนี้เน้นบรรยากาศการต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ภายใต้แนวคิด ‘ชุดไทยลำลอง’ หรือ ‘Casual Thai’ ให้ความรู้สึกถึงเสน่ห์ของผ้าไทย เช่น  ผ้าขาวม้า ผ้าถุง การจับจีบ ผ้าการซ้อนเกล็ด มาใช้ในกำรประดับตกแต่งส่วนต่าง ๆ

ชั้น G  ป ร ะ ก อ บ  ด้ ว ย  พื้ น ที่ จั ด แ ส ด งนิทรรศการ ศูนย์อาหาร และพื้นที่รีเทล การออกแบบยกระดับจากคอนเซ็ปต์ชุด ไ ท ย ลำ ล อ ง ให้กลายเป็น ‘ชุดทางการแบบไทยประยุกต์’ หรือ ‘Formal Thai’ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากโจงกระเบน มีการจับจีบผ้าและผนังให้เกิดรูปเว้าโค้งแบบลายไทย โดยโถงนิทรรศการหลักตกแต่งด้วยวัสดุสีทองแดง รวมถึงประตูกัลปพฤกษ์ซึ่งเป็นประตูลายรดน้ำปิดทอง

ชั้น 1 เป็นที่ตั้งของ Ballroom, Plenary Hall และห้องประชุม ห้องบอลรูม พื้นที่ส่วนนี้ออกแบบมาจาก ‘ชุดชาวเขาไทย’ ที่เล่าเรื่องราวของธรรมชาติในรูปแบบลายเส้น รูปทรงเรขาคณิต และการใช้วัสดุตกแต่งสีเงินจากเครื่องเงิน ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่ชำวเขานิยมสวมใส่

เพลนารีฮอลล์  ได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบ “ชุดไทยจักรี” ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดไทยประจำชาติพระราชนิยม 8 ประเภท โดยเลือกลายพื้นฐาน เช่น ลายประจำยามมาลดทอนรายละเอียด ขยายสัดส่วนให้ใหญ่ขึ้น และนำบางส่วนของเส้นสายในชุดไทยจักรีมาตกแต่งบรรยากาศให้ดูร่วมสมัย

ชั้น 2 ประกอบด้วย ห้องประชุมย่อย พื้นที่รับรองแขก และร้านอาหาร ตกแต่งแบบเรียบหรู โปร่งโล่งด้วยผนังกระจกใสติดมองเห็นวิวสวนเบญจกิติ และสำมารถเดินออกไปยังระเบียงเพื่อมองวิวทิวทัศน์ของสวนได้ถึง 180 องศา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*