เซ็นทรัลพัฒนา ตอกย้ำการเป็นผู้นำ Retail-Led Mixed-Use Development ต่อยอดแผนธุรกิจ 5 ปี(2565-2569) ประกาศโครงการมิกซ์ยูสแห่งใหม่ “เซ็นทรัล นครสวรรค์”และ “เซ็นทรัล นครปฐม” รวมงบลงทุน 14,000 ล้านบาท  พร้อมเปิดให้บริการไตรมาส 1- 2/67  หวังสร้างแลนด์มาร์กใหม่ใจกลางเมือง ยกระดับศักยภาพของจังหวัดทั้งทางด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว พร้อมแผนช่วยคู่ค้าขยายธุรกิจทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ เจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ มีกำลังซื้อสูงและไลฟ์สไตล์คนเมือง พร้อม Synergy ในกลุ่มเซ็นทรัลด้วยคอนเซ็ปต์ใหม่ไม่เคยมีมาก่อน
นายชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล
นายชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล กรรมการบริหารและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจและโครงการบริษัท เซ็นทรัลพัฒนาจำกัด(มหาชน)หรือ CPN เปิดเผยว่า บริษัทยังเดินหน้าขยาย Retail-Led Mixed-Use Development ตามแผนธุรกิจ 5 ปี (2565-2569)ด้วยงบลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท และขยายโครงการครอบคลุมกว่า 30 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นการตอกย้ำชัดถึงบทบาทในการเป็น Place Maker ที่บุกเบิกเมืองศักยภาพ พร้อมทั้งยกระดับการใช้ชีวิตของผู้คน ชุมชน และช่วย Scaling Up การขยายธุรกิจของคู่ค้า ซึ่งมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างความเจริญให้ประเทศ ดังเช่นโครงการมิกซ์ยูสที่ประสบความสำเร็จแล้วอย่างเซ็นทรัล โคราช รวมถึงโครงการที่อยู่ในแผนงานและได้บุกเบิกในส่วนของศูนย์การค้าไปแล้ว ได้แก่ เซ็นทรัล อยุธยา, เซ็นทรัล ศรีราชา และเซ็นทรัล จันทบุรี

โดย The Upscaling of Retail-Led Mixed-Use Development เป็นการยกระดับโครงการมิกซ์ยูสโมเดลใหม่ไปอีกขั้น ทั้งในส่วนของการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ การเชื่อมโยงกับชุมชน และการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ชัดเจนมากขึ้น ดังนี้

1.New Frontier of Mixed-Use Development: การใช้แนวทางใหม่ๆ ทั้งการผสมผสานSustainability ที่จะเป็นมาตรฐานของการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ต่อจากนี้ และการสร้าง Master Plan ที่เชื่อมโยงไปสู่ Neighbouring Component ใกล้เคียง, แลนด์มาร์คสำคัญในเมือง และชุมชนโดยรอบ

2.Urban Township: ยกระดับเมืองศักยภาพอย่างนครสวรรค์ ซึ่งมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและประตูสู่ภาคเหนือ และนครปฐม เป็น Center of Satellite City ที่รองรับการขยายตัวของเมือง โดยทั้งสองโลเคชั่น เซ็นทรัลพัฒนาได้บุกเบิกโครงการมิกซ์ยูสแห่งอนาคต ที่ใส่ใจทั้ง health & wellness, multi-generation lifestyles, nature, art & cultural เป็นต้น รวมไปถึงการเปิดพื้นที่เพื่อชุมชน เป็น Shared Space มากขึ้น

3.Customer & Tenant Centric: ทุกครั้งที่ขยายโครงการใหม่ ได้เล็งเห็นถึงกำลังซื้อและไลฟ์สไตล์ โดยใช้ Data-Driven Customer Insight ทั้งข้อมูลจาก The 1 และการลงทุนต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน ทำให้สร้างสรรค์โครงการที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้ในเชิงลึก และช่วยให้พันธมิตรคู่ค้า Offer Merchandise-Mix ได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ขยายโอกาสสร้างความเติบโตทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังมี Synergy ของกลุ่มเซ็นทรัลเองก็มีการพัฒนาคอนเซ็ปต์ใหม่ๆให้สอดคล้องไปกับโครงการด้วย

จากความสำเร็จในการขยายโครงการทั่วประเทศ จุดแข็งของเซ็นทรัลพัฒนาคือการเล็งเห็นศักยภาพและเจาะเมืองเศรษฐกิจใหม่ได้อย่างแม่นยำ โดยการขยาย 2 โครงการใหม่ล่าสุด คือ “เซ็นทรัล นครสวรรค์” และ เซ็นทรัล นครปฐม” โดยมีเป้าหมายเพื่อ “สร้างเมืองใหม่-เจาะกลุ่มรายได้สูงมีไลฟ์สไตล์แบบคนเมือง-ขยายโอกาสธุรกิจเพื่อคู่ค้า”

เซ็นทรัล นครสวรรค์The Elevating Gateway to the North ปั้นเมืองเศรษฐกิจแห่งใหม่ สร้างโครงการมิกซ์ยูสใจกลางเมือง พร้อมการใช้ชีวิตตอบโจทย์ Multi-Generation Community ตั้งอยู่บนที่ดิน 42 ไร่ ประกอบด้วยศูนย์การค้า GFA 76,000 ตารางเมตร (ตร.ม.) และพื้นที่ที่เหลือเป็นการพัฒนาโรงแรม 200 ห้อง, คอนโดมิเนียม และ Urban Park ขนาดใหญ่ 2 ไร่  มูลค่าโครงการ 5,800 ล้านบาท  โดยจะเปิดให้บริการช่วงไตรมาส 1/2567,  นอกจากนี้ยังมี Neighbouring Component อย่างโรงพยาบาลชั้นนำที่เชื่อมโยงอยู่บน Master Plan ของโครงการ

โดยสาเหตุที่บริษัทเลือกพัฒนาโครงการในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มาจาก 4 ปัจจัยหลัก คือ

1.New Rising Economic City: ศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งภาคเหนือตอนล่าง

-Gateway to the north และตั้งอยู่บนแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridors (NSEC) และแผนเมกะโปรเจกต์ของภาครัฐ เช่น รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ, รถไฟทางคู่สายนครสวรรค์-แม่สอด และส่วนต่อขยายของทางรถไฟสายเหนือ

Logistic Hub เซ็นทรัล นครสวรรค์ จะเป็นอีกหนึ่ง Hub สำคัญที่เชื่อมโยงโครงการของเซ็นทรัลพัฒนาในภาคกลางและภาคเหนือ ช่วย connecting the dots เพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ให้กับคู่ค้าผู้เช่า ในการขยายโอกาสทางธุรกิจ

2.Hub of Cultural Tourism: เมืองท่องเที่ยว เอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยจีน เมืองปากน้ำโพ ต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา มีชุมชนชาวจีนใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ และเทศกาลตรุษจีนก็เป็นหนึ่งในเทศกาลใหญ่ของจังหวัด รองจากกรุงเทพฯ และภูเก็ต การดีไซน์ภายในศูนย์การค้าจึงชู Local Essence ผสมผสาน Thai-Chinese Culture เป็นอีกหนึ่ง Attraction ที่จะทำให้นครสวรรค์เป็นมากกว่าเมืองผ่าน สู่เมืองท่องเที่ยวที่ผู้คนต้องมาเยือน

3.Affluent Multi-Generation Families: กลุ่มครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน กำลังซื้อสูง หลากหลายช่วงวัย ไลฟ์สไตล์คนเมือง

-GPP (ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว) : กว่า 120,000 บาทต่อปี ซึ่งเทียบเท่าขอนแก่น

– Household Income: มากกว่า 21,000 บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าเชียงราย

– Multi-Generation Thai-Chinese Families : ครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน คนรวยนครสวรรค์คือกลุ่มนักธุรกิจ คุ้นเคยกับ Urban lifestyle โดยจากข้อมูลที่มี พบว่าชาวนครสวรรค์เดินทางมาช้อปที่สาขาในกรุงเทพฯ จำนวนมาก อันดับหนึ่งคือ เซ็นทรัล ลาดพร้าว, รองลงมาที่เซ็นทรัลเวิลด์

-Catchment Area: กว่า 1,000,000 คน รวมประชากรในนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่กำแพงเพชร, อุทัยธานี, ชัยนาท, ลพบุรี และพิจิตร

– Housing Growth: อสังหาฯ ที่อยู่อาศัยเติบโต 6% ใน 5 ปี ราคาเฉลี่ยประมาณ 2.5 ล้านบาท

4.Landmark of Quality Living: แลนด์มาร์กใหม่เพื่อชีวิตที่มีคุณภาพ

-Urban Park ขนาดใหญ่ 2 ไร่: ออกแบบให้เป็น Multi-Generation Space สำหรับทุกคนทุกวัยในครอบครัว ประกอบด้วย Playground, Pet’s Park และไฮไลท์อย่าง Longevity Hill ที่ดีไซน์ให้เป็น Vertical Walkway มี running track, bike track

-การดีไซน์ Wellness Zone ภายในโครงการให้เชื่อมโยงกับ Neighbouring Component อย่างโรงพยาบาล ประกอบด้วย Fitness, Sport Anchors, Beauty Services เป็นต้น

-คอนเซ็ปต์ดีไซน์ represent เมืองปากน้ำโพ ผสมผสาน Chinese meets Thai Culture เข้ามาในส่วนต่างๆ

-Unique Zones: รวมกว่า 400 แบรนด์ ซึ่งมีการออกแบบแต่ละโซนแบบ Holistic View ที่เชื่อมโยงแต่ละโซนอย่างเช่น Chinese Village ที่ประกอบด้วย Food Destination, Chinese Market, Authentic Café, Supermarket

-Retail Magnet: Synergy within Central Group: Central Department Store, Supersports, PowerBuy, Tops, B2S, Officemate, go! WOW

สำหรับเซ็นทรัล นครปฐม The Emerging Eco City สร้างเมืองใหม่ ศูนย์กลางการใช้ชีวิตขนาดใหญ่ Sustainability Mixed-Use Development เมืองคนรุ่นใหม่ ใส่ใจความยั่งยืนและพื้นที่Co-Creation สำหรับทุกคน ตั้งอยู่บนที่ดินเกือบ 100 ไร่ ประกอบด้วยศูนย์การค้า GFA 69,000 ตร.ม. หรือประมาณ 40 ไร่ และที่เหลือจะเป็นการพัฒนาโรงแรม 200 ห้อง, คอนโดมิเนียม, หมู่บ้านจัดสรรและ Urban Park ขนาดใหญ่ 4 ไร่ รวมมูลค่าโครงการ 8,200 ล้านบาท  เปิดให้บริการช่วงไตรมาส 2/2567

โดยสาเหตุที่บริษัทเลือกพัฒนาโครงการในพื้นที่จังหวัดนครปฐม มาจาก 4 ปัจจัยหลัก คือ

1.Center of Satellite City: สร้างเมืองใหม่ ยกระดับคุณภาพชีวิต

-เป็น Strategic Move ในการขยายไปภาคตะวันตกโดยมีนครปฐมเป็น ประตูเชื่อมไปยังจังหวัดใกล้เคียงคือราชบุรี และกาญจนบุรี

-ทำเลดีใกล้มหาวิทยาลัยและสถานที่สำคัญ ทำหน้าที่เป็น Center ของเมือง ตอบโจทย์ลูกค้าได้โดยไม่ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เดินทางสะดวกด้วยมอเตอร์เวย์ บางใหญ่-กาญจนบุรี และมอเตอร์เวย์ ชลบุรี-สระบุรี-นครปฐม

-ยุทธศาสตร์จังหวัดในการเป็น Smart City และ Eco Industrial Town หรือเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่สร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และสังคมชุมชน

2.Heritage and Nature: เมืองท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และธรรมชาติ

Heritage: มีเสน่ห์ของเมืองเก่า และความรุ่งเรืองของ “อู่อารยธรรม” และแลนด์มาร์กสำคัญอย่างพระปฐมเจดีย์ โครงการเซ็นทรัล นครปฐมจึง เข้ามาต่อยอดความเป็นเมืองที่มีเสน่ห์และมีเรื่องราว

Nature: เมืองที่มีพื้นที่สีเขียวตามธรรมชาติถึง 35-40% ของพื้นที่สีเขียวทั้งหมดของจังหวัดโครงการเซ็นทรัล นครปฐม ยังเพิ่มพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ให้กับเมืองด้วย

3.Attractive & Powerful Spenders: กลุ่มเป้าหมายชัด เมืองคนรุ่นใหม่ และมีรายได้สูง

-ติดอันดับ 10 จังหวัดที่มี GPP (ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว) สูงที่กว่า 375,000 บาท มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ

-รายได้ครัวเรือนสูง เติบโตจากปีที่แล้วถึง 5% อยู่ที่ประมาณ 34,000 บาท ต่อเดือน

-Catchment Area: ครอบคลุมประชากรกว่า 1,000,000 คน และยังขยาย New Catchment ไปราชบุรี กาญจนบุรี

-ตอบโจทย์ของคนในเมืองในช่วงระหว่างสัปดาห์ คนในนครปฐม, คนทำงาน, นักเรียนนักศึกษากว่า 200,000 คน เป็น Universities Hub นับเป็นอีกหนึ่งกลุ่มประชากรหลักของเมืองเป็นกลุ่มที่ต้องใช้ชีวิต เรียนหนังสือ ไม่ได้แค่เดินทางไป-กลับ

-ตอบโจทย์นักท่องเที่ยว และนักเดินทางที่มาพักผ่อนในช่วงสุดสัปดาห์ โดยมีตัวเลขนักท่องเที่ยวกว่า 4 ล้านคนต่อปี เป็นชาวไทย 97%, ต่างชาติ 3%

4.New Urban Landmark: มิกซ์ยูสโมเดลใหม่ ใหญ่ที่สุดในเมือง ที่ Integrate พื้นที่ Semi-Outdoor เข้ากับพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่

-The First Urban Park ของนครปฐม ขนาดใหญ่ 4 ไร่ นำความสำเร็จในการสร้างพื้นที่ Semi-Public จากเซ็นทรัล จันทบุรีมาไว้ที่นี่ด้วย แต่ที่นครปฐมจะโดดเด่นด้วย พื้นที่กิจกรรมสำหรับทุกคนในครอบครัว, Community Leisure Park และพื้นที่งาน Art & Craft และพื้นที่ Co-Creation กับกลุ่มนักเรียน นักศึกษาหรือ Young Co-Creator / Younger Mind

– First sustainable shopping center ของนครปฐม ด้วยมาตรฐาน Green Building มี Sustainable Design อาทิ Natural Light, Solar Roof ลดการใช้พลังงาน, Waste Management

-นำโดยพันธมิตรธุรกิจในกลุ่มเซ็นทรัล ได้แก่ B2S, Office Mate, PowerBuy, Tops Market, Supersports, go! WOW โซนไฮไลท์อื่นๆ อาทิ Pathom Landmark: สะท้อนความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมและไลฟ์สไตล์ของคนนครปฐม, Pathom Samosorn: Authentic Lifestyle Food Destination กับพื้นที่ Semi-Outdoor Market และ Pathom Club เป็น Sport Fashion Destination ประกอบด้วยสินค้า Sport Fashion, Gadget, Fitness และ Running Track ที่เชื่อมต่อกับโซนPark ที่อยู่ใจกลางโครงการ

ทั้งนี้การพัฒนาทั้ง 2 โครงการ จะเริ่มจากการเปิดตัวศูนย์การค้าก่อน หลังจากนั้นจะทยอยพัฒนาคอนโดฯ บ้านจัดสรร และโรงแรม ซึ่งมีอยู่ 3 แบรนด์ คือ เซ็นทารา(Centara),เซ็นทารา วัน (Centara One) และ โก! โฮเทล(Go! Hotel) ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะนำแบรนด์ไหนเข้าไปบริหารในทั้ง 2 โครงการ คาดว่าจะสามารถสรุปได้ในเร็วๆนี้

อนึ่ง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นสร้าง Sustainable Ecosystem ที่แข็งแกร่งด้วยแผนลงทุน 5 ปี มูลค่า 120,000 ล้านบาท เดินหน้าตามแผน “Retail-Led Mixed-Use Development” ตอกย้ำความแข็งแกร่งในการพัฒนาธุรกิจหลัก ได้แก่ ศูนย์การค้า 50 โครงการทั้งในและต่างประเทศและคอมมูนิตี้ มอลล์ 17 แห่งที่อยู่อาศัยรวมกว่า 70 โครงการอาคารสำนักงานรวม 13 โครงการและโรงแรมรวม 37 โครงการ พร้อมทั้งขับเคลื่อนสู่อนาคตภายใต้เจตจำนงค์ของแบรนด์ Imagining better futures for all ด้วยการสร้างและพัฒนาพื้นที่ที่มีคุณภาพเพื่อดูแลคนและชุมชน รวมถึงสิ่งแวดล้อมให้เติบโตควบคู่ไปกับการเดินหน้าทางเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศไทย

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*