แผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนแบบราง (Transit-oriented development: TOD) เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่สนใจต่อการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบราง ซึ่งจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบขนส่งมวลชนควบคู่กับบริเวณพื้นที่รอบสถานีในบริเวณเดินเท้าได้ให้เกิดประสิทธิผล และประสิทธิภาพสูงสุดตลอดระยะทาง

 

ทีมงาน prop2morrow.com เก็บตกข้อมูลเกี่ยวกับแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง (Transit-oriented development: TOD)จาก “ก่องกนก เมนะรุจิ”นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษหัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการขนส่งทางราง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.ที่กล่าวในเวทีเสวนาประจำปี 2560 กรุงเทพจตุรทิศ เรื่อง “Bangkok’s New Landmark แนวโน้มกรุงเทพเมืองใหม่จากแลนด์มาร์คใหม่”

 

โดยจะเห็นว่าแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง (Transit-oriented development: TOD) เป็นกระบวนการพัฒนาและจัดการพื้นที่เมืองให้เกิดความกระชับ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน ในบริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าที่สามารถเดินเท้าได้ โดยให้พัฒนาระบบขนส่งมวลชนควบคู่ไปกับพื้นที่รอบสถานี เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเดินทางสัญจรด้วยระบบขนส่งมวลชน ตลอดจนกระตุ้นเศรษฐกิจ ยกระดับความเป็นอยู่ของคนในชุมชนบริเวณโดยรอบ นอกจากนี้ประเด็นสำคัญเป็นการพลักดันให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนเพิ่มมากขึ้น ลดปัญหาความแออัดการจราจรที่หนาแน่นบนท้องถนน

 

การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนแบบราง หรือ TOD ได้รับการจัดการและออกแบบระบบครอบคลุม  6  แนวคิด ดังนี้ 1.พัฒนาแบบกระชับ 2.ให้ความสำคัญพื้นที่ความหนาแน่นสูง 3.ใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารอย่างผสมผสาน 4.สภาพแวดล้อมเป็นมิตรกับคนเดิน 5.การบูรณาการระบบสัญจรในพื้นที่ และ6. การจัดการที่จอดรถ ซึ่งการเชื่อมต่อระบบการเดินทางต้องพิจารณาถึงประโยชน์การใช้สอย ความเหมาะสมทางกายภาพ ลำดับความสำคัญ รูปแบบการเดินทางและการเข้า-ออกที่หลากหลายด้วย

 

การลงทุนสำหรับ TOD เปิดโอกาสการลงทุนร่วมกับระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership หรือ PPP) โดยมีเงื่อนไขตลาดเป็นตัวกำหนดสัดส่วนการลงทุน ในการลงทุนภาครัฐจะร่วมพัฒนาระบบสาธารณูปโภคตลอดจนให้เงินสนับสนุนต่อโครงการต่างๆ อาทิ การพัฒนาที่อยู่อาศัย แหล่งพาณิชยกรรม ระบบบริการของเมือง พื้นที่สาธารณะรอบสถานีขนส่งมวลชน

 

แนวคิดตามหลักการ TOD ในกรุงเทพฯ

จากข้อมูลข้างต้นเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองถึงแผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชนแบบราง ซึ่งปฎิเสธไม่ได้ว่า ณ เวลานี้ ไม่ว่าแผนพัฒนาระบบรางของสนข.จะไปทางไหนทั้งในเขตุกรุงเทพฯและปริมณฑล ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนพื้นที่โดยรอบ ส่งผลต่อการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการพัฒนาพื้นที่ “ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน” ที่สนข.ผลักดันให้เป็น  “HUB แห่งอาเซียน” จึงได้เพิ่มแรงหวี่ยงในการสนับสนุนธุรกิจอสังหาฯในย่านดังกล่าวอย่างมหาศาล

 

*** prop2morrow โดย คุณอลิสา ปรีชาพัฒนานนท์  E-mail :  alisa.p@prop2morrow.com  โทร.02-632-0645