ศูนย์ข้อมูลฯเชื่อมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯภาครัฐช่วยดันตลาดครึ่งปีหลังฟื้นตัวระบุมาตรการLTV เร่งผู้ประกอบการอาคารชุดผู้บริโภคปรับตัวรับมือขณะที่ทาวน์เฮาส์โตต่อเนื่องผลสำรวจพบการโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศช่วง2 เดือนแรกปี62 พบเพิ่มขึ้น8.1% มูลค่าการโอนสูงถึง13% ด้านการเปิดตัวใหม่ไตรมาส1/62ลดลง21.5% มูลค่าโครงการรวมที่เปิดตัว101,565 ล้านบาทลดลง5.1%

ดร.วิชัยวิรัตกพันธ์ผู้ตรวจการธนาคารและรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)เปิดเผยว่าการที่รัฐบาลมีมาตรการออกมาช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาฯก็จะส่งผลให้ภาพรวมตลาดฟื้นตัวขึ้นในไตรมาส3และ4 ได้ซึ่งเท่าที่ทราบมาพบว่ารัฐบาลเองก็มีความใส่ใจสนใจที่จะกระตุ้นภาพรวมเศรษฐกิจให้ดีขึ้นและภาคอสังหาฯก็จะเป็นอีกหนึ่งกลไกหลักที่ทางรัฐบาลใช้เป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกรอบหนึ่ง 

สำหรับผลการสำรวจข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในช่วงเดือนมกราคมกุมภาพันธ์2562 มีจำนวน50,017 หน่วยเทียบกับปี2561 ที่46,467 หน่วยเพิ่มขึ้น8.1% และมีมูลค่าการโอนเพียงแค่2 เดือนสูงถึง108,181 ล้านบาทเพิ่มขึ้น13% เมื่อเทียบกับ95,703 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปี2561 โดยแยกประเภทจะพบว่าโครงการแนวราบจะมีทั้งปริมาณและมูลค่าการโอนสูงกว่าอาคารชุดกล่าวคือแนวราบทั่วประเทศอยู่ที่33,583 หน่วยเพิ่มขึ้น5.6% มูลค่า66,576 ล้านบาทเพิ่มขึ้น9.8% ในขณะที่อาคารชุดมีปริมาณการโอนอยู่ที่16,434 หน่วยเพิ่มขึ้น13.6% มูลค่าการโอน41,605 ล้านบาทเพิ่มขึ้น18.7%

ทั้งนี้จากผลสำรวจข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในช่วง2เดือนแรกของปีพบว่ามาตรการกำกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย(Loan to Value : LTV)ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)  ได้ส่งผลอย่างมากต่อผู้ประกอบการและผู้ซื้อที่อยู่อาศัยเร่งปรับตัวและลดผลกระทบที่จะเกิดจากกฎของLTV  ซึ่งมีผลกระทบเฉพาะเพียงบางกลุ่มที่อยู่อาศัยนั้นโดยเฉพาะอาคารชุดซึ่งมีทั้งการซื้อเพื่อลงทุนเป็นทรัพย์สินหรือซื้อเพื่อปล่อยเช่าหรือซื้อเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากการอยู่อาศัย  ส่วนบ้านแนวราบที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะประเภททาวน์เฮาส์ซึ่งเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อจริงอยู่

และหากตามประมาณการในช่วงไตรมาส1/2562 (มกราคมมีนาคม) คาดว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในไตรมาสนี้จะประมาณ79,933 หน่วยลดลง2.7% และลดลงต่อเนื่องทุกไตรมาส(ลดลง22.1%, 17.9% และ18.2% ตามลำดับ) ในขณะที่มูลค่าการโอนแม้ว่าในไตรมาสแรกตามประมาณการจะมีมูลค่าสูงอยู่ที่204,628 ล้านบาทขยายตัวเป็นบวกเพิ่มขึ้น16.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี2561 แต่เทียบกับไตรมาส4/2561 มูลค่าการโอนกลับลดลง17.2%

ทั้งนี้แยกเป็นไตรมาสแรกการโอนกรรมสิทธิ์แนวราบลดลง4.9% และลดลงทุกไตรมาส( 17.7% , 14.3% และ14% ตามลำดับ) ในขณะที่มูลค่าการโอนประมาณการไตรมาสแรกจะอยู่ที่128,625 ล้านบาทเพิ่มขึ้น15.5% แต่หลังจากนั้นตั้งแต่ไตรมาส2-4 มูลค่าการโอนจะลดลง( 9.3% , 6.1% และ14.1%) แต่มูลค่าการโอนแต่ละไตรมาสจะเกินกว่า100,000 ล้านบาทซึ่งเป็นตัวเลขเกิน100,000 ล้านบาทตั้งแต่ไตรมาส2/2560 อย่างต่อเนื่อง  ส่วนอาคารชุดในไตรมาส1/2562 อยู่ที่27,128 หน่วยเพิ่มขึ้น1.8% ก่อนที่จะปรับลดลงทุกไตรมาสเช่นเดียวกับมูลค่าการโอนที่ไตรมาสแรกมี76,003 ล้านบาทเพิ่มขึ้น19% และปรับลดลงทุกไตรมาส( 36.2% , 21.9% และ32.1%)

ข้อมูลโครงการเปิดตัวใหม่ในไตรมาสแรกมีจำนวน19,334 หน่วยลดลง21.5% มีมูลค่าโครงการรวมที่เปิดตัว101,565 ล้านบาทลดลง5.1% บ้านจัดสรรมีจำนวน8,069 หน่วยลดลง7.9% มูลค่าโครงการ52,215 ล้านบาทเพิ่มขึ้น25.4% โดยประเภททาวน์เฮาส์เปิดตัวมากที่สุดในกลุ่มราคา2-3 ล้านบาทส่วนอาคารชุดมีจำนวนที่เปิดตัว11,265 หน่วยลดลง29% มูลค่าโครงการ49,350 ล้านบาทลดลง24.5% กลุ่ม1 ห้องนอนเปิดตัวมากที่สุดกลุ่มราคา2-3 ล้านบาทมีการเปิดตัวมากที่สุด

ทั้งนี้ในผลสำรวจทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์พบการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลจากมาตรการLTV โดยข้อมูลโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศประมาณการณ์ตลอดปี2562 คาดจะมีจำนวน306,911 หน่วยลดลงถึง15.6% เมื่อเทียบกับปี2561 ที่มียอดโอนสูงถึง363,711 หน่วยและเทียบกับปี2560 ลดลงเพียง2.59% ในส่วนของมูลค่าการโอนตลอดทั้งปี2562 คาดว่าจะมีตัวเลขประมาณ746,924 ล้านบาทลดลง11% เมื่อเทียบกับปี2561 ที่มีมูลค่าการโอนสูงกว่าทุกปีมีตัวเลขอยู่ที่839,496 ล้านบาทส่งผลให้ตัวเลขปี2561 เทียบ2560 ที่มีมูลค่าการโอน674,116 ล้านบาทเพิ่มขึ้นระดับ24.5% แต่หากเทียบมูลค่าการโอนปี2562 กับปี2560 แล้วมูลค่าการโอนยังปรับตัวลดลงประมาณ10.8%

นอกจากนี้จากผลการสำรวจพบว่าข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯปริมณฑลช่วง2 เดือนแรกของปี2562 มีการโอนกรรมสิทธิ์25,877 หน่วยเพิ่มขึ้น11.2% สัดส่วนโครงการแนวราบและแนวอาคารชุดใกล้เคียงกันส่วนมูลค่าการโอน69,837 ล้านบาทเพิ่มขึ้น16.5% แนวราบจะมีมูลค่า36,931 ล้านบาทสูงกว่ามูลค่าการโอนของอาคารชุดที่มีตัวเลข32,908 ล้านบาทแต่หากพิจารณารเป็นรายไตรมาสนั้นคาดไตรมาสแรกทั้งหน่วยโอนและมูลค่าปรับสูงขึ้นโดยหน่วยโอน46,130 หน่วยเพิ่มขึ้น9.6% และมูลค่าอยู่ที่142,461 ล้านบาทเพิ่มขึ้น27.8% แต่แนวโน้มตั้งแต่ไตรมาส2 เป็นต้นไปทั้งหน่วยโอนและมูลค่าการโอนจะปรับลดลงทุกไตรมาสส่งผลให้ตลอดทั้งปี2562 คาดการณ์ข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเฉพาะในกรุงเทพฯปริมณฑลจำนวนหน่วยอยู่ที่161,457 หน่วยลดลง17.9% (ปี2561อยู่ที่196,630 หน่วย) มูลค่าการโอนอยู่ที่479,904 ล้านบาทลดลง15.1% เมื่อเทียบกับมูลค่าในการโอนปี2561 ที่565,112 ล้านบาท

ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคพบว่าข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ทุกไตรมาสของปีนี้ลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าการโอนขณะที่ประเภทแนวราบและ,อาคารชุดปรับตัวลดลงทุกไตรมาสเช่นกันคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีตลาดอสังหาฯในภูมิภาคการโอนกรรมสิทธิ์อยู่ที่145,454 หน่วยลดลง12.9% และมูลค่าการโอนอยู่ที่267,020 หน่วยลดลง2.7%