สภาพัฒน์ฯคาดการณ์GDPปี 63 ปรับลดเหลือ -6% ระบุปี64 หากไม่มีปัจจัยลบกระทบ ดันเศรษฐกิจฟื้นตัว GDP  กลับมาเป็นบวก 4% เผยกลุ่มธุรกิจสถาปนิกมีบทบาทช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน 2 เรื่อง คือ การวางผังเมืองกระจายสู่ชนบท กระจายแหล่งงาน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน-ดึงดูดการท่องเที่ยว และช่วยประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
นายดนุชา พิชยนันนท์

นายดนุชา พิชยนันนท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยในพิธีเปิดงาน “ACT FORUM’20 Design+Built” ซึ่งจัดโดยสภาสถาปนิก ภายใต้หัวข้อ “สถาปนิกกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 2564 ว่า จากวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อเศรษกิจในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ประกาศล็อกดาวน์ไปประมาณ 3 เดือน ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)ติด -12.1% ซึ่งเป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นทั่วโลก และด้วยความร่วมมือของประชาชนในประเทศ ทำให้ผ่านวิกฤติโควิด-19 มาได้ ส่งผลให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนไปได้ ทำให้ปรับลดประมาณ การณ์ GDP ในไตรมาส3/2563 เหลือ -6.4% อย่างมีนัยสำคัญ จากเดิมที่ประมาณการณ์ไว้ -7.5% และส่งผลให้ทั้งปีติด-6% และหากในปี 2564 ยังไม่มีปัจจัยลบต่างๆมาเปลี่ยนแปลง ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวกลับมาเป็นบวกที่ 4%

ทั้งนี้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปรับโครงสรางเศรษฐกิจไปสู่เซกเตอร์ใหม่ อาทิ อุตสาหกรรมเทคโนโลยี และด้านเมดิเคิล แคร์ ซึ่งมองว่ากลุ่มธุรกิจสถาปนิกจะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ใน 2 เรื่อง คือ

1.ทิศทางของประเทศในอนาคตจะมุ่งกระจายเมืองไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น เพื่อต้องการให้เป็นศูนย์กลางภูมิภาค และกระจายแหล่งงาน เพื่อให้ชนบทและเมืองมีความใกล้ชิดกับมากขึ้น ดังนั้นวิชาชีพสถาปนิกจึงช่วยให้การวางผังเมืองในอนาคต มีความสำคัญมาก เชื่อว่านักสถาปนิกจะช่วยดังฟังชันก์การใช้งานต่างๆมาพัฒนาแต่ละเมืองให้มีความเป็นอัตลักษณ์ (Unique) มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและดึงดูดในด้านการท่องเที่ยวของแต่ละเมืองได้เป็นอย่างดี

2.ประเทศไทยมีทิศทางสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) โดยในระยะเวลาอีก 20 ปีข้างหน้า จะทำให้ปริมาณคาร์บอนในประเทศลดลงอีก 20% ดังนั้นวิชาชีพสถาปนิกจึงมีความสำคัญในอนาคต ในเรื่องการออกแบบอาคาร ที่นำวัสดุก่อสร้างชนิดพิเศษ ที่ช่วยประหยัดพลังงาน และลดโลกร้อน ซึ่งเป็นความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*