กนง.เสียงแตกมีมติ 4 ต่อ 2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่  0.50% ประเมินเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มากกว่าที่ประเมินไว้ ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปีนี้เป็นขยายตัวแค่ 0.7% จากเดิม 1.8% และปีหน้า 3.9% ชี้แม้ภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง แต่การกระจายตัวยังไม่ทั่วถึง จากความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และภาคครัวเรือน ส่งผลกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชน รายได้ และการจ้างงาน ด้าน EIC ประเมินโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้มีสูงขึ้นในช่วงไตรมาส4  หลัง กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างไม่เป็นเอกฉันท์

 นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง.เมื่อวันที่ 4สิงหาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการมีมติ 4 ต่อ 2 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี ส่วนอีก2 เสียงเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี  โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19

มากกว่าที่ประเมินไว้ และยังมีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ายังอยู่ในระดับสูง ดังนั้นโจทย์สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจไทย คือ การเร่งควบคุมการระบาดและกระจายวัคซีน เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของประชาชนและเอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและรายได้กลับมาขยายตัว

ขณะที่มาตรการทางการคลังและการเงินจะต้องเร่งช่วยผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยการช่วยเหลือต้องเร่งผลักดันผ่านการกระจายสภาพคล่องและลดภาระหนี้ของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ รองรับแนวโน้มเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงสูง โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้มีแนวโน้มขยายตัว 0.7% และ 3.7% ในปี 2565 ซึ่งเป็นการปรับลดลงตามการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบมากในปีนี้และแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับลดลงมากในปีหน้า โดยได้ปรับลดประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติเหลือ 1.5 แสนคนในปีนี้ และ 6 ล้านคนในปีหน้า จากเดิมที่ประเมินว่าปีนี้จะมีนักเที่ยวต่างชาติเข้ามาในเมืองไทย 7 แสนคนและ 10 ล้านคนในปี  2565

รวมถึงตลาดแรงงานที่มีเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระ โดยในช่วงไตรมาสที่ 2ที่ผ่านมา มีจำนวนแรงงานว่างงานระยะยาวเกิน 1ปีเป็นจำนวน 0.2 ล้านคน และแรงงานย้านถิ่นเพิ่มขึ้นเป็น 1.6 ล้านคน

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยยังมีแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากแนวโน้มการใช้จ่ายของภาครัฐที่สูงขึ้นจาก พ.ร.ก. กู้เงินล่าสุด และการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดี แม้ภาคการผลิตบางส่วนได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19ในโรงงานและการขาดแคลนวัตถุดิบชั่วคราวก็ตาม

EIC ประเมินกนง.มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25%ในปลายปีนี้
ด้านศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์หรือ EIC ประเมินว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ต่อเนื่องไปถึงปีปี 2565 หากเศรษฐกิจเป็นไปตามกรณีฐานการประเมินล่าสุดของ กนง. ที่มีสมมติฐานว่า การระบาดของโควิด-19 จะถูกควบคุมและสามารถผ่อนคลายการล็อกดาวน์ได้ในช่วงต้นไตรมาส 4 ของปีนี้ ซึ่งจะทำให้ความจำเป็นในการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้มีน้อยลง แต่โอกาสของการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1 ครั้งภายในปีนี้ก็มีมากขึ้นเช่นกัน (ความน่าจะเป็น 30%) จากความเสี่ยงด้านการระบาดจากสายพันธุ์เดลต้า ขณะที่การฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างอย่างช้า ๆ ทำให้มีโอกาสที่การระบาดและมาตรการการควบคุมจะยาวนานกว่าคาด กระทบต่อการฟื้นตัวและแผลเป็นทางเศรษฐกิจมากขึ้น จนเป็นเหตุผลให้ กนง. อาจตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยอีก 0.25% ภายในปีนี้เพื่อพยุงเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ EIC ได้ประเมินว่า ภาครัฐต้องพิจารณาปรับมาตรการการเงินที่มีอยู่และออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเร่งจัดสรรสภาพคล่องและลดภาระหนี้ของกลุ่มประชาชนที่ถูกกระทบจากการระบาดของโควิด-19ให้มีประสิทธิผลมากขึ้น เช่น มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูและมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ที่อาจจะต้องมีการปรับเงื่อนไขและลดข้อจำกัดต่าง ๆ โดยเฉพาะการปรับรูปแบบของการลดความเสี่ยงด้านเครดิตและลดต้นทุนทางการเงินของธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*