ผู้ว่าฯกทม.เผยกรณีแอชตัน อโศกส่งผลทบทวนกระบวนการทำงานขั้นตอนการออกใบอนุญาตก่อสร้างใหม่ที่รัดกุมรอบคอบมากขึ้น พร้อมตั้งคณะกรรมการเร่งตรวจสอบอย่างโปร่งใส ไม่แฝงผลประโยชน์ วันที่ 4 ..เตรียมส่งหนังสือเพิกถอนใบรับแจ้งอนุญาตก่อสร้างไปยังสำนักงานเขตวัฒนา เพื่อส่งต่ออนันดาฯให้เวลาแก้ไขไม่น้อยกว่า 30 วัน และสามารถขยายเวลาได้ แต่ต้องมีเหตุผลอันควร ประกาศสั่งการสำนักงานควบคุมอาคาร ตรวจสอบรวบรวมข้อมูลคอนโดฯเข้าข่ายทั่วกทม. ถือเป็นตัวอย่างที่ดินตาบอดรอบสถานีรถไฟฟ้าที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องพิจารณา
ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธ์
ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า หลังจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาออกมาในกรณีการเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างโครงการแอชตัน อโศกออกมา ยอมรับว่ากรณีดังกล่าว ทำให้กทม.ต้องมาทบทวนกระบวนการทำงานและขั้นตอนการออกใบอนุญาตก่อสร้างใหม่ที่รัดกุมและรอบคอบมากขึ้น โดยเฉพาะการพิจารณาในส่วนของรายละเอียดการขออนุญาตพัฒนาโครงการที่ต้องรัดกุมมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องร้องและนำมาสู่การเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างภายหลังจากที่โครงการก่อสร้างเสร็จและมีผู้อยู่อาศัยเข้าพักแล้ว และไม่ให้กรณีในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นซ้ำ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นกทม.จะต้องมีการหาความจริงเพื่อสร้างความโปร่งใสในการออกใบอนุญาตก่อสร้าง โดยการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเข้ามาภายหลัง เพื่อดำเนินการตรวจสอบหาความจริงในประเด็นที่อาจเกิดความกังวลขึ้นในสังคม

โดยในวันพรุ่งนี้ (4 ..66)กทม.จะส่งหนังสือเพิกถอนใบรับแจ้งอนุญาตก่อสร้างโครงการแอชตัน อโศกไปยังสำนักงานเขตวัฒนา ที่รับผิดชอบดูแลโครงการในพื้นที่ และให้สำนักงานเขตฯส่งแจ้งไปยังบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด จากนั้นจะให้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน นับจากวันที่ออกคำสั่งเพื่อให้ทางบริษัทฯยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างใหม่ แต่หาก อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศกฯไม่สามารถส่งหนังสือแจ้งขอยื่นขอใบอนุญาตใหม่ได้ทัน ก็สามารถขยายเวลาได้เป็น 120 วันได้ แต่ต้องมีเหตุอันควร ซึ่งต้องฟังอย่างมีเหตุผล โดยขณะนี้ทาง กทม.ยังไม่ติดต่อกับทาง อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศกฯเนื่องจากวันนี้เพิ่งเปิดทำการหลังหยุดยาวมา 6 วัน ซึ่งต้องมาคุยในรายละเอียดกันก่อน

กทม.ยืนยันว่าได้ออกใบรับแจ้งอนุญาตก่อสร้างโครงการแอชตัน อโศกอย่างถูกต้องตามระเบียบ เนื่องจากก่อนหน้านี้ อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศกฯยื่นอุทรณ์ขอออกใบรับแจ้งอนุญาตก่อสร้างฯ เนื่องจากการใช้เวลาออกใบอนุญาตใช้เวลานาน ขณะที่ทาง อนันดา เอ็มเอฟ เอเชียอโศกฯมีรายละเอียดการก่อสร้างมาอย่างถูกต้องตามเงื่อนไขของ กทม.ครบถ้วน ซึ่งต้องมีการเรียกมาคุยในรายละเอียดอย่างเป็นทางการกันอีกครั้ง และทุกอย่างไม่มีเรื่องผลประโยชน์ ซึ่งต้องช่วยดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียม และต้องเป็นไปตามกฎหมายอย่างละเอียด ซึ่งไม่มีอะไรที่ซับซ้อนเลย โดยหากแก้ไขได้ตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องทุบทิ้ง ซึ่งที่ผ่านมา กทม.ไม่เคยมีคำสั่งให้รื้อถอนเลย ซึ่งต้องดำเนินการตามขั้นตอนไปดร.ชัชชาติ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ทาง กทม. เสนอแนวทางในการเปิดพื้นที่ทางออกของโครงการ อย่างถูกต้องทางซอยสุขุมวิท 19 เบื้องต้นตามแปลงระวางที่ กทม.มีอยู่ที่ 20.5 เมตร เป็นไปตามกฎที่ระบุทางออกสู่ถนนอย่างน้อย 18 เมตร แต่อย่างไรก็ตาม กทม.เตรียมเข้าวัดระยะพื้นที่ซอยสุขุมวิท19 อีกครั้งเพื่อความถูกต้องของระยะห่าง ไม่ให้ซ้ำรอยกรณีรื้อถอนโครงการในซอยร่วมฤดี นอกจากนี้ ยังมีทางออกฝั่งสุขุมวิท 21 ที่เชื่อมกับถนนอโศก ก็มีความกว้างที่เพียงพอตามข้อกฎหมายของ กทม.เช่นกัน

ด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อที่ดินเพื่อเปิดทางออกใหม่ให้กับโครงการแอชตัน อโศก นั้น กทม.คงไม่ต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพราะ กทม.ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างถูกต้องในการออกใบรับแจ้งอนุญาตก่อสร้างให้กับผู้พัฒนาโครงการ แต่เป็นผู้พัฒนาโครงการต้องรับผิดชอบในส่วนนี้เอง พร้อมกับ กทม.จะจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกใบรับแจ้งอนุญาตก่อสร้างโครงการแอชตัน อโศกเพื่อความโปร่งใสในกระบวนการทำงานต่อไป

โดยสรุปแล้วกทม.โดยสำนักการโยธา ได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบในเรื่องการออกใบอนุญาต จะเห็นได้ว่ามีการออกใบทักท้วง ตั้งแต่การรับทราบแบบแปลน รวมถึงการออกใบรับรอง .6 โดยมีการแจ้งเงื่อนไขอยู่ดร.ชัชชาติ กล่าว

สำหรับเจ้าของร่วมอาคารชุด ที่พักอาศัยโครงการแอชตัน อโศกทางกทม.คงต้องดำเนินการทุกอย่างไปตามกฎหมาย และไม่มีสิทธิ์ไปพูดถึงเรื่องการนำลูกบ้านหรือเจ้าของร่วมอาคารชุดเป็นตัวประกัน โดยเจ้าของร่วมยังสามารถพักอาศัยและใช้ชีวิต รวมถึงการใช้ทางออกเดิมก็ยังใช้ได้ตามปกติ โดยเจตนารมณ์ของศาล มองจากคำตัดสิน ศาลฯเพียงต้องการให้การตีความเจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติไว้ให้การขออนุญาตก่อสร้างถูกต้อง ไม่เกี่ยวข้องกับการเพิกถอนการใช้ทางออกที่ทับซ้อนพื้นที่เวนคืนของ รฟม.และ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเนื่องจากอาคารยังไม่มีความเสี่ยงเรื่องตึกถล่ม หรือการเข้าออกของรถดับเพลิง หากสามารถแก้ไขได้ ก็ต้องให้ระยะเวลากับทางอนันดาฯ

ดร.ชัชชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากกรณีดังกล่าว ก็ได้สั่งการให้สำนักงานควบคุมอาคาร ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูล ว่ายังมีโครงการที่เข้าข่ายลักษณะเดียวกับแอชตัน อโศกอีกหรือไม่ แต่ถ้าหากอยากได้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว คงต้องไปสอบถามกับทาง รฟม.ว่ามีกี่โครงการที่เข้าข่ายจะรวดเร็วกว่าและรอบคอบมากขึ้น ซึ่งเนื่องดังกล่าวตนได้คุยกันในกลุ่มเพื่อนๆในรฟม. แต่ยังไม่มีการเจรจาอย่างเป็นทางการ แต่หลังจากนี้ไปคงจะมีการพูดคุยกับหลายๆหน่วยงานในรายละเอียดมากขึ้น

โครงการดังกล่าวถือเป็นตัวอย่างของที่ดินตาบอด ที่กทม.ต้องพิจารณาในการขออนุญาตก่อสร้างพัฒนาโครงการ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินตาบอดที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกทม.ที่ต้องการให้มีการพัฒนาที่อยู่อาศัยใกล้บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า เพื่อให้คนใน กทม.สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก และลดการใช้รถยนต์ในการเดินทางดร.ชัชชาติ กล่าว

ดร.ชัชชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบการรายใดที่จะพัฒนาโครงการในลักษณะเดียวกับแอชตัน อโศกจะต้องนำเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป แต่ที่ผ่านมาคอนโดฯทั่วไปในกทม.กว่า 1,000 อาคารก็ไม่ค่อยมีปัญหา แต่อาจมีบางกรณี ที่ใช้ทางของหน่วยงานอื่นมาในการขออนุญาต

ไม่ว่ารัฐบาลไหนก็ควรต้องคิดพิจารณาด้วย เพราะตามหลักแล้วก็อยากให้มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าตามหลักของ Transit Oriented Development (TOD)ก็สามารถทำให้คนไม่ต้องซื้อรถ โดยสามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้เลย หากสถานีไปขวางทางเข้าออกก็จะทำให้การก่อสร้างมีที่จอดรถเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องไปดูที่กฎหมายใหญ่ว่าจะมีการแก้ไขอย่างไรไหม ซึ่งจะทำให้การที่อยู่อาศัยรอบสถานีรถไฟฟ้า อาจจะมีข้อจำกัดมากขึ้นในอนาคต ซึ่งอยู่นอกความรับผิดชอบของกทม. แต่เป็นหน้าที่การดูแลของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งต้องนำไปเป็นบทเรียนศึกษาต่อว่า จะทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์มากมาก ซึ่งกทม.ก็ยินดีรับฟังทุกความคิดเห็นดร.ชัชชาติกล่าว

รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล
ด้าน รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า กรณีแนวทางการดำเนินการกับโครงการแอชตัน อโศกว่า โฉนดของโครงการเป็นผังสีเขียว มีการขอใช้ทางร่วมของที่ดินการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เป็นทางเปิดเข้าออกโครงการอย่างน้อย 12 เมตร เพื่อเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะ 18 เมตร ซึ่งการพิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้างของกทม. จะพิจารณาจากกฎกระทรวงตามกฎหมายควบคุมอาคาร โดยไทม์ไลน์ของโครงการดังกล่าวจะแยกเป็น 2 ช่วง คือ แจ้งเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง และขอเปิดใช้อาคาร ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน

ซึ่งเรื่องการแจ้งเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง ก็มีตั้งแต่ยื่นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 ครั้งที่ 2 วันที่ 27 ตุลาคม 2558 และครั้งที่ 3 วันที่ 17 สิงหาคม 2559 ซึ่งกทม.ก็ได้มีหนังสือแจ้งทักท้วงไปทั้ง 3 ครั้ง ซึ่งทางผู้พัฒนาโครงการก็ได้มีการยื่นรายละเอียดต่างๆชี้แจงรายละเอียดตามข้อทักท้วงของ กทม.มาครบถ้วน ประกอบกับในครั้งที่ยื่นขอใบอนุญาตก่อสร้างทางผู้พัฒนาโครงการก็มีหนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อดำเนินการก่อสร้างและเป็นทางเข้าออกของเจ้าของร่วมอาคารชุดจากทางรฟม.แนบมาประกอบอย่างถูกต้อง และครบถ้วนตามกฎข้อบังคับของกทม. ซึ่งกทม.ก็ได้มีการออกใบรับแจ้งอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดขนาดใหญ่พิเศษให้กับผู้ประกอบการตามหน้าที่ เพราะหาก กทม.ไม่ออกใบรับแจ้งอนุญาตให้กับผู้พัฒนาโครงการ ในกรณีที่ผู้พัฒนาโครงการยื่นรายละเอียดการขออนุญาตก่อสร้างมาอย่างถูกต้องตามขั้นตอนทาง กทม.ก็จะผิดในฐานะที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ และจะเกิดเป็นข้อพิพาทกับผู้พัฒนาโครงการได้

กทม.ได้มีการปฏิบัติตามหน้าที่อย่างถูกต้องตามขั้นตอน เพราะผู้พัฒนาเองก็ยื่นรายละเอียดก่อสร้างโครงการมาครบถ้วนตามเช็กลิสต์ที่เป็นไปตามกฎของ กทม.ในการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ เราก็ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของเรา ที่จะออกใบอนุญาตให้กับผู้พัฒนาโครงการตามระเบียบ เพราะหากเราล่าช้าหรือไม่ออกใบอนุญาตให้ ทั้งที่เขายื่นรายละเอียดมาถูกต้องเราก็ผิดในฐานะที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ซึ่งก็ตามมาที่การฟ้องร้องกทม. และเรื่องที่เกิดขึ้นในการออกใบอนุญาตก่อสร้างก็เกิดขึ้นก่อนที่ทีมกทม.ชุดปัจจุบันจะเข้ามาทำงานรศ.ดร.วิศณุ กล่าว

อย่างไรก็ตามแนวทางแก้ไขของโครงการแอชตัน อโศกเป็นการย้อนกลับไปเริ่มตั้งต้นการขออนุญาตก่อสร้างโครงการใหม่ตั้งแต่ต้น ตามคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่พิพาษาออกมาซึ่งทางกทม.จะใช้ข้อบังคับตามมาตรากร 41 ในการให้ผู้พัฒนาโครงการแก้ไขรายละเอียดและแบบแปลนโครงการ ในการยื่นขออนุญาตใหม่ โดยมีระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน ให้เจ้าของโครงการซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการยี่นขอใบอนุญาตใหม่กลับมาให้กับทางกทม. และสามารถขอขยายระยะเวลาได้เป็น 120 วัน หากเจ้าของโครงการไม่สามารถดำเนินการได้ทัน แต่ต้องมีการชี้แจงรายละเอียดให้กับกทม.ทราบถึงเหตุผลประกอบด้วย แต่หากไม่สามารถดำเนินการได้ทันตามระยะเวลาที่ขอขยายออกไป กทม.ก็มีอำนาจในการใช้ข้อบังคับมาตรา 42 ในการสั่งรื้อถอนอาคาร แต่ในกรณีของโครงการแอชตัน อโศกยืนยันว่ายังสามารถแก้ไขใบอนุญาตได้และมีทางออกในการแก้ปัญหา

โดยเบื้องต้นหากดูจากแปลนที่ตั้งโครงการแอชตัน อโศกการเปิดทางออกซอยสุขุมวิท 19 ยังมีความเป็นไปได้ หากเป็นไปตามกฎการขออนุญาตก่อสร้างอาคารสูงพิเศษ ซึ่งจะต้องมีทางออกที่มีความกว้างอย่างน้อย 12 เมตร เพื่อเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะความกว้าง 18 เมตรซึ่งในส่วนของซอยสุขุมวิท 19 มีความกว้างของทางออกตามแปลนระวางของกทม.ตรงตามเงื่อนไข ซึ่งมีความกว้างอยู่ที่ 20.5 เมตร แต่ทางกทม.จะต้องไปวัดระยะความกว้างใหม่อีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่ายังตรงกับแปลนระวางของกทม. และไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ต้องรื้อถอนอาคารเหมือนกับโครงการในซอยร่วมฤดี ที่ไปวัดระยะความกว้างทางออกโครงการไม่ตรงกับแปลนระวางของกทม. และอีกทางออกหนึ่งจะเป็นบริเวณซอยสุขุมวิท 21 ที่เชื่อมสู่ถนนอโศกที่มีความกว้างเพียงพอและเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ซึ่งทางผู้พัฒนาโครงการจะต้องมีการพิจารณาและสามารถร่วมปรึกษาหารือกับทาง กทม.ได้ แต่ในส่วนค่าใช้จ่ายในการซื้อที่ดินเพื่อเปิดทางออกใหม่ของโครงการแอชตัน อโศกทางกทม.จะไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะการออกใบอนุญาตก่อสร้างโครงการเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของ กทม.อย่างถูกต้องตามระเบียบ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*