“ทูตพาณิชย์ฮ่องกง” ชี้ปัจจัยบวกท่องเที่ยวดันเศรษฐกิจฟื้น ยุทธศาสตร์GBA หนุนฮ่องกงศูนย์กลางทางการเงิน คนใส่ใจสุขภาพ หลังโควิด-19 คลี่คลาย เตรียมเดินหน้ากิจกรรมฟื้นส่งออก เป้าหมายโต 1-2% ปี 66 และดึงกลุ่มผู้สูงอายุซื้ออสังหาฯไทยทางเลือกที่น่าสนใจ
นางชณันภัสร์ พิศาลอภิพงศ์
นางชณันภัสร์ พิศาลอภิพงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง  เปิดเผยว่า เป้าหมายการส่งออกไทยไปในตลาดฮ่องกงปี 2566 อยู่ที่ 1-2%  หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 350,000 ล้านบาท  โดยจะเร่งกิจกรรมส่งออกให้การส่งออกโตได้ตามเป้าหมาย โดยปัจจัยบวกของการส่งออกมาจากเศรษฐกิจฮ่องกงเริ่มเข้าสู่ภาวะฟื้นตัวหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้นตั้งแต่ที่ฮ่องกงเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการจากโควิด-19 และเปิดประเทศตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นมา ส่งผลให้ 7 เดือนแรกมีนักท่องเที่ยวเดินทางมา.16 ล้านคนนักท่องเที่ยวทั้งปีที่ 26 ล้านคน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจฮ่องกงในปี 2566 จะ ขยายตัวอยู่ที่กรอบ 4-5% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวในกรอบ 3.5-5.5%

ขณะเดียวกันรัฐบาลฮ่องกงมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่หลากหลาย อาทิ Consumption Voucher จำนวน 5,000 เหรียญฮ่องกง หรือ ประมาณคนละ 22,500 บาท เพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายภายในฮ่องกง โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถกระตุ้น GDP ได้ 0.6% รวมทั้งมาตรการส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็ก – กลาง ผ่านสินเชื่อ และมาตรการสนับสนุนการซื้อบ้านให้แก่ชาวฮ่องกง เพื่อกระตุ้นภาอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งรัฐบาลฮ่องกง ยังดำเนินอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Greater Bay Area: GBA) โดยรัฐบาลจีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อฮ่องกงในฐานะศูนย์กลางด้านการเงิน (Financial Center) ด้วย

ทั้งนี้ เทรนด์ของสินค้าและพฤติกรรมการผู้บริโภคของคนในฮ่องกงมีการเปลี่ยนไป เริ่มให้ความสำคัญด้านสุขภาพมากขึ้นหลังโควิด-19 คลี่คลาย ดังนั้น จึงเป็นโอกาสในการส่งออกสินค้าไทยในตลาดฮ่องกงในปี 2566 นี้  โดยเฉพาะในกลุ่มโปรตีนจากพืช อาหารเพื่ออนาคต (ฟิวเจอร์ฟู้ด) สินค้าออแกนิสก์ จะเป็นโอกาสของการส่งออกสินค้าไทยไปฮ่องกง

“ตลาดฮ่องกงยังเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ซึ่งตลาดข้าวไทยในฮ่องกง แนวโน้มการส่งออกค่อยๆดีขึ้น โดยข้าวหอมมะลิไทยยังเป็นสินค้า อันดับ 1 ในตลาดฮ่องกง  แต่ก็ยอมรับว่าพฤติกรรมการบริโภคข้าวมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ความต้องการบริโภคข้าวลดลง คนฮ่องกงหันไปรับประมานธัญพืชอื่น เพราะกังวลเรื่องของสุขภาพ ดังนั้นมองว่า การทำตลาดข้าวอาจจะผลักดันตลาดข้าวเพื่อสุขภาพมากขึ้น เช่น ข้าวสี ข้าวออแกนิกส์  ข้าว กข43 ข้าวไรซ์เบอร์รี ที่มีน้ำตาลน้อย เพื่อเข้ามาทดแทน ส่วนผลกระทบจากการปรับราคาข้าวของไทย ไม่ได้กระทบมากนัก และผู้ ค้ามีการเจรจาสั่งออเดอร์ ไว้บ่วงหน้ากันไปแล้ว”นางชณันภัสร์ กล่าว

นอกจากนี้  ทางสำนักงานฯ มีความพร้อมที่ผลักดันและส่งเสริมกิจกรรมตลาดข้าวให้มากขึ้น  โดยจะร่วมกับร้าน Thai SELECT พร้อมประชาสัมพันธ์ เครื่องหมายรับรองข้าว ว่าสินค้านี้มาจากประเทศไทย หรือ ตราสัญลักษณ์ ข้าว “ตราเขียว” ของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์  ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันผู้นำเข้า ผู้บริโภคในฮ่องกงก็ยอมรับในเครื่องหมายนี้ และเชื่อมั่นว่าสินค้าข้าวมาจากประเทศไทยและมีคุณภาพ

สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออกไปตลาดฮ่องกง ในเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 สินค้าที่ขยายตัว อาทิ 1) อัญมณีและเครื่องประดับ  1,364.23 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 67.45% 2) ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์17.51 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 47.72% 3) นมและผลิตภัณฑ์นม 15.69 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 21.13% 4) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 14.25 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 589.38%

ด้านธุรกิจที่มีโอกาสในดึงดูดกลุ่มสูงอายุซึ่งมีจำนวนมากขึ้น และมีความต้องการหาที่อยู่อาศัย เพราะราคาอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงมีราคาสูงค่าครองชีพก็แพงเป็นอันดับต้นๆของโลก ทำให้ไทยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนฮ่องกงสนใจที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์  อีกทั้งในเรื่องของการดูแลสุขภาพ ตรวจร่างกาย ของกลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มทำงาน ก็ยอมรับการให้บริการของไทยในเรื่องนี้ด้วย  ดังนั้น จึงเป็นช่องทางและโอกาสที่ประเทศไทยจะดึงลูกค้ากลุ่มนี้  และหากทำได้ ประเทศไทยจะมีเม็ดเงินสะพัดเข้าประเทศจำนวนมาก เพราะกลุ่มคนเหล่านี้เป็นผู้ที่มีกำลังซื้อสูง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*