จากกรณีที่โลกโซเชียลมีการแชร์ภาพบันไดทางหนีไฟของคอนโดฯ ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างแห่งหนึ่ง บริเวณถนนรัตนาธิเบศร์ .นนทบุรี พังถล่มลงมา ทำให้เศษปูนเหล็กและอุปกรณ์การก่อสร้างหล่นใส่บ้านเรือนที่อยู่ติดกับคอนโดฯดังกล่าว ได้รับความเสียหายจำนวน 3 หลัง
หลังจากนั้นส่วนควบคุมอาคารและะผังเมือง สำนักช่าง เทศบาลนครนนทบุรี ได้เข้าไปตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการ และพบว่ามีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ตลอดจนวิธีการเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต(กฎกระทรวงฉบับที่ 4) จึงได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัทเจ้าของโครงการและบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ดำเนินการตามข้อปฏิบัติตามตามเอกสารแจ้ง
เครื่องมือสื่อสารขัดข้องเป็นเหตุ Plank Girder ร่วงทับบันไดหนีไฟถล่ม
นางจันทร์จิรา ลักษณะกุลบุตร ผู้อำนวยการสำนักช่าง เทศบาลนครนนทบุรี เปิดเผย prop2m0rrow ว่า หลังจากที่เกิดเหตุการณ์บันไดทางหนีไฟของคอนโดฯแห่งหนึ่งในพื้นที่.นนทบุรี พังถล่มลงมา ทางสำนักช่าง เทศบาลนครนนทบุรี ก็ได้สั่งให้มีการระงับการก่อสร้างคอนโดฯดังกล่าวทั้งหมด
และเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา นายอภิวัฒน์ เพชรเรือง รองนายกเทศมนตรีนครนนทบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักช่าง และสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย(TSEA) ได้ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างคอนโดฯดังกล่าว ที่มีปัญหาระหว่างการก่อสร้างเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน

โดยจากการตรวจสอบพบสาเหตุเกิดจาก Plank Girder ซึ่งเป็นแผ่นสำเร็จรูปสำหรับติดตั้งบริเวณผนังของบันไดหนีไฟ โดยมีการใช้ทาวเวอร์เครนยกขึ้นไป แล้วนำไปติดตั้งบริเวณบันไดหนีไฟ ในช่วงชั้น 26 ขึ้นไป ซึ่งจะเป็นการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมอยู่บนเครน จะยกแผ่น Plank Girder สำหรับติดตั้งเพื่อส่งให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่บริเวณจะติดตั้งแผ่น Plank Girder โดยจะส่งสัญญาณผ่านวิทยุสื่อสาร ให้หยุดการปล่อยสลิงเมื่อถึงที่หมายแต่ปรากฏว่าในวันที่เกิดเหตุการณ์ (8 ..66)วิทยุสื่อสารของเจ้าหน้าที่ ที่อยู่บริเวณที่จะติดตั้งแผ่น Plank Girder เกิดชำรุด จึงไม่สื่อสารแจ้งว่าแผ่น Plank Girder นั้นถึงบริเวณที่หมายแล้ว ให้หยุดการปล่อยสลิง แต่เจ้าหน้าที่ ที่อยู่บริเวณด้านบน ไม่ได้ยินสัญญาณให้หยุด จึงปล่อยสลิงลงมาอย่างเต็มที่ส่งผลให้แผ่น Plank Girder ตกลงมากระแทกอย่างแรง บริเวณบันไดหนีไฟที่ได้ติดตั้งไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ถล่มลงมาจนถึงชั้นที่ 15 และเกิดเหตุการณ์ตามที่เห็นในโลกโซเชียล ซึ่งทางบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง และเจ้าของโครงการ ก็ได้แสดงความรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดแก่ผู้ได้รับความเสียหาย

สั่งเบรกงานก่อสร้าง ต้องส่งแผนงานแนวทางแก้ปัญหาใหม่ภายใน 30 วัน

ความมั่นคงแข็งแรงของอาคารนั้นมีการออกแบบไว้อย่างถูกต้อง ตามหลักวิศวกรรมและจากการที่ทางเทศบาลฯพร้อมด้วยสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าโครงสร้างอาคารส่วนอื่นๆไม่เป็นอันตราย เพราะสาเหตุดังกล่าวเกิดจากอุบัติเหตุผิดพลาดในส่วนการขนส่งของชิ้นส่วนบันไดหนีไฟ สำเร็จรูป มีกระทบต่อโครงสร้างอื่นๆของอาคารเพียงเล็กน้อยสามารถแก้ไขได้ แต่ทางสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ก็ได้แนะนำว่าให้แก้ไขในส่วนของชิ้นส่วนอื่นๆที่ร่วงลงไปและส่วนอื่นๆที่ได้รับกระทบมีรอยร้าว โดยให้แก้ไขทำใหม่ทั้งหมด และส่วนของบันไดหนีไฟ ซึ่งเดิมเป็นบันไดสำเร็จรูปก็ให้เปลี่ยนเป็นบันไดคอนกรีตเสริมเหล็กหล่อในที่ทั้งหมด โดยทางคอนโดฯดังกล่าวจะต้องส่งแผนการแก้ไขทั้งหมด พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหา โดยมีหนังสือรับรองโครงสร้างของวิศวกรระดับวุฒิกรโดยเฉพาะแผงป้องกันที่ตกและกระชากลงมา(ตามรูป)ทำให้มีฝุ่นกระจายเต็มไปหมด ทำให้มองเหมือนว่าอาคารถล่ม แต่จริงๆแล้วเป็นโครงสร้างแผ่นกั้นวัสดุตกลงมาจากการโดนแรงกระชากของPlank Girder โดยบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างจะเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องความเสียหายทั้งหมดนางจันทร์จิรา กล่าว

 

และในช่วงนี้ทางบริษัทรับเหมาก่อสร้างได้ขออนุญาตให้คนงานเข้าไปเคลียร์พื้นที่ และเก็บแผงป้องกันและวัสดุที่ร่วงลงมา โดยที่ไม่ได้มีการก่อสร้างแต่อย่างใด ซึ่งใบอนุญาตก่อสร้างคอนโดฯดังกล่าวจะหมดอายุประมาณเดือนเมษายน 2567 และหากทางบริษัทรับเหมาก่อสร้างไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จได้ตามกำหนด ก็สามารถขอต่ออายุได้อีก 3 ครั้ง

นายปรีชา กุลไพศาลธรรม

แนะผู้ประกอบการต้องแก้ปัญหาเร็วจบเร็วสร้างความน่าเชื่อถือ

ด้านนายปรีชา กุลไพศาลธรรม นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์นนทบุรี กล่าวว่า จากประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการอสังหาฯมา เชื่อว่าแบบขออนุญาต และการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)ของคอนโดฯดังกล่าวไม่น่าจะผิด แต่น่าจะเกิดจากความบกพร่องของการควบคุมงานก่อสร้าง ที่ขาดความรัดกุม รอบคอบ และขาดการป้องกันที่ดีซึ่งมองว่าไม่น่าจะเป็นประเด็นใหญ่มากนัก และไม่ใช่โครงการแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เพราะโครงการใหญ่ระดับประเทศ และระดับโลก ก็ประสบปัญหาแบบนี้มาแล้วเช่นกัน บางโครงการถึงกับมีผู้เสียชีวิต โดยเหตุการณ์ครั้งนี้น่าจะมีผู้รับผิดชอบร่วมกัน 3 ส่วนคือ บริษัทผู้พัฒนาโครงการ ,บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง และบริษัทควบคุมงานก่อสร้าง

การเป็นผู้ประกอบการพัฒนาโครงการ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม จะต้องควบคุมงานให้ได้คุณภาพ เพราะมิเช่นนั้นจะเกิดความเสียหายในทางตรงคือ การช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายที่เป็นต้นทุน  และความเสียหายในทางอ้อม คือ การก่อสร้างและส่งมอบที่ล่าช้าลง รวมไปถึงความน่าเชื่อถือก็จะถูกลดลงด้วย ดังนั้นการเป็นผู้ประกอบการต้องแก้ปัญหาให้ได้เร็ว ตอบปัญหาลูกค้าได้ หรือไม่ก็คืนเงินให้ลูกค้าไปในกรณีที่ลูกค้าต้องการนายปรีชา กล่าวในที่สุด

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*