SCB EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 เหลือ  2.6% หลังจากข้อมูลไตรมาส 3 ลดต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19ประมาณ -0.8% และอยู่ในกลุ่มประเทศที่ปรับตัวจากโควิด-19 รั้งท้ายของโลก โดยอยู่ในอันดับที่ 155 จากทั้งหมด 189 ประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ต่อเนื่องมาหลายปี โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวแรงขึ้น และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังมีแนวโน้มลดลงจากประมาณการเดิม ส่วนหนึ่งมาจากนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัวช้า

ส่วนทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2567 SCB EIC ประเมินว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 3.0% ตามการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนที่กลับมาขยายตัวดีขึ้น แต่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยอาจจะฟื้นตัวได้ช้าและขยายตัวต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้จากแรงส่งเศรษฐกิจที่ชะลอลงทั้งการบริโภคภาคเอกชนที่เติบโตสูงในปี 2566 รวมถึงรายได้ครัวเรือนที่ฟื้นตัวไม่ทั่วถึงและมีภาระหนี้สูง โดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อย

รวมถึงนักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัวช้า โดยประเมินว่านักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2567จะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 36.2 ล้านคน หลังจากปีนี้ตัวเลขนักท่องเที่ยวอยู่ที่  28.3 ล้านคน   โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีนที่ยังมีแนวโน้มลดลงและต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวนานขึ้น เพราะเศรษฐกิจภายในประเทศจีนได้ชะลอตัวลงจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ขณะที่หลายประเทศได้ออกมตรารดึงดูดนักท่องเที่ยวจีนมากขึ้น  เช่น มาตรการวีซ่าฟรีให้กับนักท่องเที่ยวจีนของรัฐบาลมาเลเซีย  รวมถึงสาซัคสถาน มัลดีฟ และศรีลังกา

นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจรุนแรงขึ้นจาก Climate risks และความเสี่ยงในระบบการเงินจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง โดยSCB EIC คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะอยู่ที่ระดับ 2.5% ต่อเนื่องไปตลอดทั้งปี 2567 เนื่องจากเป็นระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว (Neutral rate) แล้ว

ขณะที่การลงทุนของภาครัฐยังขยายตัวลดลงจากความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณ ปี 2567 ซึ่งจะเป็นแรงกดดันด้านการก่อสร้างโครงการของภาครัฐต่อเนื่องในปี 2567 โดยการเบิกจ่ายงยลงทุนเริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2567 ส่งผลให้ผู้รับเหมาที่รับงานก่อสร้างของภาครัฐเป็นหลัก ขาดโอกาสในการเข้าประมูลงานโครงการก่อสร้างใหม่ๆ กระทบต่อสภาพคล่องของบริษัท โดยประเมินกันว่ามูลค่างานก่อสร้างภาครัฐในปีนี้จะสูงถึง 8,100,000 ล้านบาท

ส่วนงานก่อสร้างภาคเอกชนยังคงเติบโตต่อเนื่อง ตามการก่อสร้างโครงงการที่อยู่อาศัย และอสังหาริมทรัพยย์เชิงพาณิชย์ ทั้งห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ แต่ผลกระทบจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง และราคาที่อยู่อาศัยใหม่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ถือเป็นความท้าทายต่อการเปิดตัวโครงการและการก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มระดับราคาปานกลางลงมา

ส่วนในระยะยาว ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ  รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic intelligence Center และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยจะเติบโตช้าบนศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจที่ลดลง ซึ่งเป็นผลจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานาน ทั้งการลงทุนต่ำ ผลิตภาพการผลิตลดลง และผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19  นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยยังมีความเปราะบางและอ่อนแอจากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*