Cr.pruksa.com

อุตสาหกรรมการก่อสร้างมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในอนาคตเนื่องจากที่ผ่านมาอุตสาหกรรมก่อสร้างในไทยมีการใช้แรงงานจำนวนมาก (Labor-intensive) แต่จากปัญหาขาดแคลนแรงงานก่อสร้างในช่วงหลัง ทำให้ธุรกิจก่อสร้างอาจจะต้องมองหาแนวทางการก่อสร้าง ที่ใช้แรงงานน้อยลงโดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีการก่อสร้างเข้ามาทดแทน

เทคโนโลยีที่น่าจะช่วยแก้ปัญหาข้างต้นได้คือ การก่อสร้างแบบใช้วัสดุสำเร็จรูปยกมาติดตั้ง (Pre-fabrication or Pre-cast Construction) โดยวิธีการก่อสร้างนี้น่าจะทำให้ต้นทุนรวมของโครงการก่อสร้างลดลงโดยเฉลี่ย 15% ต่อโครงการ จากการลดการใช้แรงงานประมาณ 50% และระยะเวลาก่อสร้างที่เร็วขึ้นประมาณ 30%

ปัจจุบันการก่อสร้างรูปแบบนี้นิยมใช้ใน งานก่อสร้างเอกชนที่เป็นอาคารที่พักอาศัยแนวราบมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ที่ในปี 2563 มีมูลค่าการก่อสร้างประมาณ 1.39 แสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 11% ของมูลค่าการก่อสร้างทั้งหมด และมีสัดส่วนโครงการที่ใช้งาน Pre-cast ต่อจำนวนโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยแนวราบเอกชนทั้งหมด อยู่ที่ประมาณ 48% ในปี 2563

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าในปี 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าน่าจะมีมูลค่างานก่อสร้างเอกชนในกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบที่มูลค่าการก่อสร้างไม่เกิน 10 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 1.4 แสนล้านบาท  ทำให้เกิดการใช้ Pre-cast มูลค่าประมาณ 5.3 พันล้านบาท แต่จากปัญหาขาดแคลนแรงงานและค่าแรงที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยค่าแรงงานขั้นต่ำตั้งแต่ปี 2554 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5% ซึ่งทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างจากแรงงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1% และเมื่อคิดจากสมมติฐานที่ว่าการเติบโตของงานก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยแนวราบ เติบโตเฉลี่ยปีละ 2% ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าน่าจะมีงานก่อสร้างในกลุ่มอาคารที่อยู่อาศัยแนวราบของเอกชนที่มูลค่าก่อสร้างไม่เกิน 10 ล้านบาท เปลี่ยนมาใช้งานก่อสร้างประเภท Pre-cast เพิ่มขึ้นปีละเฉลี่ย 3% ไปจนถึงปี 2568 และทำให้สัดส่วนโครงการที่ใช้ Pre-cast โตขึ้นเป็น 63%  โดยปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้เกิดอัตราการใช้โครงสร้าง Pre-cast เพิ่มขึ้น มาจากสภาวะโควิด-19 ที่ทำให้การนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นไปได้ยากขึ้น

** อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ >>>3155-p

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*