สยามเทคนิคคอนกรีตฯเผยแผนปี 66 รุกประมูลรับงานต่อเนื่อง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท โดยจะเป็นงานจากภาครัฐประมาณ 10% หนุนการเติบโตในอนาคต เบรกงานขยายสร้างโรงงานภาคใต้ประเทศเพื่อนบ้าน หันรุกจ.มุกดาหาร รองรับงานก่อสร้างทุนจีนใน สปป.ลาว  ทั้งเร่งเครื่องสร้างโรงลวดด้วยระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งซิกผลงานปี 66 ทำรายได้นิวไฮแตะระดับ 2,250 ล้านบาท
นายวัฒน์ชัย มงคลศรีสวัสดิ
นายวัฒน์ชัย มงคลศรีสวัสดิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามเทคนิคคอนกรีต จำกัด(มหาชน) หรือ STECH ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงและให้บริการรับเหมาก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัทฯ เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานของบริษัทในปี2566 ว่า ยังคงเข้าประมูลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท โดยจะเป็นงานจากภาครัฐประมาณ 10% โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมาได้เซ็นสัญญารับงานก่อสร้างสายส่งระบบ 115 เควี สถานีไฟฟ้าแรงสูงหนองหาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) จังหวัดอุดรธานีสถานีไฟฟ้าสว่างดินแดน จังหวัดสกลนคร ตามโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายระยะที่ 2 แผนงานที่ 1 กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือกฟภ. มูลค่ารวม 86.2 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 360 วัน และปัจจุบันมีงานในมือ(Backlog) กว่า 1,200 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะรับรู้รายได้ในปีนี้และต่อเนื่องถึงปี 2567

นอกจากนี้ ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการติดตามงานที่ได้ยื่นเสนอราคาไปแล้ว มูลค่ารวมประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทคาดจะได้รับงานในกลุ่มเสาเข็มที่ประมาณ 500 ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40% ของมูลค่างานทั้งหมด อีกทั้ง ยังพร้อมเข้าประมูลงานใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเติบโตในอนาคต

ทั้งนี้ STECH ยังได้เดินหน้าจัดตั้งโรงงานผลิตลวด ซึ่งใช้งบลงทุนรวมประมาณ 500 ล้านบาท(กำลังการผลิต 100% จะสร้างรายได้ที่ประมาณ 600-800 ล้านบาทต่อปี) ปัจจุบันได้ตรวจรับเครื่องจักรที่ประเทศอิตาลีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมจะเริ่มทคสอบการผลิตได้ในไตรมาส3/2566 เบื้องต้นจะนำมาใช้งานใน STECH เองประมาณ 30% หรือประมาณ 1,000 ต้นต่อเดือนส่วนอีก 70% จะนำออกจำหน่ายประมาณไตรมาส 4/2566 หรือไตรมาส 1/2567 รวมถึงการส่งออกด้วย และในอนาคตจะเป็นธุรกิจดาวสตาร์ใหม่ของบริษัทด้วย โดยจะถึงจุดคุ้มทุนภายใน 4-5 ปีจากนี้

รวมทั้ง STECH ยังได้เดินหน้าจัดตั้งโรงงานผลิตลวด ซึ่งปัจจุบันได้ตรวจรับเครื่องจักรที่ประเทศอิตาลีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมจะเริ่มทดสอบการผลิตได้ในไตรมาส 3/2566 เบื้องต้นจะนำมาใช้งานใน STECH เองราว 30% หรือประมาณ 1,000 ตันต่อเดือน ส่วนอีก 70% จะนำออกจำหน่ายประมาณไตรมาส 4/2566 หรือไตรมาส 1/2567

นายวัฒน์ชัย กล่าวต่อว่า จุดเด่นของโรงงานผลิตลวด STECH คือ มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้เทคโนโลยีการผลิตรูปแบบใหม่ โดยไม่ต้องใช้บ่อน้ำกรดซึ่งเป็นกรดไฮโดรคลอริคเข้มข้มในการกัดลวดโลหะให้สะอาดเหมือนในอดีต จีงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ปัจจุบัน STECH ยังพร้อมจัดจำหน่ายเสาเข็มขนาดเล็ก (Micropile) ให้กับลูกค้าในรูปแบบ (Business to Customer : B2C) ซึ่งเป็นการจำหน่ายให้กับผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือเจ้าของบ้านที่ต้องการซ่อมแซม ต่อเติมบ้านไม่ให้ทรุดตัว เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้กับ STECH อีกทางหนึ่งด้วย

ปัจจุบันบริษัทฯมีโรงงานผลิตรวม 10 แห่ง มีกำลังการผลิตรวม 450,000 คิว/ปี ซึ่งมีกระจายรวมทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ซึ่งเดิมในปี 2566 บริษัทฯมีแผนที่จะขยายไปเปิดโรงงานที่ภาคใต้ รวมไปถึงที่กัมพูชา และเวียดนามด้วย แต่มองว่าปัจจุบันจีนมีการขยายการลงทุนก่อสร้างกาสิโนขนาดใหญ่ในสปป.ลาว อีกหลายโครงการ ทำให้ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องมาซื้อวัสดุก่อสร้างในฝั่งประเทศไทย เป็นจำนวนมาก ส่วนการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อศึกษาแล้วพบว่ามีข้อจำกัดด้านการลงทุน จึงมองเห็นโอกาสการเติบโตที่จะเป็นเปิดโรงงานที่จ.มุกดาหาร ซึ่งมีชายแดนติดกับสปป.ลาว จะสร้างโอกาสในการเติบโตด้านยอดขายและรายได้ดีกว่า แต่ในอนาคตคงต้องมีการขยายตัวไปเปิดโรงงานแน่นอน เพราะล่าสุดบริษัทที่มีความเกี่ยวเนื่องกับSTECH ก็ประมูลได้งานด้านเสาเข็ม ของกรมชลประทาน ที่อ.ท่าศาลา .นครศรีธรรมราช มานายวัฒน์ชัย กล่าว

โดยในปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายเป็นปีแห่งการลงต้นทุน โดยเน้นให้ความสำคัญกับการทำกำไรเบื้องต้นเชื่อว่าอัตราการเติบโตของกำไรในปีนี้จะเติบโตสูงกว่าอัตราการเติบโตของรายได้โดยคาดว่าอัตรากำไรสุทธิปี 2566 น่าจะมีโอกาสทำได้ที่ระดับ 9-10% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีอัตรากำไรสุทธิที่ 4.74% ทั้งนี้ บริษัทเคยมีอัตรากำไรสุทธิสูงสุดที่ระดับ 13% โดยความสามารถที่จะผลักดันกำไรให้เติบโตคือการควบคุมต้นทุนคงที่ ซึ่งหลักๆ คือค่าแรงและเงินเดือนพนักงานขณะที่รายได้เพิ่มขึ้น ทำให้ความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2565 STECH มีรายได้รวม 2,117 ล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (All Time High) และมีกำไรสุทธิ 100.78 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนประมาณ 6% ขณะที่อัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 4.74% ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นจากราคาลวดเหล็กที่ผันผวนสูง รวมทั้งราคาปูนซิเมนต์และราคาน้ำมันได้ปรับเพิ่มขึ้น และแนวโน้มผลประกอบการในปี 2566 ของ STECH คาดว่ารายได้มีโอกาสทำนิวไฮ (New High) ที่ระดับประมาณ 2,250 ล้านบาท หรือเติบโต 6% จากปีก่อนมีรายได้รวม 2,117 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้นตามภาพรวมอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ฟื้นตัว และ STECH สามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*