สิงห์ เอสเตทก้าวสู่ปีที่ 10กางแผนการดำเนินธุรกิจปี 2567 ตอกย้ำความเป็น “นักพัฒนา” ผ่านการลงทุนและสร้างผลงานระดับมาสเตอร์พีซ ภายใต้ปรัชญา “Go Beyond Dreams” โดยตั้งเป้ารายได้โต 20% อยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท พร้อมเดินนหน้าเปิด 4โครการใหม่ทั้งบ้านแนวราบและคอนโดฯ มูลค่ารวม 9,400 ล้านบาท

นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในปี 2566 ที่ผ่านมาทุกพอร์ตธุรกิจมีความแข็งแกร่งอย่างมาก เช่น กลุ่มธุรกิจที่พักอาศัย ที่มีการเปิดตัวโครงการบ้านแนวราบไปทั้งหมด 4 โครงการเพื่อขยายฐานลูกค้าครบทุกเซ็กเมนต์ขอลตลาดลักซ์ชัวรี และการขยายสัดส่วนการถือครองคอนโดมิเนียมในกลุ่ม Ready-to-move-in โครงการ The ESSE Sukhumvit 36 เต็ม 100% หลังจากได้เข้าไปซื้อหุ้นจากกลุ่มฮ่องกงแลนด์จำนวน 49% อีกทั้งการลงทุนซื้อที่ดินในทำเลศักยภาพเพื่อรองรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสำหรับโครงการในอนาคต

ขณะที่กลุ่มธุรกิจโรงแรมภายใต้การบริหารงานของ ‘เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท’ ก็มีความโดดเด่นจากการเปิดตัว SO/ Maldives โรงแรมไลฟ์สไตล์หรูระดับ 5 ดาว ซึ่งตั้งอยู่ในโครงการครอสโรดส์ มัลดีฟส์ และการยกระดับห้องพักโรงแรมในเครืออีก 5 แห่ง เพื่อตอบรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงเสริมการให้บริการในโรงแรมเพื่อให้สามารถเก็บอัตราห้องพักต่อวันและรายได้จากบริการอื่น ๆ ได้สูงขึ้นและเพิ่มมากขึ้น และการต่อยอดแบรนด์ ทราย (“SAii”)  ในการให้บริการที่มีความหลากหลายยิ่งขึ้นและเพิ่มรายได้อื่น ๆ

ในส่วนของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า บริษัทมีการนำโมเดลธุรกิจที่มีความยืดหยุ่น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการใช้พื้นที่ของคนทำงานยุคใหม่ และกลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ด้วยจุดแข็งของนิคมอุตสาหกรรมเอส อ่างทอง ที่มีการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ของโรงไฟฟ้าเพิ่มอีก 2 แห่ง และแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ภายในพื้นที่รองรับการลงทุนในอนาคต

สำหรับเป้าหมายการดำเนินงานในปี 2567 บริษัทตั้งเป้ารายได้รวมให้เติบโตขึ้นสูงถึง 20% หรือมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 18,000 ล้านบาทผ่านแนวคิด Go Beyond Dream ที่ใช้ 3 แนวทางสนับสนุนสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตครั้งนี้ ได้แก่ Go Expertise การสร้างซินเนอร์จีจากความชำนาญของทีมระหว่าง 4 กลุ่มธุรกิจ โดยดึงเอาจุดแข็งและความชำนาญที่แตกต่างและโดดเด่นของแต่ละธุรกิจเพื่อเกื้อหนุนกันและกัน

Go Elixir การผนึกกำลังกับพันธมิตรใหม่ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและการลงทุน และ Go Exceed,Go Exit ความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDG13 Climate Change สู่การเป็นองค์กร Carbon Neutrality ในปี 2573 เพื่อสร้างความสมดุลของธุรกิจทั้งกับชุมชุน สังคมและสิ่งแวดล้อม

โดยในส่วนของกลุ่มธุรกิจที่พักอาศัย จากความสำเร็จในการพัฒนาโครงการระดับมาสเตอร์พีซอย่าง โครงการสันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส โครงการลาซัวว์ เดอ เอส และโครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส รวมถึง โครงการใหม่ ๆ อาทิ SMYTH, S’RIN และ SHAWN ในปี 2567 นี้ บริษัทเตรียมต่อยอดความสำเร็จโครงการบ้านแนวราบที่มีครบทุกเซ็กเมนลักซ์ชัวรีตามแผนงาน โดยวางแผนจะเปิดตัว 4โครงการใหม่มูลค่า 9,400 ล้านบาท  ประกอบด้วยบ้านแนวราบ 2โครงการ ประกอบด้วย บ้านเดี่ยวย่านพรานนก ระดับราคาขาย 30-60 ล้านบาท และโครงการคลัสเตอร์โฮมแบรนด์ SMYTH  ตั้งอยู่ในย่านสุคนธสวัสดิ์ เกษตร-นวมินทร์ เนื้อที่ 5 ไร่ จำนวน 10 ยูนิต ราคาขาย 100 ล้านบาทขึ้นไป มูลค่าโครงการ 1,200 ล้านบาท

ส่วนอีก 2โครงงการเป็นคอนโดมิเนียม  ตั้งอยู่ริมน้ำเจ้าพระยา ย่านพระราม 3 ราคาขายตารางเมตรละ 1500,000-180,000 บาท หรือเริ่มต้นยูนิตละ 12ล้านบาทขึ้นไป โดยเป็นโครงการร่วมทุนกับกลุ่มวัน เรียลเอสเตท  และอีกโครงการตั้งอยู่ที่ศรีราชา เป็นแบบ Mixed use บนเนื้อที่ 25 ไร่ เปิดขายเฟสแรกก่อนบนเนื้อที่ 2ไร่ครึ่งเป็นคอนโดฯจำนวน 250 ยูนิต

ด้านกลุ่มธุรกิจโรงแรมภายใต้การบริหารงานของ SHR ยังคงมีแผนที่จะปรับปรุงโรงแรมตามแผนการยกระดับพอร์ตโฟลิโออย่างต่อเนื่องจำนวน 5 โรงแรมในเครือทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มอัตราเฉลี่ยต่อห้องต่อคืน (RevPAR) ได้มากกว่า 25% รวมถึงแผนการเสริมการให้บริการด้านอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับการยกระดับห้องพักที่จะสร้างรายได้เพิ่มเติม นอกเหนือจากรายได้การเข้าพัก (Non-Room Revenue) จากการใช้จ่ายต่อคนภายในโรงแรมเพิ่มขึ้นอีก 15%

ขณะที่กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า ยังคงเน้นกลยุทธ์ในการใช้โมเดลธุรกิจที่มีความยืดหยุ่น ควบคู่ไปกับการชูจุดเด่นด้านที่ตั้งของโครงการต่างๆ ในเครือ ซึ่งจะทำให้มีอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยของอาคารสำนักงานในเครือที่มากกว่าในช่วงปี 2562 ด้วยอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ย 85% ในทุกโครงการที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้

และกลุ่มธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน มีการตั้งเป้ายอดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม เอส อ่างทอง อยู่ที่ 40% ของพื้นที่ขายรวม โดยใช้ทำเลยุทธศาสตร์ที่เป็นจุดศูนย์กลางระหว่างแหล่งวัตถุดิบและเส้นทางการขนส่ง ความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคทั้งกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีสูงถึง 400 MWและปริมาณน้ำซึ่งเป็นหัวใจสำคัญสำหรับผู้ประกอบการเฉพาะทาง อาทิ กลุ่ม Semi-Conductor หรือกลุ่ม Data Center นอกเหนือจากธุรกิจทางด้านอาหาร และความร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นแรงหนุนสำคัญในการทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

*